วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     

           คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผล  กระบวนการคิด  และการแก้ปัญหา  คณิตศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ช่วยเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุผล  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ ตลอดจนมีทักษะการแก้ปัญหา  ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ  สามารถคาดการณ์  วางแผน  ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  ยิ่งกว่านั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่นๆ  ทำให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมากมายในทุกวันนี้
           ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เนื่องจากนักการศึกษาคณิตศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็น  ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่หันมาใส่ใจส่งเสริมทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในทุกระดับชั้นของหลักสูตรคณิตศาสตร์  ยังมีประเทศอื่นๆ อีกทั่วโลกที่สนใจส่งเสริมทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยเช่นกัน  เช่น  ออสเตรเลีย  สิงคโปร์  และสหรัฐอเมริกา  สภาครูคณิตศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา  (National  Council  of  Teachers  of  Mathematics หรือ NCTM)  ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก  ได้เสนอหนังสือมาตรฐานหลักสูตรและการประเมินผลคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน   ในปี ค.ศ.1989 และหนังสือหลักการและมาตรฐานสำหรับคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน ในปี ค.ศ.2000  ว่าด้วยมาตรฐานทางด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์  ที่ควรส่งเสริมให้นักเรียนระดับโรงเรียนได้เรียนรู้ฝึกฝนทักษะและพัฒนาให้ดีขึ้น ประกอบด้วยการแก้ปัญหา  กรให้เหตุผลและการพิสูจน์  การสื่อสาร  การเชื่อมโยงและการนำเสนอ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้นักการศึกษาทั่วโลกรวมทั้งนักการศึกษาของไทยหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับ ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์  มากยิ่งขั้น

วิธีสอนทักษะกระบวนการต่างๆ

วิธีสอนทักษะกระบวนการต่างๆ


                 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ คือ แนวทางดำเนินการเรียนการสอนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มี ขั้นตอนเป็นลำดับ ที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย รายบุคคลและนำไปสู่ความสำเร็จจามจุดประสงค์โดยใช้ทรัพยากรและเวลาน้อยที่สุด

สงบ  ลักษณะ (2539: 38 – 47) กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งได้รวบรวมกระบวนการต่างๆ ไว้  12  กระบวนการ ดังนี้

ทักษะกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
ทักษะกระบวนการปฏิบัติ
ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ
ทักษะกระบวนการสร้างความตระหนัก
ทักษะกระบวนการสร้างเจตคติ
ทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม
ทักษะกระบวนการเรียนความรู้ ความเข้าใจ
ทักษะกระบวนการเรียนภาษา
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
10. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น

11.  ทักษะกระบวนการกลุ่ม

12. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นอกจากนั้นยังมีวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกหลายวิธี  เช่น  วิธีการสอนทางประวัติศาสตร์   วิธีการสอนกระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ  คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม  คิดแบบอริยสัจ 4   การเรียนรู้แบบโครงงาน  เป็นต้น

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


คำว่า “การคิดวิจารณญาณ” มีผู้ใช้ชื่อภาษาไทยที่แตกต่างกันออกไป เช่นการคิดวิจารณญาณ (กันยา สุวรรณแสง, 2540; นิพนธ์ วงษ์เกษม, 2534 และกองวิจัยทางการศึกษา, 2541) และประเมินอย่างมีระบบมีเหตุผล เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมหรือการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ (ชูชีพ อ่อนโคกสูง, 2522 และสุณีย์ ธีรดากร, 2525) การคิดวิพากษ์วิจารณ์ (จารุวรรณา ภัทรนาวิน, 2532) เป็นต้น เนื่องจากการคิดวิจารณญาณเป็นกระบวนการทางสมองที่มีความซับซ้อน ดังนั้นเมื่อพิจารณาความหมายของการคิดวิจารณญาณที่มีผู้นิยามไว้จึงพบว่า นักจิตวิทยาการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาหลายคนได้ให้นิยามการคิดวิจารณญาณไว้หลายลักษณะที่แตกต่างกันไปตามทรรศนะของแต่ละบุคคลได้แก่ เดอ โบโน (DE Bono, 1976, pp.29 – 32) ให้แนวคิดว่า การนิยามความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณมี 2 ลักษณะ คือ
           1. คำนิยามที่มีความหมายกว้าง เป็นการนิยามในลักษณะที่เป็นกิจกรรมทางสมองที่เป็นกิจกรรมกระบวนการคิดที่เป็นกระบวนการคิด
           2. คำนิยามที่มีความหมายแคบ เป็นคำนิยามการคิดอย่างมีวิจารณญาณในลักษณะที่เป็นเหตุผลทางตรรกศาสตร์ เป็นการประเมินผลของความคิดโดยมีหลักเกณฑ์เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การคิดใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการ และความสามารถ การมีเจตคติของการสืบค้นที่เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้น และยอมรับว่าจำเป็นจะต้องมีหลักฐานในการสนับสนุนว่าสิ่งที่พิจารณานั้นเป็นจริงมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการสรุปอ้างอิงอย่าสมเหตุสมผล และสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยพิจารณาจากความเที่ยงตรงของหลักฐานชนิดต่าง ๆ ในเชิงตรรกะและมีทักษะในการใช้ความรู้และทัศนคติ นอกจากนี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ยังเป็นกิจกรรมที่จำเป็นในการแก้ปัญหาเมื่อต้องการตรวจสอบสมมุติฐานต่าง ๆ (Dewey, 1933, p.30; Skinner, 1976, pp.292 – 299; Watson and Glaser, 1964, p.1; Russellgx, 1965) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นศิลปะของการคิดเพื่อที่จะทำให้การคิดดีขึ้นชัดเจนขึ้น มีความแม่นตรงขึ้น หรือป้องกันตนเองมากขึ้น เป็นกระบวนการของการคิดอย่างมีเหตุผลที่คิดด้วยตนเอง เป็นการคิดอย่างรอบคอบตามหลักการของการประเมินและมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อหาข้อสรุปที่น่าจะเป็นไปได้ ตลอดจนพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใช้กระบวนการตรรกวิทยา เป็นการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจ ว่าสิ่งใดควรเชื่อ หรือสิ่งใดควรทำ ช่วยให้ตัดสินใจสถานการณ์ได้ถูกต้องเป็นวิธีคิดอย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ ก่อนตัดสินใจว่าจะเชื่ออะไร หรือไม่เชื่ออะไร ไม่รีบด่วนสรุป ตัดสินใจโดยไม่รั้งรอ (Paul, 1992, pp.40 – 47; Good, 1973, P.680) (Ennis, 1985, p.46; ประพันธ์ ศิริ สุเสารัจ, 2541, หน้า 37; อุษณี โพธิสุข, 2542, หน้า 967 – 968; Chaffee, 1994, p.14; Ennis, 1994, p.7 ; Halpern, 1987, p.75)

สรุปได้ว่า 

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง กระบวนการคิดที่ผ่านกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการคิดอย่างมี เป้าหมาย ตัดสินและกำกับได้ด้วยตนเอง เป็นผลมาจากการตีความ การวิเคราะห์ การประเมินข้อโต้แย้ง การสรุปอ้างอิง การอธิบายและการควบคุมตนเอง เพื่อให้เกิดผลของการคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผลเป็นกระบวนการที่ช่วยในการพิจารณาหาข้อผิดพลาดในการคิดโดยเฉพาะ

