วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

       

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhGplTMtpcBo3SFuJZA434nAEsioOXn2g9FN4PG1_9xMgGR_ZzkeVFENnQhGefwalfGHebei54TEgtn-R9-ZhI_m6Gv-Dpg9fpFKagaCSDfTq06643cEi6OS9saShyQ-Egm8q-NxvZiuamk/s1600/untitled014.bmpทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ  Ivan Petrovich Pavlov )
   ชื่อ  อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ
     เกิด 14 กันยายน  ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน จักรวรรดิรัสเซีย
     สียชีวิต    27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี) เลนินกราด สหภาพโซเวียต
     สาขาวิชา สรีวิทยา จิตวิทยา แพทย์
    ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม Transmarginal.inhibition การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกียรติประวัติ      รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
        พาฟลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข 

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
                จุดเริ่มมาจากนักสรีระวิทยา ชาวรัสเซีย ชื่อ อิวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ทำการทดลองให้สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยอินทรีย์ (สุนัข) เกิดการเชื่อมโยงสิ่งเร้า 2 สิ่ง คือ เสียงกระดิ่งกับผงเนื้อ จนเกิดการตอบสนองโดยน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ดังรูปต่อไปนี้
ก่อนวางเงื่อนไข 
ขณะวางเงื่อนไข 
 หลังจากวางเงื่อนไข
ส่วนประกอบของกระบวนการวางเงื่อนไข
  • สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข UCS (Unconditional Stimulus)
  • สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข CS (Conditional Stimulus)
  • การตอบสนองอย่างไม่มีเงื่อนไข UCR (Unconditional Response)
  • การตอบสนองอย่างมีเงื่อนไข CR (Conditional Response) 
(Classical Conditioning Thoery )

                การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค 


การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้
             1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
             2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด           
องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง จะต้องประกอบด้วยกระบวนการของส่วนประกอบ 4อย่าง คือ
        1. สิ่งเร้า เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา
        2. แรงขับ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
        3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการ กระตุ้นจากสิ่งเร้า
        4. สิ่งเสริมแรง เป็นสิ่งมาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้มีแรงขับเพิ่มขึ้น
กฎการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง พาฟลอฟ ได้สรุปเป็นกฎ ข้อคือ
        1. กฎการลบพฤติกรรม
        2. กฎแห่งการคืนกลับ
        3. กฎความคล้ายคลึงกัน
        4. การจำแนก
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
          2.การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
          3.ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
          4.รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
          5.ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม
    6.เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล 
ารประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
        1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
        2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
        3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข

        4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง
สรุป
แนคิด
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
กุญแจสำคัญ
การตอบสนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

การนำไปใช้
-ก่อนการวางเงื่อนไข
เสียงระฆัง(cs)    =   เฉยๆ
วิชาพละ (ucs)    =   ดีใจ (ucr)
-วางเงื่อนไข

วิชาพละ + เสียงระฆัง  =  ดีใจ
-หลังวางเงื่อนไข
เสียงระฆังท(cs)   =  ดีใจ (cr)

https://youtu.be/tvP3k8LKFgk





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...