วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction)

การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction) 


การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction)   
ารศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับมนุษย์ แต่ละคนจึงมีความสามารถ ความสนใจ ความพร้อมและความต้องการที่แตกต่างกัน ทำให้การเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ( เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต . 2528) ดังนั้นแนวคิดทางการศึกษาแผนใหม่จึงเน้นในเรื่องการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ((Individual Differences) เรียกการเรียนการสอนลักษณะนี้ว่า การจัดการเรียนการสอนรายบุคคล หรือการจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ ( แบบเอกัตบุคคล ) หรือการเรียนด้วยตนเอง (Individualized Instruction) โดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยมุ่งจัดสภาพการเรียนการสอนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถ ความสนใจและความพร้อม

ความหมาย
ของการเรียนการสอนรายบุคคล เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนรายบุคคลหรือการเรียนด้วยตนเอง เป็นการจัดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถศึกษาเล่าเรียนได้ด้วยตนเอง และก้าวไปตามความสามารถ ความสนใจและความพร้อม โดยจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างอิสระ พัชรี พลาวงศ์ (2526 : 83) ได้ให้ความหมายของการเรียนด้วยตนเอง ไว้ว่า การเรียนด้วยตนเองหมายถึง วิชาที่เรียนชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้าง มีระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ การเรียนแบบนี้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนตามเวลา สถานที่ระยะเวลาในการเรียนแต่ละบท แต่จะต้องอยู่จำกัดภายใต้โครงสร้างของบทเรียนนั้นๆ เพราะ ในแต่ละบทเรียนจะมีวิธีดารชี้แนะไว้ในคู่มือ (Study Guide) สรุปได้ว่า การเรียนการสอนรายบุคคลหรือการเรียนด้วยตนเอง หรือการเรียนรายบุคคลเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหรือเรียนตามความสามารถ ความสนใจของตนเอง โดยคำนึงถึงหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งได้แก่ความแตกต่างในด้านความสามารถ สติปัญญา ความต้องการ ความสนใจ ด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม โดยการเรียนด้วยตนเองเป็นการประยุกต์ร่วมกันระหว่างเทคนิคและสื่อการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ การเรียนการสอนแบบโปรแกรม ชุดการเรียนการสอน การจัดตารางเรียนแบบยืดหยุ่น การสอนแบบโมดูล การสอนแบบ PSI ซึ่งวิธีการเรียนเหล่านี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพของการดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่

ทฤษฎีการเรียนการสอนรายบุคคล 
การจัดการเรียนการสอนรายบุคคลมุ่งสอนผู้เรียนตามความแตกต่างโดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความพร้อมและความถนัด ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายบุคคล คือ ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ ( เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต . 2528)
 1. ความแตกต่างในด้านความสามารถ (Ability Difference) 
2. ความแตกต่างในด้านสติปัญญา (Intelligent Difference) 
3. ความแตกต่างในด้านความต้องการ (Need Difference) 
4. ความแตกต่างในด้านความสนใจ (Interest Difference) 
5. ความแตกต่างในด้านร่างกาย (Physical Difference)
 6. ความแตกต่างในด้านอารมณ์ (Emotional Difference) 
7. ความแตกต่างในด้านสังคม (Social Difference)

วัตถุประสงค์
ของการจัดการเรียนการสอนรายบุคคล การเรียนการสอนรายบุคคล ยึดหลักปรัชญาทางการศึกษาและอาศัยพื้นฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนรายบุคคล จึงมุ่งเน้น 
1. การเรียนการสอนรายบุคคลมุ่งสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบในการเรียนรู้ รู้จักแก้ปัญหาและตัดสินใจเอง การเรียนการสอนรายบุคคลสอดคล้องและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกโรงเรียน ครูและผู้เรียนเชื่อว่า การศึกษาไม่ใช่มีหรือสิ้นสุดอยู่เพียงในโรงเรียนเท่านั้น การเรียนการสอนรายบุคคลสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาและเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและตัวเอง ให้รู้จักแก้ปัญหา รู้จักตัดสินใจ มีความรับผิดชอบและพัฒนาความคิดในทางสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย

 2. การเรียนการสอนรายบุคคลสนองความแตกต่างของผู้เรียนให้ได้เรียนบรรลุผลกับทุกคน การเรียนการสอนรายบุคคลสนับสนุนความจริงที่ว่า คนย่อมมีความแตกต่างกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลิกภาพ สติปัญญา หรือความสนใจ โดยเฉพาะความแตกต่างที่มีผลต่อการเรียนรู้ที่สำคัญ 4 ประการ คือ 
2.1 ความแตกต่างในเรื่องอัตราเร็วของการเรียนรู้ (Rate of learning) ผู้เรียนแต่ละคนจะใช้เวลาในการเรียนรู้และทำความเข้าใจในสิ่งเดียวกัน ในเวลาที่แตกต่างกัน
 2.2 ความแตกต่างในเรื่องความสามารถ (Ability) เช่น ความฉลาด ไหวพริบ ความสามารถในแง่ของความสำเร็จ ความสามารถพิเศษต่างๆ 
2.3 ความแตกต่างในเรื่องวิธีการเรียน (Style of learning) ผู้เรียนเรียนรู้ในทางที่แตกต่างกันและมีวิธีเรียนที่แตกต่างกันด้วย
 2.4 ความแตกต่างกันในเรื่องความสนใจและสิ่งที่ชอบ (Interests and perfernce) เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในหลายด้านเช่นนี้ ครูจึงต้องจัดบทเรียนและอุปกรณ์การเรียนในระดับและลักษณะต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เลือกด้วยตนเอง (Self-selection) เพื่อสนองความแตกต่างดังกล่าว

3. การเรียนการสอนรายบุคคล เน้นเสรีภาพในการเรียนรู้ เชื่อว่าถ้าผู้เรียนเรียนด้วยความอยากเรียนด้วยความกระตือรือร้นที่ได้เกิดขึ้น ผู้เรียนจะเกิดแรงจูงใจและการกระตุ้นให้พัฒนาการเรียนรู้ โดยที่ครูไม่จำเป็นต้องทำโทษหรือให้รางวัลและผู้เรียนก็จะรู้จักตนเอง มีความมั่นใจในการก้าวหน้าไปข้างหน้า ตามความพร้อมและขีดความสามารถ (Self-pacing)