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนประกอบด้วยการรับรู้ การละลึกถึงความรู้ ที่สะสมอยู่การผสมผสานความรู้ด้วยการย่อยข้อมูลและสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ เพื่อหาคำตอบว่าความหมายของสิ่งที่คิดคืออะไร ซึ่งกระบวนการคิดผสมผสานความรู้จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาและทักษะเฉพาะหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน (ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ, 2544, หน้า 32)
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถสรุปได้ดังนี้
เดสเซล และเมย์ฮิว (Dessel and Mayhew, 1957, pp.179 – 181) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังนี้
            1. ความสามารถในการนิยามปัญหา เป็นความสามารถในการวิเคราะห์ข้อความ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นปัญหา แล้วสามารถบอกลักษณะของปัญหาที่เกิดได้ และการนิยามปัญหานั้นมีความสำคัญมากสำหรับการอ่านและการฟังเรื่องราวต่างๆ
            2. ความสามารถในการเลือกข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เป็นความสามารถในการพิจารณาและเลือกข้อมูลเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง การพิจารณาความพอเพียงของข้อมูล การจัดระบบข้อมูล และความสามารถนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคิดที่จะใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และมีผลกับความสามารถในการมองเห็นว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง
            3. ความสามารถในการตระหนักในข้อตกลงเบื้องต้น เป็นความสามารถในการพิจารณาแยกแยะข้อความใดเป็นข้อความเบื้องต้นและข้อความใดไม่ใช่ข้อความเบื้องต้นของข้อความหรือสถานการณ์ที่กำหนดให้แล้ว ความสามารถนี้มีความสำคัญเพราะว่าทำให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลเพื่อลงความเห็นควรจะยอมรับหรือไม่
            4. ความสามารถในการกำหนดและเลือกสมมุติฐาน เป็นความสามารถในการกำหนดหรือเลือกสมมุติฐานจากข้อความหรือสถานการณ์ให้ตรงกับปัญหาในข้อความหรือสถานการณ์นั้นๆ ความสามารถนี้มีความสำคัญเพราะทำให้มีความรอบคอบและมีความพยายามในการคิดถึงความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหาหรือความเป็นไปได้ของสมมุติฐาน
            5. ความสามารถในการลงสรุปอย่างสมเหตุสมผล เป็นความสามารถในการคิดพิจารณาข้อความ ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เป็นความสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลทั้งหมดเพื่อลงสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล ความสามารถนี้มีความสำคัญเพราะทำให้สามารถลงความเห็นตามความจริงของหลักฐานหรือข้อมูลที่มีอยู่
เดอคาโรล (Decaroil, 1973, pp.67 – 68) เสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ดังนี้
1. การนิยาม เป็นการกำหนดปัญหา ทำความตกลงเกี่ยวกับความหมายของคำและข้อความ และการกำหนดเกณฑ์
2. การกำหนดสมมติฐาน การคิดถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล หาทางเลือกและการพยากรณ์
3. การประมวลผลข่าวสาร เป็นการระบุข้อมูลที่จำเป็นรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องหาหลักฐานและจัดระบบข้อมูล
4. การตีความข้อเท็จจริง และการสรุปอ้างอิงจากหลักฐาน
5. การใช้เหตุผล โดยระบุเหตุ และผลความสัมพันธ์เชิงตรรกศาสตร์
6. การประเมินผล โดยอาศัยเกณฑ์ความสมเหตุสมผล
7. การประยุกต์ใช้ หรือนำไปปฏิบัติ
แดเนียล และคนอื่นๆ (Danial and Others, 1984) ได้กล่าวถึงกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไว้ว่า ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัญหา และกำหนดทางแก้ (มากกว่าการด่วนสรุป)
2. การใช้ความรู้เก่าในสถานการณ์ใหม่
3. การใช้กระบวนการขจัดกรณี (Method of Elimination) ชี้นำสู่ข้อสรุป
4. เห็นความขัดแย้ง และความไม่คงเส้นคงวา
5. การให้เหตุผลเชิงนิรนัย
6. ตัดสินได้ว่าข้อมูลมีเพียงพอต่อการตัดสินใจหรือไม่
7. จำแนกได้ว่าการอ้างอิงเป็นไปได้ อาจเป็นไปได้หรือจำเป็นต้องเป็นไปตามนั้น
8. การให้เหตุผลเชิงอุปนัย
9. เรียนรู้ว่าการแก้ปัญหามีได้หลายทาง
10. สามารถหาจุดเริ่มต้นในลักษณะเข้าเค้าของเหตุผลในปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไม่ได้
11. สามารถจัดระบบข้อมูลให้ง่ายต่อการใช้
12. เห็นแบบแผนการตรรกวิทยา
13. พิสูจน์โดยวิธีใช้ข้อขัดแย้ง
14. ตระหนักว่าปัญหาหนึ่งๆ อาจจะมีทางแก้หรือคำตอบมากกว่าหนึ่งคำตอบ
15. การให้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมย
16. รู้จักลองวิธีอะไรบางอย่างในกรณีที่ตรรกวิทยาช่วยอะไรไม่ได้ในการหาทางแก้ปัญหา
17. ชั่งใจว่าสารสนเทศที่ได้ควรเชื่อหรือไม่

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2549, หน้า 21) ได้เสนอว่า กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
           1. การนิยามปัญหา หมายถึง การกำหนดปัญหาและทำความเข้าใจกับปัญหาโดยพิจารณาเพื่อกำหนดปัญหาข้อโต้แย้งหรือข้อมูลที่คลุมเครือ รวมทั้งการนิยามความหมายของคำหรือข้อความ ปัญหาเป็นสิ่งเร้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
            2. การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ข้อโต้แย้งหรือข้อมูลที่คลุมเครือจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งการดึงข้อมูลหรือความรู้จากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาใช้ ดังนั้นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้แก่ การสังเกต ทั้งการสังเกตด้วยตนเองและการรวบรวมข้อมูลจาการรายงานผลการสังเกตของผู้อื่น
            3. การจัดระบบข้อมูล หมายถึง การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลพิจารณาความเพียงพอ ของข้อมูล และการจัดระบบของข้อมูล ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินความถูกต้องและความเพียงพอของข้อมูลที่รวบรวมได้ว่าจะนำไปสู่การอ้างอิงได้หรือไม่ มีการจัดระบบข้อมูลที่รวบรวมได้โดยแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลคือ จำแนกความแตกต่าง ระหว่างข้อมูลที่ชัดเจนกับข้อมูลที่คลุมเครือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา การระบุข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อนำมาจัดกลุ่ม และจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน
             4. การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การพิจารณาแนวทางการสรุปอ้างอิงของปัญหาข้อโต้แย้งโดยการนำข้อมูลที่มีการจัดระบบแล้วมาพิจารณาเชื่อมโยง หาความสัมพันธ์ เพื่อกำหนดแนวทางการสรุปที่น่าจะเป็นไปได้ว่า จากข้อมูลที่ปรากฏสามารถเป็นไปได้ในทิศทางใดบ้าง เพื่อที่จะได้พิจารณาเลือกแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด
             5. การสรุปอ้างอิงโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ หมายถึง การพิจารณาเลือกแนวทางที่สมเหตุสมผลที่สุดจากข้อมูลและหลักฐานที่มีอยู่ การใช้เหตุผลเป็นทักษะวิธีการคิดที่จำเป็นต่อการตัดสินใจสรุป และเป็นทักษะการคิดที่สำคัญของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังนั้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงจำเป็นต้องใช้เหตุผลที่ดีเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลและคุณลักษณะของการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสัมพันธ์กับการใช้เหตุผลแบบตรรกศาสตร์หรือใช้เหตุผลแบบอุปมานและอนุมาน
              6. การประเมินสรุปอ้างอิง หมายถึง การประเมินความสมเหตุสมผลของการสรุปอ้างอิงหลังจากการตัดสินใจสรุปโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ จะต้องประเมินข้อสรุปอ้างอิงว่าสมเหตุสมผลหรือไม่รวมทั้งพิจารณาว่าข้อสรุปนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ถ้าข้อมูลที่ได้รับมีการเปลี่ยนแปลงและค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมต้องกลับไปรวบรวม ข้อมูลที่มีอยู่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อตั้งสมมติฐานและข้อสรุปอ้างอิงใหม่ สรุปได้ว่ากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการที่ผสมผสานความสามารถในด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาโดยพิจารณาเพื่อทำความชัดเจนว่าอะไร คือปัญหาที่แท้จริง ข้อโต้แย้งหรือข้อมูลที่คลุมเครือ การหา การรวบรวมประเด็นปัญหา ทำความชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวปัญหาที่แท้จริง การจัดลำดับปัญหา การกำจัดปัญหาที่อาจไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงออกไป การแยกประเด็นปัญหา รวมทั้งการนิยามความหมายของคำหรือข้อความ การนิยามปัญหาเป็นกระบวนการที่เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการกระตุ้นให้บุคคลเริ่มต้นคิดเมื่อตระหนักว่ามีปัญหาหรือข้อโต้แย้งหรือได้รับข้อมูลข่าวสารที่คลุมเครือ จะพยายามหาคำตอบที่เหมาะสม สมเหตุสมผลเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหานั้น
โดยสามารถสรุปเป็นรูปแบบการสอนโดยทฤษฎีระบบดังนี้

ตัวป้อน กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลผลิต
- ปัญหา
1. ความสามารถในการนิยามปัญหา ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
- ข้อโต้แย้ง
2. ความสามารถในการเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
- ข้อมูลที่คลุมเครือ
3. ความสามารถในการตระหนักในข้อตกลงเบื้องต้น
4. ความสามารถในการกำหนดและเลือกสมมุติฐาน
5. ความสามารถในการลงสรุปอย่างสมเหตุสมผล

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ในการศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ดำเนินการศึกษาแนวคิดของนักวิชาการ และศึกษาจากแบบวัดมาตรฐาน ดังนี้
แนวคิดของ ปีเตอร์ เอ ฟาซิออง (Peter A.Facione) ปีเตอร์ เอ ฟาซิออง (Peter A.Facione, 1990: 6 -11) ได้สรุปไว้ในรายงาน การคิดวิจารณญาณ: แถลงการณ์จากของผู้เชี่ยวชาญในวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการศึกษา และแนวการดำเนินการ จากการประเมินผลโครงการเดลไฟ (Delphi Report) พบว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ มี ทักษะ 6 ประการ คือ
ทักษะ ทักษะย่อย
การตีความ การจัดหมวดหมู่
การแปลความหมาย
การทำความหมายให้ชัดเจน
การวิเคราะห์ การตรวจสอบความคิด
การระบุข้อโต้แย้ง
การวิเคราะห์ข้อโต้แย้ง
การประเมินผล การประเมินข้ออ้าง
การประเมินข้อโต้แย้ง
การสรุปอ้างอิง การสงสัยในหลักฐาน
การคาดคะเนทางเลือก
การลงข้อสรุป
การอธิบาย การระบุผลที่เกิดขึ้น
การตัดสินกระบวนการ
การเสนอข้อโต้แย้ง
การควบคุมตนเอง การตรวจสอบตนเอง
การแก้ไขด้วยตนเอง

ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
          1. การตีความเพื่อเข้าใจและบอกความหมายหรือความสำคัญในความหมายหรือ คำจำกัดความที่กว้างและหลากหลาย ในด้านประสบการณ์ สถานการณ์ ข้อมูลเหตุการณ์ การตัดสิน การประชุม ความเชื่อ กฎ พฤติกรรม หรือกฎเกณฑ์ โดยแบ่งเป็น
1.1 การจัดหมวดหมู่
1.1.1 เพื่อเข้าใจและแยกแยะลำดับขั้นของกฎเกณฑ์ความชัดเจน โครงสร้างสำหรับความเข้าใจ การพรรณนาหรือการแสดงข้อมูลคุณลักษณะ
1.1.2 เพื่อพรรณนา ประสบการณ์ สถานการณ์ ความเชื่อ สถานการณ์ เพื่อให้เข้าใจความหมาย ความเหมาะสม ความชัดเจนของ กลุ่ม หรือโครงสร้าง
1.2 การแปลความหมาย
เพื่อสืบค้นรวบรวม และอธิบาย แหล่งข้อมูล ความหมายด้านความรู้สึก คำสั่งทำงาน ความตั้งใจ แรงจูงใจ จุดประสงค์ ความสำคัญทางสังคม คุณค่า ความเห็น กฎ พฤติกรรม กฎเกณฑ์ หรือความสัมพันธ์ของการประชุมระบบการสื่อสาร เช่นภาษา พฤติกรรมทางสังคม การวาด เลข กราฟ ตาราง แผนภูมิ เครื่องหมายและสัญลักษณ์
1.3 การทำความหมายให้ชัดเจน
1.3.1 เพื่อถอดความ หรือทำให้ชัดเจน การระบุ พรรณนา การเปรียบเทียบหรือการอุปมา อธิบายเนื้อความ ระเบียบแบบแผน หรือความหมายของคำ แนวความคิด ความคิดรวบยอด แถลงการณ์ พฤติกรรม การบรรยาย จำนวน เครื่องหมาย แผนภูมิ กราฟ สัญลักษณ์ กฎ เหตุการณ์หรือพิธีการ
1.3.2 เพื่อใช้การระบุ คำพรรณนา การเปรียบเทียบหรือการแสดงออกเชิงอุปมาเพื่อขจัดความยุ่งยาก ความคลุมเครือที่ไม่ตั้งใจหรือกำกวม หรือเพื่อออกระเบียบการกระทำ
            2. การวิเคราะห์ เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่าง แถลงการณ์ คำถาม แนวความคิด คำพรรณนาหรือรูปแบบอื่นๆของการนำเสนอที่ต้องการให้เกิดความเชื่อใน การตัดสินใจ ประสบการณ์ เหตุผล คำแนะนำ หรือความเห็น
2.1 การตรวจสอบความคิด
2.1.1 เพื่อกำหนดการแสดงออกต่างๆ บทบาทการเล่นหรือได้ความตั้งใจในเนื้อความของการอภิปราย การให้เหตุผลหรือความคิดเห็น
2.1.2 เพื่อกำหนดข้อตกลง
2.1.3 เพื่อเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงความคิด แนวความคิด หรือแถลงการณ์
2.1.4 เพื่อระบุประเด็นหรือปัญหาและกำหนดองค์ประกอบต่างๆ และยังระบุความสัมพันธ์ของแนวคิดขององค์ประกอบต่างๆของสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือทั้งหมด
2.2 การระบุข้อโต้แย้ง
ให้ชุดของแถลงการณ์ คำพรรณนา คำถามหรือการนำเสนอ เพื่อกำหนดสิ่งที่บอกว่าใช่ หรือไม่ หรือได้ความตั้งใจที่จะบอก เหตุผลในสนับสนุนหรือโต้แย้งการเรียกร้อง ความเห็นหรือจุดสำคัญ
2.3 การวิเคราะห์ข้อโต้แย้ง
ให้เหตุผลเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้ง ข้อเสนอ ความเห็นหรือจุดสำคัญ เพื่อระบุความแตกต่างกัน
                3. การประเมินผล เพื่อกำหนดความน่าเชื่อถือ แถลงการณ์หรือการนำเสนออื่นๆคำอธิบายหรือ การรับรู้ของบุคคล ประสบการณ์ สถานการณ์ การตัดสิน ความเชื่อ หรือความเห็น และเพื่อกำหนดความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ แถลงการณ์ การอธิบาย คำถามหรือรูปแบบอื่นๆของการนำเสนอ
3.1 การประเมินข้ออ้าง
3.1.1 เพื่อรับรองประเด็นหรือระดับความน่าเชื่อถือในเหตุผลของข้อมูลหรือความเห็น
3.1.2 เพื่อกำหนดประเด็นคำถาม คำแนะนำ หลักการ กฎ หรือทิศทางของพฤติกรรม
3.1.3 เพื่อกำหนดการยอมรับ ระดับความเชื่อมั่นของความน่าจะเป็นหรือความจริงของการนำเสนอประสบการณ์ สถานการณ์ การตัดสิน ความเชื่อหรือความเห็น
3.2 การประเมินข้อโต้แย้ง
3.2.1 เพื่อตัดสินการโต้เถียงที่ได้แสดงว่าถูกต้อง ยอมรับว่าเป็นจริง แค่ไหน
3.2.2 เพื่อคาดว่าคำถามหรือการทักท้วง จะมีจุดอ่อนในการโต้แย้งหรือประเมินค่า
3.2.3 เพื่อกำหนดหรือคาดการว่าข้อโต้แย้งนั้นมีผลกระทบอย่างไร
3.2.4 เพื่อตัดสินระหว่างเหตุผล กับความผิดพลาดในการลงความเห็น
3.2.5 เพื่อตัดสินความเป็นไปได้ของข้อโต้แย้ง
3.2.6 เพื่อกำหนดและตัดสินข้อโต้แย้ง
3.2.7 เพื่อกำหนดขอบเขตของความเป็นไปได้ของจุดเด่นและด้อยของข้อโต้แย้ง
                4. การสรุปอ้างอิง เพื่อระบุและสร้างความมั่นใจในการสรุปเหตุผลจากสมมุติฐานคำแนะนำตรง และข้อมูล แถลงการณ์ หลักการ พยานหลักฐาน การตัดสิน ความเชื่อ ความเห็น แนวความคิด คำอธิบาย คำถาม หรือการนำเสนอในรูปแบบอื่นๆ
4.1 การสงสัยในหลักฐาน
4.1.1 รายละเอียด การสนับสนุน ยุทธศาสตร์ และการประชุม คำแนะนำ
4.1.2 การตัดสินคำแนะนำนั้นตรงประเด็นเพื่อการตัดสินใจ สามารถรับได้ มีเหตุผล หรือคุณค่าความเกี่ยวข้องของหัวข้อที่ให้ คำถาม ปัญหา ทฤษฎี สมมติฐาน หรือข้อมูลที่ต้องการ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์
4.2 การคาดคะเนทางเลือก
4.2.1 เพื่อกำหนดหัวข้อการสรุปหลักฐานข้อสมมุติเกี่ยวกับคำถาม สมมุติฐานของเหตุการณ์
4.2.2 เพื่อสรุปสมมุติฐานและแสดงผลที่เป็นไปได้ของการตัดสินใจตำแหน่ง นโยบาย ทฤษฎี หรือความเชื่อ
4.3 การลงข้อสรุป
4.3.1 เพื่อใช้สติปัญญาในการกำหนดตำแหน่ง ความคิด การมองเห็น ของเรื่องราวหรือปัญหา
4.3.2 ให้ชุดของข้อมูลคำพรรณนาคำถามหรือรูปแบบของการนำเสนออื่นๆ ให้เหมาะสมกับระดับเหตุผล ความสัมพันธ์ และผลที่ตามมาหรือ สมมุติฐาน ที่สนับสนุน การรับประกัน ความเห็นหรือการวางเงื่อนไข
4.3.3 เพื่อใช้เหตุผลที่สำเร็จเป็นแนวทางในการสรุป เหตุผลที่คล้ายกันความสมเหตุ สมผล ทางตัวเลข ท้องถิ่น ทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
4.3.4 เพื่อการลงข้อสรุปที่เป็นไปได้หลายทาง โดยการสนับสนุนจากหลักฐานที่พบ
                5. การอธิบาย การเล่าเหตุผลของคนอื่น ๆเพื่อแสดงว่าถูกต้องตาม แนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ และการพิจารณาอธิบายเนื้อความ บนพื้นฐานผลของการ
5.1 การระบุที่เกิดขึ้น
เพื่อการสรุปผลที่แน่นอน การอธิบายหรือการนำเสนอผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ การประเมินผล ลงความเห็น หรือแสดงผลลัพธ์
5.2 การให้เหตุผลในกระบวนการ
เพื่อแสดงผลอย่างชัดแจ้งใน แนวคิด ทฤษฎี การพินิจพิเคราะห์ และการพิจารณาคำอธิบายเนื้อความ ซึ่งบุคคลใช้ในการตีความวิเคราะห์ ประเมินค่า หรือแสดง เพื่อให้การบันทึก ประเมินค่า อธิบาย หรือการตัดสิน กระบวนการเหล่านั้น หรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทั่วไป ทำให้กระบวนการเหล่านั้นสำเร็จ
5.3 การเสนอข้อโต้แย้ง
5.3.1 เพื่อให้เหตุผลสำหรับการยอมรับข้ออ้าง
5.3.2 เพื่อการพบทฤษฎี แนวความคิด หลักฐาน กฎเกณฑ์หรือข้อมูล วิเคราะห์แยกแยะหรือประเมินค่าการตัดสิน
                 6. การควบคุมตนเอง การควบคุมตนเองเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจ ในกิจกรรม และผลลัพธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการประยุกต์ความชำนาญในการวิเคราะห์และประเมินค่าการตัดสินกับมุมมอง กับการถาม การยืนยัน การใช้ได้ หรือความถูกต้องของเหตุผล หรือ ผลลัพธ์.
6.1 การตรวจสอบตนเอง
6.1.1 เพื่อสะท้อนเหตุผลและพิสูจน์ ทั้ง ผลลัพธ์และความถูต้องของการใช้เหตุผลและความเกี่ยวพันกันของความรู้
6.1.2 เพื่อสร้างวัตถุประสงค์และการประเมินความรู้ของตนเองอย่างมีเหตุผล
6.1.3 เพื่อตัดสินความมีอิทธิพลทางความคิดของบุคคลหนึ่งที่มีต่อความรู้ของอีกคนหนึ่ง หรือโดยข้อความที่เลียนแบบมา ความลำเอียง อารมณ์หรือปัจจัยอื่นใดซึ่งมีผลต่อวัตถุประสงค์และเหตุผล
6.1.4 เพื่อสะท้อนแรงจูงใจ ค่านิยม ทัศนคติและความสนใจกับมุมมอง ที่ไม่ลำเลียงไม่เข้าข้าง เป็นธรรม ความรังเกียจ วัตถุประสงค์ ให้ความนับถือของความจริง มีเหตุผลและเหตุผลจากการวิเคราะห์ การตีความ ประเมินค่า การแสดง หรือการแสดงออก
6.2 การแก้ไขด้วยตัวเอง

