วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

คิดยกกำลังสอง - ทักษะสำหรับโลกใบใหม่

https://www.youtube.com/watch?v=qWTpnlOYcrY



 ต้องเรียนรู็.... ตลอดชีวิต
เด็กรุ่นใหม่ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนตั่งเเต่เด็กจนอายุมากที่สุด  และต้องรู้สำหรับงานที่ยังไม่มี และใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่มีเพื่อแก้ปัญหาที่เรายังไม่เจอ


ทักษะ 4 I  

 ทักษะ  หมายถึง 
ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ทักษะการอาชีพ การกีฬา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยี ฯล
1. จินตนาการ (lmagination)
2. เเรงดลใจ (Inspiration)
3. ความเข้าใจลุ่มลึก (Insight)
4. ณาญทัศน์  (Intuition)




ทักษะเเห่งการเรียนรู้

  1. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็น ความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้าง สรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ
  2. ทักษะอดทน  นิสัยที่ไม่ท้อถอยในการทำคุณงามความดีทุกชนิด ผู้ที่มีนิสัยอดทนจึงเป็นผู้ที่ไม่เคยล้มเลิก ทำความดีกลางคันทุกกรณี
  3.  ทักษะใฝ่รู้  ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน        
  4.  ทักษะจากแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
  5. ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม เป็นการตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ มากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม
  6. ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้คำพูดและภาษาท่าทางเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนอย่าง เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมและสถานการณ์ต่างๆ โดยสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น ความปรารถนา ความต้องการ การขอร้อง การเตือน และการขอความช่วยเหลือ

ทัศนคติ หมายถึง สภาวะความพร้อม ของบุคคล ที่จะ แสดงพฤติกรรม ออกมา ในทางสนับสนุน
 หรือ ต่อต้านบุคคล สถาบัน สถานการณ์ หรือ แนวความคิด
      อุปนิสัย หมายความว่า ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี
ทักษะ  หมายถึง ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ทักษะการอาชีพ การกีฬา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยี ฯล
ความรู้  หมายถึง  (อังกฤษ: Knowledge) คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความสามารถในการรู้บางอย่างนี้เป็นสิ่งสนใจหลักของวิชาปรัชญา (ที่หลายครั้งก็เป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงอย่างมาก) และมีสาขาที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่าญาณวิทยา (epistemology) ความรู้ในทางปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่ทราบกันในกลุ่มคน และในความหมายนี้เองที่ความรู้นั้นถูกปรับเปลี่ยนและจัดการในหลาย ๆ แบบ



 ความหมายของการฟัง
            การฟังเป็นทักษะทางภาษาที่มนุษย์ใช้มากที่สุด บางครั้งอาจมีผู้เข้าใจว่า การฟังมีความหมายเหมือนการได้ยิน แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังกับการได้ยินมีความหมายแตกต่างกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 811) ให้ความหมายของคาว่า “ฟัง” ไว้ว่า “ตั้งใจสดับ คอยรับเสียงด้วยหู” ส่วนการได้ยิน (2546, หน้า 419) หมายถึง “รับรู้เสียงด้วยหู” จากทั้งสองความหมายนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า การฟังมีความเกี่ยวข้องกับการตั้งใจฟังต่างจากการได้ยินซึ่งเป็นเพียงการรับรู้เสียงด้วยหูเท่านั้น
            ปรีชา ช้างขวัญยืน กล่าวว่า การฟัง คือ พฤติกรรมการใช้ภาษาที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลของบุคคลหนึ่งหลังจากได้ยินเสียงพูดหรือเสียงอ่าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้ภาษาภายนอกตัวบุคคลจากอีกบุคคลหนึ่ง เมื่อเสียงนั้นมากระทบโสตประสาทของผู้รับ คือ ผู้ฟังแล้ว ผู้ฟังก็จะนำเสียงพูดเหล่านั้น เข้าสู่กระบวนการทางสมอง คือ การคิด ด้วยการแปลความ ตีความจนเกิดความเข้าใจ ทั้งนี้ถ้าเสียงดังกล่าวเป็นเสียงในภาษาเดียวกันของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง การฟังก็จะเกิดผลได้ง่าย ถูกต้องและชัดเจน (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2525, หน้า 4-5)
            จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการฟังได้ว่า การฟัง หมายถึง พฤติกรรมการรับสารผ่านโสตประสาทอย่างตั้งใจเชื่อมโยงกับกระบวนการคิดในสมอง โดยสมองแปลความหมายของเสียงจนเกิดความเข้าใจและมีปฏิกิริยาตอบสนอง การฟังจึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล

สรุป 
การเรียนรู้โดยการฟังอย่างเดี่ยวอาจจะทำให้นักเรียน เรียนรู้ไม่ทันโลกใบใหม่เเละอาจจะเกิดผลในการเรียนน้อยมาก
 

 เล่น 
การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญ ญาภายใต้การอำนวยความสะดวก สนับสนุน ชี้แนะ ช่วยเหลือของครูในด้านต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด
สรุป
การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆให้กับเด็กปฐมวัย ดังที่เพียเจท์ (Piaget) กล่าวว่า การเล่นมีวามสำคัญต่อพัฒนาการทางสติปัญญา จากการเล่นทำให้เด็กสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆจากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเขาจะสามารถรับรู้สิ่งต่างๆเข้ามาในสมอง นอกจากนี้การเล่นเป็นการระบายอารมณ์ การเล่นช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม และเป็นการเรียนรู้ทางสังคมให้กับเด็ก ซึ่งการเล่นปนเรียนมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยดังนี้

  • ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่รู้สึกผ่อนคลายให้กับเด็ก
  • ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านขบวนการค้นคว้า สำรวจ ทดลองผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
  • ช่วยให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และส่งเสริมเชาวน์ปัญญาจากการเล่นปนเรียน
  • ช่วยพัฒนาเด็กให้มีทักษะทางสังคม
  • ช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรมง่ายยิ่งขึ้น
  • ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็ก
  • พัฒนาเด็กในด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  • ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้กับเด็ก


 ทำ
การลงมือทำหมายถึง ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติการจริงคือ ผู้เรียนได้ฝึกในสภาพสิ่งแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ทั้งนี้ การสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัยและได้ผลตามความคาดหวังของสังคมนั้น การจัดประสบการณ์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการเรียนรู้ของเด็ก จึงได้มีการศึกษาแนว คิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ การใช้แนวคิดที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำหรือการปฏิบัติในสภาพจริง จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้ ดังที่ประเทศไทยได้กำหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 เน้นให้มีแนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำ
สรุป 
การเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียน




บทบาทครูในศตวรรษที่ 21

บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
ในศตวรรษที่ 21 ต่างจากเด็กยุคเก่าอย่างมาก คือ ความรู้เยอะและความรู้ที่วิ่งเข้ามาหาตัวเด็กมีเยอะมาก เพราะฉะนั้นการเรียนในห้องเรียนเป็นเรื่องยากมากที่เด็กจะสนใจเพราะมีเรื่องอื่นที่น่าสนใจมากกว่า 
ในศตวรรษนี้เป็นยุคของ IT จำนวนมวลความรู้มันเพิ่มขึ้นมหาศาลอย่างรวดเร็วทุกวันเราไล่ตามไม่ทัน ฉะนั้นเราก็ไม่ได้ต้องการนัดเรียนที่เรียนเก่ง ท่องเก่งเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังอยากได้เด็ก อยากได้นักเรียน อยากได้บัณฑิตที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่ๆอยู่เรื่อยๆและต้องรู้วิธีที่จะเรียนรู้ด้วย คือมีทักษะในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Learning skill และต้องมีทักษะการใช้ชีวิตที่ดีด้วย เรียกว่า Life skill ควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
         สำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 นั้นนอกจากความรู้ในสาระวิชาหลักที่เด็กควรจะได้รับการสอน เด็กควรจะได้รู้แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้เด็กควรได้รับการปลูกฝังทักษะสำคัญ 3 เรื่องอีกด้วย คือ
  1. ทักษะชีวิตและการทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
  • ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
  • การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
  • การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบ เชื่อถือได้
  • ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
  • ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
  1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
  • การสื่อสารและความร่วมมือ
  1. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
  • ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่ากัน
  • วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม
  • ทักษะด้านภาษา
         และเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆประสบความสำเร็จ ต้องจำเป็นที่มีโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้าน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานในการเรียนรู้ หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
         การเรียนการสอนแบบเก่าคุณครูก็สอนและมุ่งที่จะให้ความรู้แก่เด็กเยอะและเด็กก็มีหน้าที่รับความรู้เยอะๆและก็ท่อง ในการเรียนการสอนแบบนี้อาจจะเหมาะใน 100 หรือ 200 ปีที่ผ่านมา จุดสำคัญ คือ ต้องเปลี่ยนวิธีการของการศึกษา เปลี่ยนเป้าหมายจากความรู้ไปสู่ทักษะ เปลี่ยนจากเอาครูเป็นหลักในการสอน เป็นนักเรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า Project Based Learning คือนักเรียนต้องเรียนโดยการทำ Project
         การเรียนแบบ Project Based Learning หรือ PBL เป็นการเรียนที่ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการทำงานจริงหรือ Project ต่างๆ โดยที่ครูเป็นเพียงผู้ที่คอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ การเรียนแบบนี้จะช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะต่างๆ ตั้งแต่การตั้งคำถาม การค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง การตรวจสอบและประเมินข้อมูลเพื่อนำสิ่งที่เหมาะสม ถูกต้องมาใช้กับ Project  ได้ฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มทักษะในการศึกษา การนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์ และที่สำคัญที่สุดยังได้ฝึกการทำงานเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันเพื่อต่อยอด ไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตัวเองต่อไป
         Project หนึ่งเราสามารถออกแบบและใส่เงื่อนไขให้นักเรียนได้รู้ทักษะสารภัตด้าน และครูต้องฝึกการเป็นครูฝึก (Coach) ให้นักเรียนได้ฝึกทำงานเพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ การศึกษาจะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เราคุ้นเคย จากหน้ามือเป็นหลังมือเยอะมาก ถ้าเรียนแบบปัจจุบันจะส่งผลต่อเราคือ เด็กจะเสียคน ในสัดส่วนที่มีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่มีความสนุก น่าเบื่อ และที่สำคัญคือทั้งชาติโง่ เพราะเรียนแค่ได้ความรู้ ไม่ได้ทักษะ รวมถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Commumication Technology – ICT) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การศึกษาในอุดมคติเป็นจริงได้ เพราะสามารถแสดงอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างสถานการณ์เสมือนจริง (Virtual Situation) ได้เหมือนๆกับที่หนังสือ หนังสื่อภาพ เทปเสียง วีดีทัศน์หรือสื่ออื่นๆ ที่มีทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้ใช้ได้และสร้างเครือข่ายให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างไร้ขอบเขต ในแง่ของสถานที่ที่แตกต่างคนละ แห่งกัน ทำให้ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก
บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
capture-20150728-203114
ครูในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องมีลักษณะที่เรียกว่า E-Teacher
  1. Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ เช่น เรียนผ่านสื่อเทคโนโลยี Internet, E-mail เป็นต้น
  2. Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองตลอดเวลา ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
  3. Expanded มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนเองสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
  5. Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม และสามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล
  6. End-User เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยี (user) อย่างคุ้มค่า และใช้ได้อย่างหลากหลาย
  7. Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยี จนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ เช่น เกิดชุมชนครูบน web
  9. Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้
ห้องเรียนสำหรับการศึกษาศตวรรษที่  21
capture-20150728-203735

สรุปเนื้อหาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สรุปเนื้อหา

แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแแนวคิดเพื่อการ
เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
        การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ 

โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้
เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูป
แบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อ
ว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสม
ผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ 
เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต




ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ

ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนา
ทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
        - ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
        - การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
        - ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
        - การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้

             (Accountability)
        - ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

ทักษะด้านสารสนเทศ

ทักษะด้านสารสนเทศ

สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        - ความรู้ด้านสารสนเทศ
        - ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        - ความรู้ด้านเทคโนโลยี


ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในปัจจุบัน ได้แก่
        - ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        - การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        - การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
               ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
        - ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
        - ศิลปะ
        - คณิตศาสตร์
        - การปกครองและหน้าที่พลเมือง
        - เศรษฐศาสตร์
        - วิทยาศาสตร์
        - ภูมิศาสตร์
        - ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

        - ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
        - ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
        - ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
        - ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
        - ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...