 4. การเรียนการสอนรายบุคคล ขึ้นอยู่กับกระบวนการและวิชาดารที่เสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน การเรียนการสอนรายบุคคลเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นปรากฏการณ์ส่วนตัวที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล การเรียนรู้เกิดขึ้นเร็วหรือช้าและจะเกิดขึ้นอยู่กับผู้เรียนได้นานหรือไม่ นอกจากจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียนแล้ว ยังขึ้นอยู่กับกระบวนดารและวิธีการที่เสนอความรู้นั้นให้แก่ผู้เรียน การกำหนดให้ผู้เรียนรู้เรื่องหนึ่งในระยะเวลาหนึ่ง และเรียนรู้เรื่องหนึ่งด้วยวิธีการเดียวไม่เป็นการยุติธรรมต่อผู้เรียน ผู้เรียนควรจะได้เป็นผู้กำหนดเวลาด้วยตนเองและควรจะมีโอกาสเรียนรู้หรือมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยขบวนการและวิธีการต่างๆ 
5. การเรียนการสอนรายบุคคลมุ่งแก้ปัญหาความยากง่ายของบทเรียน เป็นการสนองตอบที่ว่า การศึกษาควรมีระดับแตกต่างกันไปตามความยากง่าย ถ้าบทเรียนนั้นง่ายก็ทำให้บทเรียนสั้นขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นยากมาก ผู้สอนก็สามารถที่จะจัดย่อยเนื้อหาที่ยากนั้นออกเป็นส่วนๆและปรับปรุงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น อาจจะเพิ่มเวลาที่เรียนให้ได้สัดส่วนกับความยากโดยเรียงลำดับจากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องราวที่ยากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ กาเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs. 1974 : 185-187) ได้กล่าวถึงการเรียนด้วยตนเองว่า เป็นหนทางที่ทำให้การสอนบรรลุจุดมุ่งหมายตามความต้องการ (Need) และให้สอดคล้องกับบุคลิก (Characteristics) ของผู้เรียนแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 5 ประการ คือ
1. เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินทักษะเบื้องต้นของผู้เรียน
 2. เพื่อช่วยในการค้นหาจุดเริ่มต้นของผู้เรียนแต่ละคนในการจัดลำดับการเรียนตามจุดมุ่งหมาย 
3. ช่วยในการจัดวัสดุและสื่อให้เหมาะสมกับการเรียน 
4. เพื่อสะดวกต่อการประเมินผลและส่งเสริมความก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคน 
5. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนตามอัตราความสามารถของตน

การสอนแบบตั่งคำถาม

การสอนแบบตั่งคำถาม

                                                                                                  โดย ผศ.วันดี โตสุขศรี
ผู้ลิขิต อ.ธนิษฐา  สมัย 

          การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด  การตีความ  การไตร่ตรอง  การถ่ายทอดความคิด  สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้  ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยกระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด  ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย โดยบทบาทผู้เรียน จะเรียนรู้จากคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
แนวคิดของการใช้คำถามในการสอน
การถามคือ การบูรณาการเพื่อพัฒนาไปสู่การคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) และโครงสร้างกระบวนการคิด ช่วยให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองความเข้าใจของตน และสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเรียนรู้ การคิด และการสอน
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
ขั้นตอนสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีดังนี้
  1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
  2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
  3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
  4. ขั้นสรุปและประเมินผล
    4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
    4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผล การเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
แนวคิดการตั้งคำถามจากนพ.สุพจน์
  • นักศึกษาชอบการสอนแบบใช้การถามกลุ่ม ให้ช่วยกันคิดหาคำตอบ  ฝึกการคิดประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อให้ได้คำตอบ เมื่อนักศึกษาตอบถูก ขอให้ชม    เมื่อนักศึกษาตอบไม่ได้  ไม่ควรให้การบ้าน เพราะนักศึกษาไม่ชอบการบ้าน นักศึกษารู้สึกเหมือนถูกทำโทษ
                                     ตัวอย่าง  ทำไมคนนี้เป็น pneumonia……..
  • คำถามในชั้นปีสูงๆ ไม่เหมือนคำถามชั้นปีต้นๆ เพราะเป็นคำถามที่ต้องคิดประยุกต์ความรู้มาสร้างคำตอบ  จึงควรใช้คำถามเรื่องที่สำคัญๆ ชวนให้คิด    เรื่องความจำเล็กๆ น้อยๆ ไม่สำคัญมาก อาจารย์บอกได้ ก็ควรบอก
                                    ตัวอย่าง เชื้อโรคอะไร ทำให้เป็น pneumonia
  • คำถามไม่เคลียร์ --- case นี้ ยังไงดี  ยังไงต่อ
                                    แก้ไข......นักศึกษาเข้าใจคำถามหรือไม่
  • คำถามเป็นชุด  ---- คนนี้ตกลงว่าเป็นอะไร การรักษาเป็นอย่างไร   การพยาบาลอย่างไร
                                    แก้ไข......ขอให้ตั้งที่ละคำถาม
  • จะตอบอย่างไรดี(ที่จะไม่บาดเจ็บ) ---- ชม เมื่อตอบถูก
                                    ถ้าตอบไม่ถูก.....ทำไมคิดอย่างนั้น  และอาจเฉลยคำตอบหรือถามต่อ                                        โดยใช้คำถามเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่เรียนมาที่เชื่อมโยงกับคำถามแรก
***  ให้เวลานักศึกษาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที  ***เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาส
  • ทำความเข้าใจว่าอาจารย์ถามอะไร
  • คาดหวังว่าอาจารย์ต้องการคำตอบอะไร
  • คิดจริงจังว่าคำตอบคืออะไร  (คำถามทางคลินิกไม่ได้มีคำตอบเดียว)
  • จะตอบอย่างไรดี (ที่ตอบแล้วจะไม่บาดเจ็บ)
                     นักศึกษาไม่ตอบคำถาม ----- คำถามไม่เคลียร์  กลัว (จากบรรยากาศที่น่ากลัว
                                                            ประสบการณ์เดิมที่ไม่ดี ความเจ็บปวดในอดีต)
                     นักศึกษาตอบคำถาม ---- ชม เมื่อตอบถูก
เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม
1.  ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย
  • ระวังบรรยากาศคุกคาม ----- ถูกอัด ถูกซอย กินตับ กินหัว ไม่ควรใช้ เป็น Painful learning, ควรใช้ meaningful learning
  • เริ่มต้นการสอน บอกวิธีการสอน อาจารย์จะใช้การสอนแบบใช้คำถามเพื่อให้ตอบ  ให้เกียรติผู้เรียน เรียกชื่อนักศึกษา
  • ใช้  ASA (attentive, smile, acknowledge) = มองหน้าตั้งใจฟัง ยิ้มน้อยๆ ชมเมื่อตอบถูก (เก่งมากค่ะ  ดีมากค่ะ เห็นด้วยค่ะ)
  • เมื่อตอบผิด  -- ทำไมคิดอย่างนั้น  แก้ concept ที่ถูกต้อง
                     -- ให้ความเข้าใจว่า คำตอบทางคลินิก ไม่เคยมีคำตอบเดียว อาจมีมากกว่า 1
                     -- ให้คิดว่า ตอบผิด ดีกว่า ไม่ตอบ
2. เลือกคำถามที่ดี    ---- ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
  • เลือกคำถามปลายเปิด –  ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง
  • แนะแนวการคิด guide โดยใช้คำถามที่นักศึกษาจะต้องนำความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) มาประยุกต์
3. ใช้เทคนิคให้ดี
  • ถามชัดเจน ไม่กำกวม
  • เลือกคำถามกว้างๆ ปลายเปิด ---ทำอย่างไร
  • ถามทีละ 1 คำถาม อย่าถามเป็นชุด
  • ให้เวลาคิด 10 วินาที
  • เทคนิค Pose – Pause – Pounce ตั้งคำถาม---- รอคำตอบ ---- ถ้าไม่ตอบ ถามระบุคน
คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง
  • คำถาม ใช่ ไม่ใช่
  • คำถามกำกวม
  • คำถามชักกะเย่อ
  • คำถามให้เดา
  • คำถามชี้นำ
วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครดิต(Socratic Method) 
  • เป็นวิธีสอนของนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อโซเครติส วิธีสอนแบบนี้ใช้การตั้งคำถามให้นักเรียนคิดหาคำตอบหรือตอบปัญหาด้วยตนเอง โดยครูจะกระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่เคยเรียนแล้ว
  • คำถามของครูจะเป็นแนวทางให้นักเรียนคิดค้นหาความรู้ นักเรียนจะเรียนด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้ทุกคนรู้จักแสดงความคิดเห็น อภิปรายแล้วสรุปความคิดเห็นลงในแนวเดียวกัน วิธีสอนแบบนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่ชอบใช้ความคิดค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งต่างๆ
Socratic questioning มี 6 แบบ
  1. Tell me more: ขอความกระจ่าง
  2. Probe assumption: ขอข้อสรุป
  3. Reason ขอเหตุผล
  4. View point & Perspectives  ถามมุมมองแง่อื่นและแนวคิด 
  5. Implication & Consequence การนำไปใช้และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น
  6. คำถามเกี่ยวกับคำถาม  เป็นคำถามขั้นสูง  ---  รู้มั้ยทำไมถามแบบนี้
ข้อคิด
  1.  คำถาม  สำหรับนักศึกษาเก่ง  ไม่เก่ง
  2.  การตั้งคำถาม  เมื่อมีนักศึกษาอยู่ด้วยกันหลายชั้นปี
  3.  การตั้งคำถาม เมื่อสอนที่ข้างเตียงผู้ป่วย
สรุป 
** เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม 3 อย่าง
  1. ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย
             ASA (attentive, smile, acknowledge)
  2. เลือกคำถามที่ดี
             WHY,  HOW ใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง guide ให้ใช้ Basic Knowledge
  3. ใช้เทคนิคดี
             Pose – Pause – Pounce
** วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครติค
            การตั้งคำถามระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง  และเป็นคนมีเหตุผล  ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำความรู้  ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา  วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่ถามได้  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง
            การตอบคำถามระดับสูง  ผู้สอนต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน  เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม  ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคำถามคือ  การถามแล้วต้องการคำตอบในทันทีโดยไม่ให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบ
สรุป
1). “การตั้งคำถามในการสอน (Questioning in Teaching) ควรจะใช้เมื่อไหร่”
            -   ใช้เฉพาะเวลา discussion ปัญหาที่เตียงผู้ป่วย, bedside teaching, มีการนำผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการถามคำถามและตอบคำถามด้วยระหว่างจัดการเรียนการสอน
2.)  “ มีอาจารย์ท่านใดใช้คำถามในการสอน (Questioning in Teaching) แบบนี้ในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติบ้างหรือไม่ ”
            - 
มีอาจารย์ 3 ท่าน ที่ใช้คำถามในการสอน (Questioning in Teaching) แบบนี้ในการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ  คือ  รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ, อ.ดร.ศรินรัตน์  ศรีประสงค์ และผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล
                      - ได้มีการนำไปใช้ในการเรียนการสอนจริง  แต่ใช้ไม่เต็มรูปแบบ
                      - มีการตั้งคำถามในการเรียนการสอน  