แนวคิดของ เอนนิส (Ennis R.H.)
เอนนิส (Ennis, 1985, pp.45) ได้กล่าวถึง ลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังนี้
1. หาข้อความ วิทยานิพนธ์หรือคำถามที่ชัดเจน
2. หาเหตุผล.
3. พยายามหาข้อมูลที่ดี
4. ใช้ข้อมูลน่าเชื่อถือและอ้างอิงได้
5. พิจารณาสถานการณ์โดยรวม
6. พยายามมุ่งประเด็นหลัก
7. จดจำความรู้พื้นฐานไว้
8. สร้างทางเลือก
9. เปิดใจกว้าง
10. แสดงจุดยืนเมื่อพยานหลักฐานและเหตุผลพอเพียง
11. หาความชัดเจนให้มากที่สุด
12. ดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอนจากส่วนต่าง ๆ ของความซับซ้อนทั้งหมด
13. มีความรู้สึกไวต่อระดับความรู้และการอ้างเหตุผลของผู้อื่น

แนวคิดของอัลฟาโร เลอแฟร์ (Alfaro Lefevre)
อัลฟาโร เลอแฟร์ (Alfaro Lefevre.1994:10) สรุปลักษณะของการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ว่า
1. มีความรอบรู้เกี่ยวกับความเชื่อ ความลำเอียง และอคติต่าง ๆ
2. มีความเชื่อมั่น ความกระตือรือร้น และมีเจตคติที่ดีต่อคำถาม
3. มีทักษะในการสื่อสารที่ดี เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทำความเข้าใจข้อเท็จจริง และการแสวงหาทางเลือก
4. มีใจเปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตน และตัดสินใจเมื่อมีหลักฐานเชื่อถือได้
5. รู้จักถ่อมตัวและยอมรับความจริงว่าไม่มีใครรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
6. มีการคิดเชิงรุก เน้นป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา
7. มีระบบที่ดีในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
8. มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับเปลี่ยนวิธีการและทางเลือกเมื่อมีเหตุผลใหม่ที่ดีพอ
9. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักตรรกศาสตร์ รู้จักค้นหาหลักฐาน และรู้จักประเมินความเสี่ยง หรือผลที่ได้รับก่อนลงมือปฏิบัติ
10.ยอมรับว่า คำตอบที่ดีที่สุดไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด
11.การรู้จักสร้างสรรค์ และผูกพันกับสิ่งที่ดีเลิศ เพื่อหาทางเลือกในการปรับปรุงตนเองและปรับปรุงงาน
แนวคิดของซัททัน และเอนนิส (Sutton R.E.and Ennis R.H.)
ซัททัน และเอนนิส (Sutton and Ennis, 1985) ได้กล่าวถึงทักษะของการคิดอย่างมีวิจารณญาณดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อโต้แย้ง
1.1 การสรุปอ้างอิง
1.2 การเข้าใจโครงสร้างข้อโต้แย้ง
2. การตัดสินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
2.1 การประยุกต์เกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ
2.2 การให้น้ำหนักและความสอดคล้องของเกณฑ์กับสถานการณ์
3. การสังเกตและการตัดสินรายงานที่เกิดจากการสังเกต
3.1 การใช้เกณฑ์ของความน่าเชื่อถือ
3.2 การใช้เกณฑ์อื่น ๆ
4. การนิรนัยและการตัดสินการนิรนัย
4.1 หลักการเบื้องต้น
4.2 เนื้อหาสาระ
4.3 ความซับซ้อน
5. การอุปนัยและการตัดสินการอุปนัย
5.1 การสรุปอ้างอิงทั่ว ๆ ไป
5.2 การอธิบายข้อสรุปและสมมุติฐานที่ดีที่สุด
6. การตัดสินคุณค่า
6.1 ข้อเท็จจริงเบื้องต้น
6.2 ผลที่จะตามมา
6.3 การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น
7. การนิยามและการตัดสินคำจำกัดความ
7.1 รูปแบบการใช้
7.2 หน้าที่ของคำที่ใช้
8. การระบุข้อตกลงเบื้องต้น
8.1 เหตุผลที่ไม่ได้นำมาอ้างอิง
8.2 ข้อตกลงเบื้องต้นที่จำเป็น
8.3 ข้อสมมุติล่วงหน้า
9. การอภิปราย
9.1 ความกระจ่างในการใช้คำถาม
9.2 การแสดงจุดยืน
9.3 การให้เหตุสนับสนุนหรือคัดค้าน
9.4 การมีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น
10. การนำเสนอข้อโต้แย้งทั้งการพูดและการเขียน
10.1 การมุ่งจุดสนใจที่ผู้ฟัง
10.2 รูปแบบการนำเสนอ

กระบวนการต่างๆ โย กรมวิชาการ กระทวงศึกษาธิการ

แนวคิดเกี่ยวกับทักษะกระบวนการ     

      กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษาและกรมศึกษาเอกชน ได้สนับสนุนให้มีการพิจารณานำกระบวนการเรียนรู้แบบต่างๆไปใช้ในการเรียนการสอน โดยเสนอแนะกระบวนการที่ครูควรใช้ 12 กระบวนการด้วยกัน ดังนี้
            1. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
           2. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด


           3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
           4. กระบวนการแก้ปัญหา
           5. กระบวนการสร้างความตระหนัก
           6. กระบวนการปฏิบัติ
           7. กระบวนการคณิตศาสตร์
           8. กระบวนการเรียนภาษา
           9. กระบวนการกลุ่ม
           10. กระบวนการสร้างเจตคติ
           11. กระบวนการสร้างค่านิยม
           12. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ

            กระบวนการต่างๆ ยังมีอีกมากแต่ละกระบวนการไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ตายตัว เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนเอาไว้เป็นแนวทางดังนี้
           1. ทักษะกระบวนการ มีขั้นตอนดังนี้
                 1.1 ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
                  ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจและตระหนักในปัญหา ความจำเป็นของเรื่องที่จะศึกษาหรือเห็นประโยชน์ ความสำคัญของการศึกษานั้นๆ โดยครูอาจนำเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบ เช่นรูปภาพ วิดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
                 1.2 คิดวิเคราะห์วิจารณ์
                  ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคำถาม แบบฝึกหัด ข้อมูลและให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
                 1.3 สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
                 เป็นโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายโดยร่วมกันคิดเสนอทางเลือก และอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้นๆ
                 1.4 ประเมินและเลือกทางเลือก
ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาโดยร่วมกันสร้างเกณฑ์ที่ต้องนึกถึงปัจจัย วิธีดำเนินการ ผลผลิต ข้อจำกัด ความเหมาะสม กาลเทศะ เพื่อใช้ในการพิจารณาการเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมอง อภิปราย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
                 1.5 กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
                 ให้ผู้เรียนวางแผนการทำงานของตนเองหรือกลุ่ม อาจใช้ลำดับขั้นการดำเนินงานดังนี้
                        1.5.1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
                        1.5.2 กำหนดวัตถุประสงค์
                        1.5.3 กำหนดขั้นตอนการทำงาน
                        1.5.4 กำหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม)
                        1.5.5 กำหนดระยะเวลาการทำงาน
                        1.5.6 กำหนดวิธีการประเมินผล
                  1.6 ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                  เป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจมีความกระตือรือร้นและเพลิดเพลินกับการทำงาน
                  1.7 ประเมินระหว่างปฏิบัติ
ผู้เรียนได้สำรวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถามอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนที่กำหนดไว้ โดยสรุปผลการทำงานแต่ละช่วง แล้วนำเสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงานขั้นต่อไป
                  1.8 ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ผู้เรียนนำผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                  1.9 ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภูมิใจ
ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และผลพลอยได้อื่นๆ ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นได้รับด้วยความเต็มใจ

         2. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด มีขั้นตอนดังนี้
                    2.1 สังเกต
                    ให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูล และศึกษาด้วยวิธีการต่างๆโดยใช้สื่อประกอบเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดข้อกำหนดเฉพาะด้วยตนเอง
                    2.2 จำแนกความแตกต่าง
                    ให้ผู้เรียนบอกข้อแตกต่างของสิ่งที่รับรู้และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
                    2.3 หาลักษณะร่วม
                    ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนในภาพของสิ่งที่รับรู้และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คำจำกัดความ นิยามได้
                    2.4 ระบุชื่อความคิดรวบยอด
                    ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
                    2.5 ทดสอบและนำไปใช้
                    ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทำแบบฝึกหัด ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้
          3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นความสามารถทางกระบวนการทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ เกิดความจำ เข้าใจ จนถึงขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวของ BLOOM แนวหนึ่ง อีกแนวหนึ่งเป็นแนวคิดของ GAGNE ที่เป็นกระบวนการเริ่มจากสัญลักษณ์ทางภาษาจนโยงเป็นความคิดรวบยอด เป็นกฎเกณฑ์และนำกฎเกณฑ์ไปใช้และเพื่อให้ง่ายต่อการสอนซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เป็นขั้นๆ อาจจะเลือกใช้เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่านขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน
                    3.1 สังเกต
                    เน้นการให้ทำกิจกรรมรับรู้แบบปรนัย เข้าใจ ได้ความคอดรวบยอด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสำคัญครบถ้วน ตรงตามหลักฐานข้อมูล
                    3.2 อธิบาย
                    ให้ผู้เรียนตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เชิงเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนดเน้นการใช้เหตุผลด้วยหลักการกฎเกณฑ์ อ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
                    3.3 รับฟัง
                    ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นได้ตอบคำถามวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นที่มีต่อความคิดของตน เน้นการปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหตุผลหรือข้อมูลที่ดี โดยไม่ใช้อารมณ์หรือดื้อเพ่งต่อความคิดเดิม
                    3.4 เชื่อมโยงความสัมพันธ์
                    ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และความคล้ายคลึงของสิ่งต่างๆให้สรุปจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงหาเหตุและผล หากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยงในลักษณะอุปมาอุปมัย
                    3.5 วิจารณ์
                    จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คำกล่าว แนวคิด หรือการกระทำ แล้วให้จำแนกหาจุดเด่น – จุดด้อย ส่วนดี- ส่วนเสีย ส่วนสำคัญ-ไม่สำคัญ จากสิ่งนั้นด้วยการยกเหตุผลหลักการมาประกอบการวิจารณ์
                    3.6 สรุป
                    จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทำหรือข้อมูลต่างๆที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน แล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล

          4. กระบวนการแก้ปัญหา                
                     4.1 สังเกต
                    ให้นักเรียนได้ศึกษาข้อมูล รับรู้และทำความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุปตระหนักในปัญหานั้น
                    4.2 วิเคราะห์
ให้ผู้เรียนได้อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพสาเหตุและลำดับความสำคัญของปัญหา
                    4.3 สร้างทางเลือก
                    เป็นโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ซึ่งอาจมีการทดลอง ค้นคว้า ตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกรณีที่ให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มควรมีการกำหนดหน้าที่ในการทำงาน
                    4.4 เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามแผนและบันทึกการปฏิบัติงาน เพื่อรายงานและตรวจสอบความถูกต้องของทางเลือก
                    4.5 สรุป
                    เป็นการสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง อาจจัดทำในรูปของรายงาน

          5. กระบวนการสร้างความตระหนัก                  
เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนให้ความสนใจ เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคุณค่าในปรากฏการณ์พฤติกรรมต่างๆทั้งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ที่เกิดขึ้นในสังคม มีขั้นตอนดังนี้
                    5.1 สังเกต
                    ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่ และเห็นคุณค่า
                    5.2 วิจารณ์
                    ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์สาเหตุผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น ระยะยาว
                    5.3 สรุป
                    ให้อภิปรายหาข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งของที่จะต้องตระหนักและวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น
           6. กระบวนการปฏิบัต
เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะ มีขั้นตอนดังนี้
                    6.1 สังเกตรับรู้
                    ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวบยอด
                    6.2 ทำตามแบบ
                    ทำตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอนจากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขึ้น
                    6.3 ทำเองโดยไม่มีแบบ
                    เป็นการให้ฝึกปฏิบัติชนิดครบถ้วนกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ต้นจนจนด้วยตนเอง
                    6.4 ฝึกให้ชำนาญ
                    ให้ปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ หรือทำได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็นงานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่

            7. กระบวนการคณิตศาสตร์
 กระบวนการนี้มี 2 วิธี คือสอนทักษะทางคิดคำนวณและสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์การสอนทักษะทางคิดคำนวณมีขั้นตอนย่อย คือ สร้างความคิดรวบยอดของคำ นิยามศัพท์ สอนกฎโดยวิธีอุปนัย (สอนจากตัวอย่างไปสู่กฎเกณฑ์ใหม่) ฝึกฝนวินิจฉัยปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องและเสริมแรง
ส่วนการสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์ มีขั้นตอนย่อยคือ แปลโจทย์ในเชิงภาษา หาวิธีแก้ปัญหาโจทย์ วางแผน ปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคำถาม

            8. กระบวนการเรียนภาษา  เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษา มีขั้นตอนดังนี้
                    8.1 ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ รูปแบบ เครื่องหมาย ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ กลุ่มคำ ประโยคและถ้อยคำ สำนวนต่างๆ
                    8.2 สร้างความคิดรวบยอด
                    ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์ มาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนด้วยตนเอง
                    8.3 สื่อความหมาย ความคิด
                    ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้
                    8.4 พัฒนาความสามารถ
                    ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจำ เข้าใจ นำไปใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าได้

           9. กระบวนการกลุ่ม 
เป็นกระบวนการมุ่งให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมดังนี้
                    9.1 มีผู้นำกลุ่ม ซึ่งอาจผลัดเปลี่ยนกัน
                    9.2 วางแผนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
                    9.3 รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
                    9.4 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ
                    9.5 ติดตามผลการปฏิบัติและปรับปรุง
                    9.6 ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ
          10. กระบวนการสร้างเจตคต
 มีแทรกได้กับทุกเนื้อหา เน้นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียนอาจเป็นความคิด หลักการ การกระทำเหตุการณ์ สถานการณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
                    10.1 สังเกต
                    พิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจตคติที่ไม่ดี
                     10.2 วิเคราะห์
                    พิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจและกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ผลตามที่ไม่น่าพอใจ
                    10.3 สรุป
                    รวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติด้วยเหตุผลของความพอใจ

            11. กระบวนการสร้างค่านิยม
 เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึก เกิดความยอมรับและเห็นคุณค่าด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้
                    11.1 สังเกต ตระหนัก
                    พิจารณาการกระทำที่เหมาะสมและการกระทำที่ไม่เหมาะสม รับรู้ความหมายจำแนกการกระทำที่แตกต่างได้
                    11.2 ประเมินเชิงเหตุผล
                    ใช้กระบวนการกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์การกระทำของตัวละคร หรือบุคคลในสถานการณ์ต่างๆว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
                    11.3 กำหนดค่านิยม
                    สมาชิกแต่ละคนแสดงความเชื่อ ความพอใจในการกระทำที่ควรกระทำในสถานการณ์ต่างๆพร้อมเหตุผล
                    11.4 วางแผนปฏิบัติ
                    กลุ่มช่วยกันกำหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงๆโดยมีครูร่วมรับทราบกติกา การกระทำและสำรวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อได้กระทำดีแล้ว เช่น การได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ
                    11.5 ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                    ครูให้การเสริมแรงตามกติการะหว่างการปฏิบัติให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชม ยินดี

            12. กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ
 ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้ตามความจริง มีขั้นตอนดังนี้
                    12.1 สังเกต ตระหนัก
                    พิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อความสร้างความคิดรวบยอด กระตุ้นให้ตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ และกำหนดเป็นวัตถุประสงค์เป็นแนวทางที่จะแสวงหาคำตอบต่อไป
                    12.2 วางแผนปฏิบัติ
                    นำวัตถุประสงค์หรือคำถามที่ทุกคนสนใจจะหาคำตอบมาวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
                    12.3 ลงมือปฏิบัติ
                    กำหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อย ๆ ได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ค้นคว้า ศึกษานอกสถานที่ หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ฯลฯ ตามแผนที่วางไว้
                    12.4 พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
                    นำความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความ ตีความ ขยายความ นำไปใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
                    12.5 สรุป
                    รวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุดของผู้เรียน

กระบวนการทางปัญญา 10 ข้อ ของ นพ.ประเวศ วะลี

กระบวนการทางปัญญา 10 ข้อ ของ นพ.ประเวศ วะลี
1. ฝึกสังเกต
2. ฝึกบันทึก
3. ฝึกนำเสนอ
4. ฝึกการฟัง
5. ฝึกปุจฉา – วิสัชนา
6. ฝึกตั้งคำถาม และสมมติฐาน
7. ฝึกค้นหาคำตอบ
8. ฝึกการวิจัย
9. ฝึกเชื่อมโยง
10. ฝึกการเขียน
จาก 10 กระบวนการทางปัญญา กับการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับ gotoknow!!!

1. ฝึกสังเกต – นายบอนสังเกตประเด็นการเขียนของ คุณปภังกร คุณน้องนิว” คุณขจิต คุณหมอวัลลภ อ.Panda ฯลฯ แล้วเอามาปรับเขียนบันทึกในแบบของตัวเอง
2. ฝึกบันทึก – หยิบเหตุการณ์รอบตัวที่ได้พบเห็น ได้รับรู้มาเขียนบันทึกครับ 
3. ฝึกนำเสนอ – ทดลองเขียนบันทึกเปิดประเด็นต่างๆ ดูจากสถิติผู้เข้ามาชมในแต่ละบันทึกและข้อคิดเห็นที่ได้รับ คงมีคนอ่านเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
4. ฝึกการฟัง  นายบอนยังไม่มีโอกาสไปร่วมพบปะ ร่วมจิบกาแฟ งานรวมพลเลย จึงยังไม่ได้ฝึกฟัง
5. ฝึกปุจฉา – วิสัชนา ที่ gotoknow นายบอนยังไม่เคยฝึกครับ
6. ฝึกตั้งคำถาม และสมมติฐาน – อ่านบันทึกของคุณหมอวัลลภ แล้วลองสอบถามไปบ้าง จากประเด็นปัญหาที่ได้พบเจอมา ส่วนสมมติฐาน ก็ฝึกบ้างจากการเขียนข้อสังเกต และประเด็นน่าคิดต่างๆ..
7. ฝึกค้นหาคำตอบ ที่ gotoknow นายบอนยังไม่เคยฝึกครับ มีแต่สอบถามท่านผู้รู้ แล้วท่านก็กรุณาตอบให้
8. ฝึกการวิจัยที่ gotoknow นายบอนยังไม่เคยฝึกครับ
9. ฝึกเชื่อมโยง จากบันทึก ตอน เรื่อง หยิบศักยภาพของนักศึกษาปริญญาเอกมาใช้ประโยชน์
พยายามโยงประเด็นเท่าที่สติปัญญาพอจะมี
10. ฝึกการเขียน – ไม่ได้ฝึกครับ  คือ ไม่ได้ฝึกตามคำแนะนำการเขียนบล็อกที่หลายท่านได้เขียนไว้ใน gotoknow เพราะนายบอนเขียนไปเลย