                      - ถ้าพบว่าถามคำถามแล้วนักศึกษากลุ่มใหญ่ไม่ตอบคำถาม  อาจารย์จะถามเป็นรายบุคคลแทน  หรือให้พี่ปี 4 เป็นผู้ตอบคำถามแทนน้องปี 3
                      - แต่ถ้าอาจารย์ถามคำถามแล้วนักศึกษาตอบไม่ได้ทั้งนักศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 3  อาจารย์จะเป็นผู้ตอบและเฉลยให้กับนักศึกษา
3.) “ ระยะเวลาที่ใช้ในการให้เวลานักศึกษาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที หรือไม่ ”
            - 
อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน คือ รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ, อ.ดร.ศรินรัตน์  ศรีประสงค์ และผศ.ดร.ศรัณยา       โฆสิตะมงคล แจ้งว่า ไม่ได้ใช้ เนื่องจากถ้านักศึกษาตอบคำถามไม่ได้ ก็จะให้เพื่อนคนอื่นตอบแทนไปเรื่อยๆ อาจารย์ไม่ได้รอให้นักศึกษาใช้เวลาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที
4.)“ถ้านักศึกษาตอบคำถามในการเรียนการสอน (Questioning in Teaching) ไม่ได้  อาจารย์ทำอย่างไรบ้าง”
            - เรียกให้นักศึกษาคนอื่นตอบแทน หรือให้นักศึกษาคนอื่นช่วยกันตอบ  ถ้าทั้งกลุ่มตอบไม่ได้จริงๆ  อาจารย์จะเป็นผู้ตอบและเฉลยให้กับนักศึกษา
5.)“ ถ้านักศึกษาที่เก่งแย่งตอบคำถามหมด  และนักศึกษาที่อ่อนไม่ตอบคำถามเลย  อาจารย์จะทำอย่างไร ”            - จะถามนักศึกษาที่อ่อนก่อน โดยใช้คำถามง่ายๆ และถ้านักศึกษาตอบผิดหรือตอบไม่ได้  จะไม่มีการดุหรือตำหนินักศึกษา  และอาจารย์จะใช้คำถามที่ยากขึ้นในนักศึกษาที่มีความรู้ระดับกลางๆ และนักศึกษาที่มีความรู้ระดับสูงหรือเก่ง

วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา

ความหมาย
การสอนแบบแก้ปัญหาเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน ให้เรียนรู้ตามกระบวนการ โดยเริ่มตั้งแต่มีการกำหนดปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ผู้สอนเป็นผู้เสนอปัญหาหรือผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันกำหนดปัญหาที่มีความสำคัญ เป็นปัญหาใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่เคยประสบมาก่อน และต้องไม่เกินทักษะทางเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้แก้ปัญหา หรือหาคำตอบด้วยตนเอง ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ แรงจูงใจ อารมณ์ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาจะไม่มีรูปแบบหรือขั้นตอนตายตัว ผู้สอนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ผู้สอนจะต้องให้โอกาสผู้เรียนใช้ความคิดและฝึกการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความชำนาญ จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี ในการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหานั้น มีหลักการสำคัญ คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระทำกิจกรรมการเรียนรู้ จะเน้นทักษะการแสวงหาความรู้ การค้นพบ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นประชาธิปไตย นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในขั้นตอนการจัดกิจกรรม (สุคนธ์ สินธพานนท์. 2550.หน้า 67)
ความมุ่งหมาย
1.     มุ่งทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ และสรุป
2.     มุ่ง ทักษะการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์อันเป็นวิธีที่มีเหตุผลซึ่งจะมีประโยชน์ต่อ การที่ผู้เรียนจะนำวิธีการไปใช้ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันได้
3.     มุ่งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พิจารณาเหตุผล และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.    มุ่งฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดอิสระ และการทำงานร่วมกับกลุ่มเพื่อน
ขั้นตอนการสอน
วิธีสอบแบบแก้ปัญหาสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้
1.ขั้นกำหนดปัญหา
ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ปัญหาที่มาจากความสนใจของผู้เรียนส่วนใหญ่ ปัญหาที่มาจากบทเรียน โดยผู้สอนกำหนดขึ้นมาเองโดยพิจารณาจากบทเรียน เนื้อหาตอนใดเหมาะสมที่จะนำมาเป็นประเด็นในการตั้งปัญหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ปัญหาที่เกี่ยวกับสังคมเป็นปัญหาที่พบเห็นกันทั่วไปในสภาพแวดล้อมของตัวผู้เรียน การหยิบยกมาเป็นปัญหาในการศึกษาย่อมจะเป็นสภาวะที่ทำให้ผู้เรียนเห็นว่ากำลังเผชิญกับปัญหาในชีวิตจริง ปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน ได้แก่ ปัญหากฎหมาย ปัญหาชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เมื่อกำหนดปัญหาแล้ว ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจปัญหาที่พบในประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาถามว่าอย่างไร มีข้อมูลใดแล้วบ้าง ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง การฝึกให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้มีความเข้าใจปัญหามากขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในขั้นนี้ ผู้สอนอาจตั้งปัญหา ตั้งคำถามให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย เช่น การใช้คำถาม, การเล่าประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ให้เกิดปัญหา, การให้ผู้เรียนคิดคำถามหรือปัญหาและการสาธิต เพื่อก่อให้เกิดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ปัญหาและคาดคะเนคำตอบ พิจารณาแยกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย แล้วคิดอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนจะพยายามใช้ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์เดิมมาคิดแก้ปัญหา คาดคะเนคำตอบ แล้วจึงหาทางพิสูจน์ว่าคำตอบที่คิดกันขึ้นมานั้นมีความถูกต้องอย่างไร แนวทางการคิดเพื่อตั้งสมมติฐาน เช่น ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใด
3.ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่มีการวางแผน หรือออกแบบวิธีการหาคำตอบจากสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้โดยศึกษาถึงสาเหตุที่เกิดปัญหาขึ้น และใช้เหตุผลในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุ โดยหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธี แล้วใช้วิธีพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาวิธีที่ดีที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด ในกรณีที่มีปัญหานั้นต้องตรวจสอบด้วยการทดลอง ก็ต้องกำหนดวิธีทดลองหรือตรวจสอบเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่จะใช้ให้พร้อม
4.ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล
ขั้นการเก็บและรวบรวมข้อมูลนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะศึกาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ตำราเรียน การสังเกต การทดลอง การไปทัศนศึกษา การสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ จากสถิติต่างๆ ในขั้นนี้ผู้เรียนจะใช้วิธีการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน
5.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
เมื่อได้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้ว ผู้เรียนก็นำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือหรือไม่ประการใด เพื่อนำข้อมูลนั้นๆ ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
6.ขั้นสรุปผล
เป็นขั้นที่นำข้อมูลมาพิจารณาแปลความหมายระหว่างสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น ผู้เรียนประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเลือกวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหา หรือเป็นการสรุปลงไปว่าเชื่อสมมติฐานที่กำหนดไว้นั่นเง ซึ่งอาจจะสรุปในรูปของหลักการที่จะนำไปอธิบายเป็นคำตอบ หรทอวิธีแก้ปัญหา และวิธีการนำความรู้ไปใช้ อนึ่งในการสรุปผลนั้น เมื่อได้ข้อสรุปเป็นหลักการแล้ว ควรนำพิจารณาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าน่าเชื่อถือหรือไม่
บทบาทของครูผู้สอน
บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา   มีดังนี้
1.  กำหนดสถานการณ์หรือเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน  เลือกปัญหาที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  เป็นปัญหาที่ใกล้ตัวผู้เรียน
2.  รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้  แหล่งเรียนรู้  ภายในและภายนอกห้องเรียน
3.  กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน
4.  ให้คำแนะนำ / คำปรึกษา  และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในการแสวงหาแหล่งข้อมูล  การศึกษาข้อมูล  การศึกษาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน
5.  กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลายและเหมาะสม
6.  ติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียนและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
7.  ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยพิจารณาจากผลงานกระบวนการทำงาน  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
8.  สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นประชาธิปไตย  เพื่อให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกด้านความคิดเห็นและแสดงออกด้านการกระทำที่เหมาะสม
บทบาทของผู้เรียน
บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหามีดังนี้
1.  ร่วมกันเลือกปัญหาที่ตรงกับความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม
2.  เผชิญกับสถานการณ์ปัญหาจริงๆหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนจัดให้
3.  วางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
4.  ศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5.  ลงมือแก้ปัญหารวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปและประเมินผล
ข้อดีของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา
1. ผู้เรียนได้ฝึกวิธีแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ฝึกการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ
2. ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3. เป็นการฝีกทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและฝึกความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
4. ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการฝึกแก้ปัญหา จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
5. เป็นการสอนเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ครูจะมีบทบาทน้อยลง
ข้อจำกัดของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา
1. ผู้เรียนต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
2. ผู้เรียนต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจึงจะสรุปผลการแก้ปัญหาได้ดี
3.ถ้าผู้เรียนกำหนดปัญหาไม่ดี หรือไม่คุ้นเคยกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้ผลการเรียนการสอนไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะในการใช้วิธีสอนแบบใช้กระบวนการแก้ปัญหา
1. ครูควรทำความเข้าใจในปัญหา และมีข้อมูลเพียงพอ
2. การวางแผนแก้ปัญหา ควรใช้หลากหลายวิธีการ และแยกแยะปัญหาออกมาเป็นส่วนย่อยๆเพื่อสะดวกต่อการลำดับขั้น
การประยุกต์ใช้
การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา  นี้ใช้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  แต่ ครูผู้สอนต้องศึกษาและหาวิธีการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมคิดวิเคราะห์ ประเด็นปัญหาและคิดหาแนวทางแก้ปัญหานั้นๆด้วยวิธีการที่หลากหลาย  ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะ  กระบวนการ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ประโยชน์ของวิธีการแบบแก้ปัญหา
1.การเสนอปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
2.ผู้เรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีการฝึกทักษะ การสังเกต วิเคราะห์ หาเหตุผลใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
3.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นการฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย
4.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ตรง ทำให้มีความกระจ่างชัดเจนจากประสบการณ์การเรียนรู้ นำทักษะที่ได้รับ เช่น การเผชิญปัญหา การหาแนวทางในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ เป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ    (Discovery Method)