กระบวนการเรียนกัลยาณมิตรนิเทศ


รูปแบบการเรียนการสอยโดยโมเดลซิปปา (CIPPA Model)

รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA Model) หรือรูปแบบการประสานหน้าแนวคิด โดย ทิศนา แขมมณี


ทฤษฎีหรือหลักการแนวคิด ของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa  Model) หรือรูปแบบการประสานห้าแนวคิด  ได้พัฒนาขึ้นโดย ทิศนา  แขมมณี   รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งได้พัฒนารูปแบบจากประสบการณ์ในการสอนมากว่า  30  ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา  จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกันเกิดเป็นแบบแผนขึ้น แนวคิดดังกล่าวได้แก่  
1. แนวคิดการสร้างความรู้ 
2. แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญาและสังคม  โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด  มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้  ความคิดเห็นและประสบการณ์  ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ   ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด  Constructivism  (ทิศนา  แขมมณี, 2542 )

แนวคิดทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด "CIPPA" ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง จากแนวคิดข้างต้น สรุปเป็นหลักซิปปา (CIPPA) ได้ดังนี้

1.       C มาจากคำว่า Construction of knowledge
หลักการสร้างความรู้ หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นประสบการณ์เฉพาะตนในการสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา

2.       I มาจากคำว่า Interaction
หลักการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งตามทฤษฎี Constructivism และ Cooperative Learning เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม

3.       P มาจากคำว่า Process Learning
หลักการเรียนรู้กระบวนการ หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพราะทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสาระ (Content) ของการเรียนรู้ กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง

4.       P มาจากคำว่า Physical participation / Involvement
หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย กล่าวคือ การเรียนรู้ต้องอาศัยการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทางกายจะช่วยให้ประสาทการรับรู้ "active" และรับรู้ได้ดีดังนั้นในการสอนจึงจาเป็นต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้

5.       A มาจากคำว่า Application
หลักการประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ กล่าวคือ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงหรือการปฏิบัติจริง จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีแต่เพียงการสอนเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเข้าใจ โดยขาดกิจกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การจัด กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ เท่ากับเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านแล้วแต่ลักษณะของสาระและกิจกรรมที่จัดนอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

          รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม การปฏิสัมพันธ์สังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
          ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
                   ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
          ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
                   ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
          ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม
                   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
          ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
                   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน
          ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
                   ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
          ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
                    หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนั้นจะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
          ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
                   ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
         หลังจากการประยุกต์ใช้ในความรู้ อาจจะมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในขั้นตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
          ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construc-tion of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม 6 ทีคุณสมบัติตามหลักการ CIPPส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้เป็นรูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลักCIPPA
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสาร รวมทั้งเกิดความใฝ่รู้ด้วย

CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่า กิจกรรมนั้นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ โดยนำเอากิจกรรมในแผนการสอนมาตรวจสอบตามหลัก CIPPAการจัดการเรียนการสอนแบบCIPPA 
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น มิใช่หมายความแต่เพียงว่าให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ได้ที่ผู้เรียนชอบ กิจกรรมที่ครูจัดให้ผู้เรียนจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ จึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นครูที่จะสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังนี้

1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัวพร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พบได้เสมอๆ คือ หากผู้เรียนต้องนั่งนานๆ ไม่ช้า ผู้เรียนอาจหลับไป หรือคิดไปเรื่องอื่นๆ ได้ การเคลื่อนไหวทางกาย มีส่วนช่วยให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน

2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคลื่อนไหวทางสติปัญญาหรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด โดยเรื่องนั้นจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ มนุษย์โดยทั่วไปจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จึงควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย

4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน จะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรงหรือใกล้ตัวผู้เรียน

สรุปได้ว่า
 การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก

หมวดที่ 3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

หมวดที่ 3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

         ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอ แนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสอนของไทยตลอดมา แต่เริ่มได้รับการตอบรับจากสังคมเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปการศึกษากันอย่างกว้างขวางในช่วง 4 - 5 ปีหลังจากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ได้ทำให้ประเทศตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงปรากฏว่านอกจากนักศึกษาแล้ว ยังได้มีนักคิดจากวงการอื่นที่หันมาให้ความสนใจการศึกษาและเสนอแนะแนวคิดต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ในที่นี้ผู้เขียนได้ประมวลแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอจำนวน 7 กระบวนการ กระบวนการเหล่านี้แม้จะยังไม่ได้รับการนำไปทดลองใช้ และทดสอบ พิสูจน์อย่างเป็นระบบ แต่ก็เป็นกระบวนการที่ได้รับความสนใจจากวงการการศึกษาไทยเป็นอย่างมากกระบวนการดังกล่าว ได้แก่
         3.1 กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
         3.2 กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
         3.3 กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี
         3.4 กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
         3.5 กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
         3.6 มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
         3.7 กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
         3.8 กระบวนการต่าง ๆ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
               3.8.1 ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
               3.8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
               3.8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
               3.8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
               3.8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
               3.8.6 กระบวนการปฏิบัติ
               3.8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
               3.8.8 กระบวนการเรียนภาษา
               3.8.9 กระบวนการกลุ่ม
               3.8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
               3.8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
               3.8.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ

3.1 กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
         สาโรช บัวศรี (2526) มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า 20 ปีมาแล้ว โดยการประยุกต์หลักอริยสัจ 4 ได้แก่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มาใช้เป็นกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฎิบัติที่เรียกว่า "กิจในอริยสัจ4" อันประกอบด้วยปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ) สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ) จากหลักทั้งสอง ท่านได้เสนอแนะการสอนกระบวนการแก้ปัญหาไว้เป็นขั้นตอนดังนี้
              1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือการให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
              2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือการให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมติฐาน
              3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือการให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
              4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป

3.2 กระบวนการกัลยาณมิตร โดยสุมน อมรวิวัฒน์ 
         สุมน อมรวิวัฒน์ (2524 : 196 - 199) ราชบัณฑิตสำนักธรรมศาสตร์ และการเมืองสาขาการศึกษาคณะครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตร ไว้ว่าเป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1. ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2. ชี้สุขเกษมศานติ์ กระบวนการกัลยาณมิตร ใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้คือ หลักอริยสัจ 4 มาใช้ควบคู่กับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน 8 ขั้นด้วยกันดังนี้
              1. หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ได้แก่การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรักเป็นที่พึงแก่ผู้เรียนได้ มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอสามารถสื่อสารชี้แจงให้ศิษย์เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งมีความอดทนพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาและมีความตั้งใจสอนด้วยความเมตตาช่วยให้ผู้เรียนพ้นจากทางเสื่อม
              2. การกำหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
              3. การร่วมกันวิเคราะห์เหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
              4. การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญหา (ขั้นสมุทัย)
              5. การกำหนดจุดหมายหรือสภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
              6. การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
              7. การจัดลำดับ. หมายของภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
              8. การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาแนวทางที่ถูกต้อง (ขั้นมรรค)

3.3 กระบวนการทางปัญญาโดยประเวศ วะสี
         ประเวศ วะสี (2542) นักคิดคนสำคัญของประเทศไทยผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญาซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียนประกอบด้วย 10 ขั้นตอนดังนี้
              1. ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่างๆให้มากให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
              2. ฝึกบันทึกให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่างๆแล้วจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
              3. ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตุหรือทำอะไรหรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
              4. ฝึกการฟังการฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มากผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
              5. ฝึกปุจฉา - วิสัชนาให้ผู้เรียนฝึกการถาม - การตอบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผลการวิเคราะห์และการสังเคราะห์
              6. ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถามให้ผู้เรียนฝึกคิดและตั้งคำถามเพราะคำถามเป็นเครื่องมือสำคัญในการได้มาซึ่งความรู้ต่อไปจึงให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐานและหาคำตอบ
              7. ฝึกการค้นหาคำตอบเมื่อมีคำถามและสมมุติฐานแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกค้นหาคำตอบจากแหล่งต่างๆเช่นหนังสือตำราอินเตอร์เน็ตหรือไปสอบถามจากผู้รู้เป็นต้น
              8. ฝึกการวิจัยการวิจัยเป็นกระบวนการหาคำตอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ใหม่
              9. ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ บูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมด และเห็นตัวเองเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมาแล้ว ควรให้ผู้เรียนเชื่อมโยงให้เห็นความเป็นทั้งหมด และเกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร อันจะทำให้เกิดมิติทางจริยธรรมขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
              10. ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการหลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกเรียบเรียงความรู้ที่ได้ การเรียบเรียงจะช่วยให้ความคิดประณีตขึ้น ทำให้ต้องค้นคว้าหาหลักฐานที่มาของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น การเรียบเรียงทางวิชาการเป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาปัญญาของตน และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

3.4 กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช 
         ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2542 : 4-5) นักรัฐศาสตร์ และราชบัณฑิต สํานักธรรมศาสตร์ และการเมือง และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการคิดไว้ว่า การคิดของคนเรามีหลายรูปแบบ โดยท่านได้ยกตัวอย่างมา 4 แบบ และได้อธิบายลักษณะของนักคิดทั้ง 4 แบบไว้ ซึ่งผู้เขียนจะขอนํามาประยุกต์เป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดของผู้เรียนได้ ดังนี้
              1. การคิดแบบนักวิเคราะห์ (analytical) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนา ความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อเท็จจริง (fact) คูตรรกะ (logic) ทิศทาง (direction) หาเหตุผล (reason) และมุ่งแก้ปัญหา (problem solving)
              2. การคิดแบบรวบยอด (conceptual) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนา ความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดวาดภาพในสมองสร้างความคิดใหม่ จากข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอน หรือมองข้อมูลเดิมในแง่มุมใหม่และส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าทํา
              3. การคิดแบบโครงสร้าง (Structural thinking) การฝึกให้ผู้เรียนแยกแยะ ส่วนประกอบ ศึกษาส่วนประกอบ และเชื่อมโยงข้อมูล จัดเป็นโครงสร้างจะทําให้ผู้เรียนมีการคิด อย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินว่า ควรจะทําอะไรอย่างไร
              4. การคิดแบบผู้นําสังคม (social thinking) การฝึกให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับผู้อื่น ทําตนเป็นผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) ฝึกทักษะกระบวนการทํางานรวมกันเป็นทีม (group process) และฝึกให้คิด 3 ด้าน ที่เรียกว่า “PMI” คือด้านบวก (plus) ด้านลบ (minus) และด้านที่ไม่บวกไม่ลบ แต่เป็นด้านที่ไม่สนใจ (interesting)

3.5 มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
         ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ด้านคือ
              1. มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จําเป็นต้อง มีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด คือต้องมีการคิดอะไร ควบคู่ไปกับการคิดอย่างไร ซึ่งเรื่องหรือข้อมูลที่คิดนั้น มีจํานวนมากเกินกว่าที่จะกําหนดได้ อย่างไรก็ตาม อาจจัดกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ (โกวิท วรวิพัฒน์ อ้างถึงในอุ่นตา นพคุณ, 2530 : 29 - 36)
              2. มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออํานวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคล ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการคิด เช่น ใจกว้าง ความใฝ่รู้ความกระตือรือร้น ความกล้าเสียง เป็นต้น
              3. มิติด้านทักษะการคิด หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่ง จัดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (basic thinking skills) ประกอบด้วยทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น ทักษะการอ่าน การพูด การเขียน ฯลฯ ทักษะการคิดที่เป็นแกน (core thinking skills)
ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ เชื่อมโยง ฯลฯ และทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skill) เช่น ทักษะการนิยาม การสร้าง การสังเคราะห์ การจัดระบบ ฯลฯ ทักษะการคิดขั้นสูงมัก ประกอบด้วย กระบวนการ หรือขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ํากว่า
              4. มิติด้านลักษณะการคิด เป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูง จําเป็นต้องมีการตีความให้เห็นเป็นรูปธรรม จึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดชัดเจนขึ้น เช่น การคิดกว้าง การคิดลึกซึ้ง การคิดละเอียด เป็นต้น
              5. มิติด้านกระบวนการคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักหลายขั้นตอน ซึ่งจะนําผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้น โดยขั้นตอนหลักเหล่านั้นจําเป็นต้องอาศัยทักษะการ คิดย่อยๆ จํานวนมากบ้าง น้อยบ้าง กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการวิจัย เป็นต้น
              6. มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตน (metacognition) เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการควบคุมกํากับการรู้คิดของตนเอง มีผู้เรียกการคิดลักษณะนี้ว่า เป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (strategic thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผน การควบคุมกํากับการกระทําของตนเอง การตรวจสอบความก้าวหน้า และประเมินผล
         นอกจากการนําเสนอมิติการคิดข้างต้นแล้ว ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ยังได้ นําเสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการคิดทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
         กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
         จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
              เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผล ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่าง กว้างขวาง ลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณากลั่นกลอง ไตร่ตรอง ทั้งทางด้านคุณ - โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว
              เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
              ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสามารถดังนี้
                  1. สามารถกําหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
                  2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
                  3. สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิดทั้งทางด้านกว้าง ทางลึก และไกล
                  4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
                  5. สามารถประเมินข้อมูลได้
                  6. สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล และเสนอคําตอบ / ทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้
                  7. สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
                      วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                         1.ตั้งเป้าหมายในการคิด
                         2. ระบุประเด็นในการคิด
                         3. ประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ที่คิดทั้งทางกว้าง ลึก และไกล
                         4. วิเคราะห์ จําแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะ นํามาใช้
                         5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ
                         6. ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก/คําตอบที่ สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี
                         7. เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมา และคุณค่าหรือ ความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น
                         8. ชั่งน้ําหนัก ผลได้ ผลเสีย คุณ – โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว
                         9. ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
                         10. ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด

3.6 กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
         เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2542 ข : 3 – 4) ผู้อํานวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) และนักคิดคนสําคัญของประเทศ ได้อภิปรายไว้ว่า หากเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไปได้ ไม่เสียเปรียบ ไม่ถูกหลอกง่าย และสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เราจึงจําเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย “คิดเป็น” คือรู้จักวิธีการคิดที่ถูกต้อง และท่านได้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิดใน 10 มิติ ให้แก่คนไทย โดยท่านได้ให้ความหมายของการคิดใน 10 มิติ ดังกล่าวไว้ ซึ่งผู้เขียนขอประยุกต์มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสาห การพัฒนาผู้เรียนดังนี้
              มิติที่ 1 ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) สามารถพัฒนาให้ เกิดขึ้นได้โดยฝึกให้ผู้เรียนท้าทาย และโต้แย้งข้อสมมติฐานที่อยู่เบื้องหลังเหตุผลที่โยงความคิด เหล่านั้น เพื่อเปิดทางสู่แนวความคิดอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้
              มิติที่ 2 ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ (analytical thinking) พัฒนาให้เกิดขึ้น ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนสืบค้นข้อเท็จจริง เพื่อตอบคําถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง โดยการตีความ(interpretation) การจำแนกแยกแยะ (classification) และการทําความเข้าใจ (understanding) กับองค์ประกอบของสิ่งนั้นและองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิง เหตุผล (causal relationship) ที่ไม่ขัดแย้งกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นด้วยเหตุผลที่หนักแน่น
น่าเชื่อถือ
              มิติที่ 3 ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis type thinking) และการฝึก ให้ผู้เรียนรวมองค์ประกอบที่แยกส่วนกัน มาหลอมรวมภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยพัฒนาผู้เรียน ความสามารถของผู้เรียนในการคิดเชิงสังเคราะห์ได้
              มิติที่ 4 ความสามารถในการคิดเชิงเปรียบเทียบ (comparative thinking) การฝึกให้ผู้เรียนค้นหาความเหมือนและ/หรือความแตกต่างขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป เพื่อใช้ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งบนมาตรการ (criteria) เดียวกัน เป็นวิธีการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดเชิงเปรียบเทียบได้ดี
              มิติที่ 5 ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ (conceptual thinking) ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกการนําข้อมูลทั้งหมดมาประสานกัน และสร้างเป็นกรอบความคิดใหม่ขึ้นมาใช้ในการตีความข้อมูลอื่น ๆ ต่อไป
              มิติที่ 6 ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking) ความสามารถด้านนี้พัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดออกนอกกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ ทําให้ได้แนวทางใหม่ ๆ ที่ไม่ เคยมีมาก่อน
              มิติที่ 7 ความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ (applicative thinking) การคิดประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจําวันมาก ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกนําสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมไปใช้ ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ใหม่ และปรับสิ่งที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับบุคคล สถานที่ เวลา และเงื่อนไขใหม่ ได้อย่างเหมาะสม
              มิติที่ 8 ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking) ความสามารถในด้านนี้ พัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนกำหนดแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
              มิติที่  9 ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ (integrative thinking) คือการฝึกให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเรื่องในมุมต่าง ๆ เข้ากับเรื่องหลัก ๆ ได้อย่างเหมาะสม
              มิติที่ 10 ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต (futuristic thinking) เป็นความสามารถในการคิดขั้นสูง ซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคาดการณ์ และประมาณการการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการใช้เหตุผลทางตรรกวิทยา สมมติฐาน ข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของในอดีตและปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์ ทิศทางหรือขอบเขตทางเลือกที่เหมาะสมอีกทั้งมีพลวัตรสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

3.7 กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
         โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2532) นักวิชาการคนสําคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอ ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่า ควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม และดําเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
              1. กําหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
              2. เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
              3. ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
              4. แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
              5. ฝึกพฤติกรรมโดยมีผลสําเร็จ
              6. เพิ่มระดับความขัดแย้ง
              7. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
              8. กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตัวเอง

3.8 กระบวนการต่าง ๆ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
         กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมวิชาการ สํานักงานคณะกรรมการการประถมแห่งชาติ กรมสามัญ และกรมการศึกษาเอกชน ได้สนับสนุนให้มีการพิจารณานํากระบวนการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ไปใช้ในการเรียนการสอน โดยเสนอแนะกระบวนการที่ครูควรใช้ 12 กระบวนการด้วยกัน ดังนี้ (กรมวิชาการ 2534)
              กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2534) ได้ให้ความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการไว้ว่า เป็นการสอนที่
              ก. สอนให้ผู้เรียนสามารถทําตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถ นําไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ใหม่ ๆ
              ข. สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะ สามารถนําไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ
              การสอนกระบวนการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
                  1. ครูมีความเข้าใจและใช้กระบวนการนั้นอยู่
                  2. ครูนําผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการที่ละขั้นอย่างเข้าใจครบถ้วนครบวงจร
                  3. ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ขั้นตอนของกระบวนการนั้น
                  4. ผู้เรียนนํากระบวนการนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
                  5. ผู้เรียนใช้กระบวนการนั้นในชีวิตประจําวันจนเป็นนิสัย
              จะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้ผู้สอนจะต้องเป็นผู้วางแผน นําให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น กระบวนการที่ใช้จะเป็นกระบวนการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสําคัญ
              3.8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
                  1. ตระหนักในปัญหาและความจําเป็น
                      ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจะเป็นของเรื่องที่ศึกษา หรือเห็นประโยชน์และความสําคัญของการศึกษาเรื่องนั้น ๆ โดยครูอาจนําเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบ เช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
                  2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์
                      ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์ ตอบคําถาม ทําแบบฝึกหัด และให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
                  3. สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
                      ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย โดยร่วมกันคิดเสนอทางเลือก และอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
                  4. ประเมินและเลือกทางเลือก
                      ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาและร่วมกันสร้างเกณฑ์โดยคํานึงถึงปัจจัย วิธีดําเนินการ ผลผลิต ข้อจํากัด ความเหมาะสม กาลเทศะ เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระคมพลังสมอง อภิปราย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฯลฯ
                  5. กําหนดและลําดับขั้นตอนการปฏิบัติ
                      ให้ผู้เรียนวางแผนในการทํางานของตนเองหรือกลุ่มโดยอาจใช้ลําดับขั้นการดําเนินงานดังนี้
                      5.1 ศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
                      5.2 กําหนดวัตถุประสงค์
                      5.3 กําหนดขั้นตอนการทํางาน
                      5.4 กําหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทําร่วมกันเป็นกลุ่ม)
                      5.5 กําหนดระยะเวลาการทํางาน
                      5.6 กําหนดวิธีการประเมิน
                  6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                      ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจมีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทํางาน
                  7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ
                      ให้ผู้เรียนสํารวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยการซักถามอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนงานที่กําหนดไว้ โดยสรุปผลการทํางานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทํางานขั้นต่อไป
                  8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
                      ผู้เรียนนําผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                  9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
                      ผู้เรียนสรุปผลการดําเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้และผลพลอยได้อื่น ๆ ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ

              3.8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
                  1. สังเกต
                      ให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูล และศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยใช้สื่อประกอบเพื่อกระต้นให้ผู้เรียนเกิดข้อกําหนดเฉพาะด้วยตนเอง
                  2. จําแนกความแตกต่าง
                      ให้ผู้เรียนบอกถึงความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
                  3. หาลักษณะร่วม
                      ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่รับรู้ และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คําจํากัดความ หรือนิยาม
                  4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด
                      ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอคเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
                  5. ทดสอบและนําไปใช้
                      ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทําแบบฝึกหัด ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้

              3.8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
              กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ ความจํา จนถึงขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวคิดของ บลูม (Bloom) หรือแนวความคิดของกานเย่ (Gagne) ซึ่งเริ่มจากการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาจนเชื่อมโยงเป็นความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์และนํากฎเกณฑ์ไปใช้ ผู้สอน ควรพยายามใช้เทคนิคต่อไปนี้ ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้เป็นขั้น ๆ อาจจะเลือกใช้เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอน แต่ความพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่านขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน ดังนี้
              1. ขั้นสังเกต
                  ให้ผู้เรียนทํากิจกรรมรับรู้แบบปรนัยให้เกิดความเข้าใจ ได้ความคิดรวบยอด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสําคัญครบถ้วน ตรงตามหลักฐานข้อมูล
              2. อธิบาย
                  ให้ผู้เรียนตอบคําถาม แสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนด เน้นการใช้เหตุผล ด้วยหลักการ กฏเกณฑ์และอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
              3. รับฟัง
                  ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น คําวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อความคิดของตน ได้ตอบคำถาม โตเตอบ และแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหตุผลหรือข้อมูลที่ดี โดยไม่ใช้อารมณ์
              4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
                  ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และความคล้ายคลึงของสิ่งต่าง ๆ ให้สรุปจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงสาเหตุและผล หากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยงในลักษณะอุปมาอุปไมย
              5. วิจารณ์
                  จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คํากล่าว แนวคิด หรือการกระทํา แล้วให้จําแนกหาจุดเด่น - จุดด้อย ส่วนดี - ส่วนเสีย ส่วนสําคัญ - ไม่สําคัญจากสิ่งนั้น ด้วยการยกเหตุผล หลักการมาประกอบการวิจารณ์
              6. สรุป
                  จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทําหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน แล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล

              3.8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
              กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด
              1. สังเกต
                  ให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูล รับรู้และทําความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป และตระหนักในปัญหานั้น
              2. วิเคราะห์
                  ให้ผู้เรียนได้อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ สาเหตุ และลําดับความสําคัญของปัญหา
              3. สร้างทางเลือก
                  ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายซึ่งอาจมีการทดลองค้นคว้า ตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทํากิจกรรมกลุ่มและควรมีการกําหนดหน้าที่ในการทํางานให้แก่ผู้เรียนด้วย
              4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
                  ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนงานและบันทึกการปฏิบัติงาน เพื่อรายงานและตรวจสอบความถูกต้องของทางเลือก
              5. สรุป
                  ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจจัดทําในรูปของรายงาน

              3.8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสนใจ เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคณค่าในปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ขั้นตอนการดําเนินการมีดังนี้
              1. สังเกต
                  ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่ และเห็นคุณค่า
              2. วิจารณ์
                  ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หาสาเหตุ และผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
              3. สรุป
                  ให้อภิปรายหาข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนักและวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น

              3.8.6 กระบวนการปฏิบัติ 
              กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะ มีขั้นตอนดังนี้ 
              1. สังเกตรับรู้ 
                  ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวบยอด 
              2. ทําตามแบบ 
                  ทําตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอน จากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขั้น 
              3. ทําเองโดยไม่มีแบบ 
                  เป็นการให้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง 
              4. ฝึกให้ชํานาญ
                  ให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชํานาญหรือทําได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็นงานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่

              3.8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
              กระบวนการนี้มี 2 วิธีการ คือ สอนทักษะทางคิดคํานวณและทักษะแก้ปัญหาโจทย์ การสอนทักษะการคิดคํานวณมีขั้นตอนย่อย คือ สร้างความคิดรวบยอดของคํา นิยามศัพท์ สอนกฎโดยวิธีอุปนัย (สอนจากตัวอย่างไปสู่กฏเกณฑ์ใหม่) ฝึกการวินิจฉัย ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
              ส่วนการสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์ มีขั้นตอนย่อยคือ แปลโจทย์ในเชิงภาษา หาแก้ปัญหาโจทย์ วางแผน ปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคําถาม

              3.8.8 กระบวนการเรียนภาษา
              กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้
              1. ทําความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ รูปแบบเครื่องหมาย
                  ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคํา กลุ่มคํา ประโยคและถ้อยคําสำนวนต่างๆ
              2. สร้างความคิดรวบยอด
                  ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นํามาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนด้วยตนเอง
              3. สื่อความหมาย ความคิด
                  ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 
              4. พัฒนาความสามารถ
                  ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า

              3.8.9 กระบวนการกลุ่ม
              กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทํางานร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมดังนี้
              1. มีผู้นํากลุ่ม ซึ่งอาจผลัดเปลี่ยนกัน 
              2. วางแผนกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
              3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล 
              4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ 
              5.ติดตามผลการปฏิบัติและปรับปรุง
              6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ

              3.8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ 
         กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่แทรกได้กับทุกเนื้อหา เน้นความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มที่เรียน อาจเป็นความคิด หลักการ การกระทํา เหตุการณ์ สถานการณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
              1. สังเกต
                  ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทําที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจตคติที่ไม่ดี
              2. วิเคราะห์
                  ผู้เรียนพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทําที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ และการกระทําที่ไม่เหมาะสมได้ผลที่ไม่น่าพอใจ
              3. สรุป
                  ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ 

              3.8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม 
         กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเกิดการยอมรับ และเห็นคุณค่าของค่านิยมด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้
              1. สังเกต ตระหนัก
                  ผู้เรียนพิจารณาการกระทําที่เหมาะสมและการกระทําที่ไม่เหมาะสม รับรู้ ความหมาย จําแนกการกระทําที่แตกต่างกันได้
              2. ประเมินเชิงเหตุผล
                  ผู้เรียนใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์การ กระทําของตัวละคร หรือบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
              3. กําหนดค่านิยม
                  ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความเชื่อ ความพอใจในการกระทําที่ควรกระทําใน สถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมเหตุผล
              4. วางแผนปฏิบัติ
                  ผู้เรียนช่วยกันกําหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมีครูร่วมรับทราบ กติกา การกระทํา และสํารวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อกระทําดีแล้ว เช่น การได้ประกาศชื่อให้ เป็นที่ยอมรับ
              5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                  ครูให้การเสริมแรงระหว่างการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชม ยินดี 

              3.8.12 กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ 
         กระบวนการนี้ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้ มีขั้นตอนดังนี้ 
              1. สังเกต ตระหนัก
                  ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อสร้างความคิดรวบยอด ตั้งคําถาม ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อทําความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และกําหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคําตอบต่อไป
              2. วางแผนปฏิบัติ
                  ผู้เรียนนําวัตถุประสงค์ หรือคําถามที่ทุกคนสนใจจะหาคาตอบมาวางแผนเพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
              3. ลงมือปฏิบัติ
                  ครูกําหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อย ๆ ได้แสวงหาคําตอบจากแหล่งความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่ หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ฯลฯ ตามแผนงานที่ วางไว้
              4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
                  ผู้เรียนนําความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความ ตีความ ขยายความ นําไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
              5. สรุป
                  ผู้เรียนรวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุด

              จะเห็นได้ว่า กระบวนการรวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนต่าง ๆ ดังได้เสนอไปแล้วข้างต้น มีจํานวนและความหลากหลายพอสมควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกเป็นจํานวนมาก ผู้สอนจึงพึงตระหนักว่าศาสตร์ทางการสอนได้ให้แนวคิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่าง หลากหลายพอสมควร หากผู้สอนรู้จักแสวงหา ศึกษาเรียนรู้ และนําไปทดลองใช้ จะสามารถช่วยให้ การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ มีชีวิตชีวา และมีความหลากหลาย ไม่จําเจอยู่กับวิธีการหรือกระบวนการเพียงไม่กี่วิธีซึ่งอาจทําให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...