 ความหมาย 
           การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ         เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผู้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
  
                การ จัดการเรียนรู้แบบค้นพบอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1  การค้นพบที่มีแนวทาง  (Guide  Discovery Method) เป็นวิธีการที่ผู้สอนนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาโดยการใช้คำถามที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสมและอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความคิดรวบยอดหรือหลักการ
2  การค้นพบด้วยตนเอง  (Pure Discovery Method)เป็นวิธีการที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะไปสู่ความิดรวบยอดและหลักการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับคำแนะนำจากผู้สอน
            กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองจะมีลักษณะให้ผู้เรียนลงมือคิดลงมือกระทำด้วยตนเองหลายเรื่องหลายด้านสรุปความคิดรวบยอดที่หลากหลายมาผูกโยงเป็นหลักการที่ผู้เรียนสร้างขึ้นได้เองและนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ
วัตถุประสงค์
1 พื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การคิดวิเคราะห์  ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถสรุปหรือค้นพบหลักการ กฎเกณฑ์ประเด็นสำคัญหรือความจริงได้ด้วยตนเอง
2 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆและสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้
                การ จัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย  เช่น  การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย  การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ  มีการกำหนดปัญหา  ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล  ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ   ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วย  การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ  ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง  ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา  แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสม
                จากเหตุผลดังกล่าว  ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่างๆที่ใช้  แต่ในที่นี้จะเสนอผลการพบความรู้  ข้อสรุปใหม่  ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัยไปสู่การเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย  การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย และการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ  มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย เป็นการเรียนรู้จากส่วนย่อยไปหาส่วนรวมซึ่งผู้เรียนใช้เหตุผลจากตัวอย่างต่างๆไปสนับสนุนให้พบข้อสรุปโดยใช้ความรู้สึกนึกคิดของตนเองและเหตุผลทางตรรกวิทยาบางอย่างเพื่อนำมากำหนดเป็นข้อสรุปกฎเกณฑ์
การจัดการเรียนรู้นิรนัย เป็นการเรียนรู้จากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย ซึ่งผู้เรียนจะนำหลักการทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือนิยามไปทดลองพิสูจน์เพื่อให้ได้ความคิดข้อสรุปหรือค้นพบข้อสรุปอื่นๆ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ  เป็นการเรียนรู้โดยการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ทั้งสองวิธีมาใช้รวมกันเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบค้นพบโดยใช้วิธีคิดแบบอุปนัยและนิรนัยที่ค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
2.ขั้นเรียนรู้  ประกอบด้วย
 2.1  ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้  แบบอุปนัยในตอนแรก  เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
 2.2 ผู้สอนใช้วิธีตัดการเรียนรู้  แบบนิรนัย  เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ  2  ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง  โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม  โต้ตอบ  หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
 2.3ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
 3.  ขั้นนำไปใช้
ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา  อาจใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน  เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ มีดังนี้
ข้อดี
         ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล
         ช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
         ผู้เรียนมีความมั่นใจเพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
         ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
         ปลูกฝังนิสัยรักการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
          ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตนเองต่อการเรียนสูง
         ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเองเช่นการหาข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
          ทักษะที่เรียนจากการค้นพบจะถ่ายทอดไปยังการเรียนเรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น
        เหมาะกันผู้เรียนที่ฉลาดมีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง

ข้อจำกัด
ต้องใช้เวลาในการสอนมากพอสมควร
- ไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมากเพราะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าจะเกิดความท้อแท้ใจเมื่อเห็นเพื่อนในห้องทำได้
 - วิธีการสอนแบบค้นพบเหมาะสำหรับเนื้อหาบางตอนและเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเท่านั้น
 - วิธีการสอนแบบค้นพบที่ต้องคิดเหตุผลและตั้งสมมุติฐานเหมาะกับผู้เรียนในวัยที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้
 - ผู้เรียนที่มีความสามารถไม่มากนักจะมีความยุ่งยากใจมากในการเรียนโยวิธีนี้โดยเฉพาะที่ต้องสรุปบทเรียนด้วยตนเอง

เทคนิคการสืบค้น


เทคนิคการสืบค้นข้อมูล

ทคนิคการสืบค้นข้อมูล หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search)
         ก่อนจะเริ่มต้นการค้นหา ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? 
         1. ผู้ค้น จะต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด นอกจากนี้จะต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจะค้นหา (ลองสำรวจตัวเองก่อนสิคะว่า มีข้อมูลอะไรบ้างตอนนี้) ถ้ายังไม่มี คิดค่ะคิด...ใช้หมองหน่อย...ได้หรือยังคะ  ได้แล้วจดไว้ค่ะ ....
         หรือหากคิดไม่ออกจะช่วยคิดค่ะ ง่ายๆ เช่น รู้จักชื่อผู้แต่งมั๊ย รู้จักชื่อเรื่องที่เราต้องการค้นหาหรือไม่ ถ้าไม่รู้ให้กำหนดหัวเรื่องหรือคำสำคัญแทนก็ได้ค่ะ เดี๋ยวจะพูดต่อไป....
         2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหาหรือยังคะ เช่น ถ้าคุณต้องการค้นหารายการบรรณานุกรมงานวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้ฐานข้อมูลใดค้นหา จึงจะได้ข้อมูลตามที่ต้องการ เป็นต้น
         ดังนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ค้นจะต้องรู้จักแหล่งสารสนเทศและฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันนี้มีมากมายทั้งฟรีและบริการเชิงพาณิชย์ (มารู้จักฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และวิธีการค้นหาแบบง่ายๆ ได้ที่นี่)         3. ต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น
         4. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันได้มีการละเลิดลิขสิทธิ์กันมากขึ้น

          เทคนิคการสืบค้นข้อมูล          1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
              1.1  ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
                     1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา  ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
              ยกตัวอย่างเช่น
                     - นางกุลธิดา  ท้วมสุข            ชื่อที่ใช้ค้น คือ  กุลธิดา  ท้วมสุข  (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)
                     - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท        ชื่อที่ใช้ค้น คือ  คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว. 
                                                                                  
(ให้เอาบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ มาต่อท้ายชื่อ)
                     - ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์   ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดยศหรือตำแหน่งออก)
                     - พระยาอุปกิตติศิลปสาร         ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระยาอุปกิตติศิลปสาร  
                     - ว.วชิรเมธี                          ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ว.วชิรเมธี    
                     - พระครูวิมลคุณากร               ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระครูวิมลคุณากร               
                     1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น 
              ยกตัวอย่างเช่น
                     "Judith G. Voet"                  ชื่อที่ใช้ค้น  คือ    Voet, Judith G.                                                                             หรือ   Voet, Judith                                                                              หรือ   Voet
                     1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
              ยกตัวอย่างเช่น
                     -สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ                     - ททท.  ชื่อที่ใช้ค้น คือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
              1.2  ชื่อเรื่อง (Title) เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
               ยกตัวอย่างเช่น
                     - เพลงรักในสายลมหนาว   (ชอบดูมาก..ชึ้ง..แถมพระเอกหล๊อ..หล่อ)
                     - อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น  (เรื่องนี้ก็ชื่นชอบผู้แต่ง อ. ยืน ภู่วรวรรณ)
                     - Engineering Analysis  (เรื่องนี้ไม่อ่าน เพราะเดี๋ยวเจ็บหัว)

              1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ
              หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น มาจากที่ไหนใครเป็นผู้กำหนดขึ้น? โดยปกติแล้วคำหรือวลีที่กำหนดให้เป็นหัวเรื่อง จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (โอย...เรื่องมันย๊าววว...ยาว...) ว่างๆ จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลักการให้หัวเรื่องต่อไป...เพื่อจะได้ค้นเก่งๆ 
              แต่ตอนนี้..เอาเป็นว่า ง่ายๆ สั้นๆ  ให้นึกถึง หัวเรื่องใหญ่และเรื่องย่อยเอาไว้ เช่น หัวเรื่องที่ต้องการค้นหา คือ คณิตศาสตร์ นี่คือหัวเรื่องใหญ่ ภายใต้หัวเรื่องใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จะมีเรื่องย่อยๆ ซ่อนอยู่เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น
              1.4 คำสำคัญ (Keywords) คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
              จะกำหนดคำสำคัญอย่างไร? ง่ายๆ คือ กำหนดมาจากคำที่อยู่ในชื่อเรื่องและหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหานั่นเอง
              การค้นหาด้วยคำสำคัญนั้น ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง
               ยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น
               รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม               ผู้ค้น จะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมา เพื่อใช้ค้นหา ซึ่งก็ไม่ยากหากดูข้อ 1.4 ประกอบ จากชื่อเรื่องดังกล่าว พบว่า มี Keyword หลักๆ อยู่ 3 คำ ด้วยกัน คือ ข้าวหอมมะลิ, เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ของการกำหนดคำสำหรับใช้ค้นหา
               รู้จักการค้นหาแบบง่ายๆ กันแล้ว ลองมาดูการค้นหาแบบขั้นสูงกันบ้างนะคะ...
          2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด 
             2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
                  - AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่นต้องการค้นหาคำว่าสัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้  คือ    ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร 
                  - OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า (โอย..น้ำยาย..ไหยยยย..แซ๊บ..แซบ..เด้อ) หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้ 
                  - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลงหมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร ไม่เอาส้มตำที่เป็นเพลง เป็นต้น 
             2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation) 
             2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search) หรือการใช้

วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)






วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าควรทำ ไม่ควรทำ ควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการใช้หลักสูตรบูรณาการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานได้ผลการเรียนรู้มีความคงทน เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเป็นผลการค้นพบของสตีฟ เบลล์ และแซลลี่ ฮาร์ดเนส (Steve Bell and Sally Hardness) นักการศึกษาชาวสก็อต ซึ่งสตีฟเบลล์ เรียกว่า การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสตอรี่ไลน์ (Story line approach) และยังเรียกว่าวิธีสตอรี่ไลน์ (Story line method)
วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
ลักษณะเด่นของวิธีสอน 
1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด
2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้
4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) เป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowerment) คือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข
บทบาทของครูและผู้เรียนเมื่อใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์
บทบาทของครู
1.เป็นผู้เตรียมการ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่
1)กรอบแนวคิดของเรื่องที่จะสอนโดยเขียนเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และกำหนดเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) โดยแต่ละหัวข้อเรื่องในแต่ละตอนได้จากการบูรณาการ
2)เตรียมคำถามสำคัญหรือคำถามหลัก เพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ
2.เป็นผู้อำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอน เช่น
1)เป็นผู้นำเสนอ (Presenter) เช่น นำเสนอประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน
2)เป็นผู้สังเกต (Observer) สังเกตขณะผู้เรียนตอบคำถาม ถามคำถาม ปฏิบัติกิจกรรม รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียน
3) เป็นผู้ให้กระตุ้น (Motivator) กระตุ้นความสนใจ ผู้เรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง
4) เป็นผู้ให้การเสริมแรง (Reinforcer) เพื่อให้เพิ่มความถี่ของพฤติกรรมการเรียน
5) เป็นผู้แนะนำ (Director)
6) เป็นผู้จัดบรรยากาศ (Atmosphere Organizor) ให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีทั้งด้านกายภาพและด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
7)เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflector) ให้การวิพากย์วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่อง เพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่ หรือปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมการเรียน
8)เป็นผู้ประเมิน (Evaluator) ควรมีการประเมินผลเป็นระยะๆ ประเมินกระบวนการ (Process) พฤติกรรมระหว่างหาความรู้ (Performance) และประเมินผลงาน (Product) ซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ และ/หรือ ผลงาน
3.เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ (Process Oriented) มากกว่าเนื้อเรื่อง เนื้อหาสาระ (Content Oriented)
4.เน้นการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration) หรือผสมผสานระหว่างวิชาในหลักสูตร (Interdisciplinary)
5.เป็นแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้แหล่งหนึ่งที่ให้ผู้เรียนซักถาม ปรึกษาเพื่อค้นคว้าหาความรู้
6.เป็นผู้ริเริ่มประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน และต้องจัดกิจกรรมเพื่อจบลงด้วยความตื่นเต้น ความพอใจ ทั้งครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคนในชุมนุม เป็นต้น
บทบาทของผู้เรียน
1.เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองในทุกเรื่องตามที่ครูกำหนด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
2.ดำเนินการเรียนด้วยตนเอง เพื่อให้การเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น มีชีวิตชีวา และท้าทายอยู่ตลอดเวลา
3.มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งร่างกาย จิตใจและการคิด ในทุกสถานการณ์ที่ครูกำหนดขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนสถานการณ์ในชีวิตจริง
4.เรียนทั้งในห้องเรียน (Class) และในสถานการณ์จริง (Reality) เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
5.ตอบคำถามสำคัญ หรือคำถามหลัก (Key Questions) ที่ครูกำหนดจากประสบการณ์ของตนเอง หรือประสบการณ์ในชีวิตจริง
6.มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว ในการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่น สามารถจำ พิจารณา ทำตามคำแนะนำของครูได้อย่างดี
7.ทำงานด้วยความร่วมมือร่วมใจ อาจจะทำงานเดี่ยว เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้ด้วยความเต็มใจและด้วยเจตคติที่ดีต่อกัน
8.มีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน มีทักษะสังคม รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนในกลุ่มอื่นๆ และกับครู
9.เป็นผู้มีความสามารถแก้ปัญหา คิดริเริ่มสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
10.เป็นผู้สามารถสร้างความรู้ (Construct) ด้วยตนเอง และเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสตอรีไลน์1.เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนจำได้ถาวร (Retention) ซึ่งการเรียนแบบนี้ต้องเริ่มต้นด้วยการทบทวนความรู้เดิม และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
2.ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Participate) ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม เป็นการพัฒนาทั้งตัว
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามประสบการณ์ชีวิตของตน และเป็นประสบการณ์จริงในชีวิตของผู้เรียน
4.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีการเบื่อหน่าย
5.ผู้เรียนจะได้สร้างจินตนาการตามเรื่องที่กำหนด เป็นการเรียนรู้ด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ผสมผสานกันไป อันเป็นสภาพจริงของชีวิต
6.ผู้เรียนจะได้พัฒนาความคิดระดับสูง คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิด แก้ปัญหา คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์
7.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คน 4 คน 6 คน รวมทั้งเพื่อนทั้งห้องเรียน ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม เป็นการพัฒนาให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
8.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวสู่สิ่งไกลตัว เช่น เรียนตัวของเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามระดับสติปัญญาของผู้เรียน
9.ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นสุข สนุกสนาน เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และงานที่นำไปนำเสนอต่อเพื่อนต่อชุมนุม ทำให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง   Story Line เป็นเทคนิคการสอนอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคิดค้นและพัฒนาในสกอตแลนด์ โดย สตีพ เบล ( Steve Bell ) และ ซัลลี่ ฮัคเนส ( Sallie Harkness )

องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถุงเหตุการที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
1.       วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
2.     กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
3.     กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.       จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
5.       กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิธี Story line มีดังต่อไปนี้
1.     กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะเรียน เรียกว่า เส้นทางเดินเรื่อง (Story line) ให้เหมาะสม หัวข้อเรื่องจะเป็นความคิดรวบยอดหรือหัวข้อย่อยที่ผู้เรียนจะต้องเรียน โดยผูกเป็นโครงเรื่อง ซึ่งมาจากองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิตของตัวละคร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โครงเรื่องจะเป็นโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะเรียน
2.     การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้มีคำถามหลักหรือคำถามสำคัญ (Key Questions) คำถามหลักเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก จะทำหน้าที่ดำเนินเรื่องที่จะเชื่อมโยงแต่ละตอนให้ต่อเนื่องกัน คำถามหลักจะเชื่อมโยงเนื้อหาและกิจกรรมเข้าด้วยกัน
3.     กิจกรรมของผู้เรียน ผู้เรียนจะทำกิจกรรมเพื่อตอบคำถาม โดยทำเป็นรายบุคคลหรือร่วมกันทำกิจกรรมอาจจับคู่กันทำกิจกรรม หรือจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน หรือร่วมกันทำทั้งห้อง โดยกำหนดสื่อหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำกิจกรรม
4.     การประเมินการเรียนรู้ จะประเมินจากคำถามหลักและกิจกรรมเป็นการประเมินในสภาพจริง (authentic assessment) ที่สะท้อนให้เห็นผลจากการเรียนรู้ว่าผู้เรียนได้ทำอะไรในด้านการใช้ภาษา ด้านการทำงานร่วมกับเพื่อน ด้านการแก้ปัญหา และด้านความรู้ เป็นการประเมินด้านคุณภาพและผลการเรียนของผู้เรียน
5.     กำหนดเวลาเรียนแต่ละตอน การสอน Story line ไม่จำเป็นต้องสอนโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันเป็นเวลาทั้งวัน แต่ผู้สอนอาจแบ่งเวลาการสอนแต่ละตอนโดยกำหนดเวลาสอนแต่ละตอนตามที่กำหนดหัวข้อเรื่อง และกิจกรรมการเรียนบางตอนใช้เวลา 1 ชั่วโมง บางตอนอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันแล้วแต่กิจกรรมการเรียน
การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Story Line  เป็นการประเมินจากการสังเกตหรือ ประเมินจากผลงาน หรือชิ้นงานของนักเรียน ผู้สอนต้องเก็บข้อมูลแล้วแปลออกมาเป็นคุณภาพ เช่นการประเมินจากการจัดนิทรรศการและผลงานที่รวบรวมในแฟ้มสะสมผลงาน อาจให้นักเรียนเลือกผลงานที่นักเรียนพอใจ พร้อมอธิบายเหตุผลที่เลือกผลงานชิ้นนั้นมาประเมิน ความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็ก โดยมีข้อคิดในการประเมิน ดังนี้
1. ประเมินเป็นระยะ
2. ครูควรมองการประเมินผลของเด็กในเชิงบวก
3. ให้เด็กมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานที่นักเรียน ชอบ ไม่ชอบ หรือชิ้นงานที่เขาภูมิใจ
4. ไม่ควรเปรียบเทียบผลงานเด็กกับเพื่อนๆ
แนวคิดหลักของการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline
ทิศนา แขมมณี (2546 : 54) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline นี้ พัฒนาโดย ดร.สตีฟ เบ็ล และแซลลี่ ฮาร์คเนส (Steve Bell and Sally Harkness) จากสก็อตแลนด์ โดยมีแนวคิดหลักของทฤษฎี ดังนี้
1.การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะบูรณาการ หรือเป็นสหวิทยาการ คือเป็นการเรียนรู้ที่ผสมศาสตร์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
2.การเรียนรู้ที่ดีเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านทางประสบการณ์ตรง หรือ การกระทำ หรือ การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง
3.ความคงทนของผลการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนรู้หรือวิธีการที่ได้รับความรู้มา
4.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานที่ดีได้ หากมีโอกาสลงมือกระทำ
ดารกา วรรณวนิช (2549 : 155) ได้กล่าวเพิ่มเติมแนวคิดของการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline หรือที่เรียกว่า “การเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง” ไว้ ดังนี้
1.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
2.การบูรณาการหลักสูตร องค์ความรู้ ทักษะการเรียน และกระบวนการเรียนรู้ จากหลากหลายสาขาวิชา มีลักษณะเป็นการเรียนแบบบูรณาการสหวิทยาการ
3.การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์ต่างๆ
4.การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co–operative learning)
5.การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในการเรียนรู้ของตนอย่างเต็มศักยภาพ
6.การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมุ่งพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) และทักษะการตัดสินใจ (Decision making skill) ผ่านกิจกรรมต่างๆ
7.ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) องค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นพบ (Discover) คำตอบ จากคำถามหลักที่ครูกำหนดขึ้น
8.การเชื่อมโยงองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้จากห้องเรียนออกไปสู่ชุมชนและชีวิตจริงของผู้เรียน
9.ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ สนุกสนาน มีชีวิตชีวา มีความสุข และตระหนักในคุณค่าของการจัดการเรียนรู้
กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี Storyline
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline
1.ข้อดี
การเรียนรู้เช่นนี้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกัน ครูวางโครงเรื่อง ผู้เรียนลงรายละเอียดที่มาจากประสบการณ์ชีวิต แล้วสร้างการเรียนรู้ใหม่ที่เชื่อมต่อจากความรู้เดิม มีการแลกเปลี่ยนความคิดและเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน ผู้เรียนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในผลงานที่สร้าง และกลายเป็นแรงผลักดันให้มีการแก้ปัญหา หากมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ครูยังสามารถบูรณาการทุกวิชาได้ในทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันนักเรียนก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริง รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย เมื่อผู้เรียนมีความสุข จุดหมายของการเรียนรู้ก็นับได้ว่าประสบความสำเร็จแล้ว
นักเรียนจะเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน ในระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ

2.ข้อจำกัด
-กิจกรรมนี้อาจเหมาะกับเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต
-ค่อนข้างใช้เวลาในการเรียนรู้

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...