วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค KWLH

การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค KWLH
การอ่านเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้มีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนเป็นรากฐานในการเรียนแต่ละวิชาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์และความสามารถของแต่ละคนแต่การอ่านเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นมิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติการฝึกทักษะอย่างถูกวิธีเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน
1. ความหมายของการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค KWLH
วิลาวัลย์ ลูกสะเดาอัจฉรา ธรรมาภรณ์ และอรทิพย์ เพ็ชรอุไร (2551 : 33-41) กล่าวถึง เทคนิคการสอนแบบ KWLH ดังนี้
1.1เทคนิค K-W-L-H
เทคนิค K-W-L-H หมายถึง การใช้กระบวนการคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยเน้นการใช้ความรู้เดิมของผู้อ่านในการตีความ ทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน และเพื่อความเข้าใจตรงจุดประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านทราบ มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมก่อนอ่าน กิจกรรมระหว่างอ่าน และกิจกรรมหลังอ่าน โดยเน้นทักษะกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.1.1ขั้น K
หมายถึง "What You Know"เป็นการตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด
ขั้น "K" (What You Know) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่ามีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เป็นการนำความรู้เดิมมาใช้เพราะการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ การเตรียมการเรียนรู้เนื้อหาใหม่

1.1.2ขั้น W
หมายถึง "What You Want to Know" เป็นการถามตนเองว่าต้องการเรียนรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง
ขั้น "W" (What You Want to Know)เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรจากบทอ่านบ้างช่วยให้นักเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่าน และสร้างแรงจูงใจในการอ่านด้วย
1.1.3ขั้น L
หมายถึง "What YouLearned" เป็นขั้นตอนการสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน
ขั้น "L" (What You Learned) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไร
บ้างจากบทอ่าน ได้รับความรู้ใหม่หรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ เป็นการหาคำตอบสำหรับคำถามที่นักเรียนตั้งไว้ในขั้นของ "W"เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ และจัดระบบความรู้ ความคิด ฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านอย่างถูกต้อง
1.1.4ขั้น H
ในเทคนิค K-W-L-H หมายถึง "How You Can Learn More" เป็นการถามตนเองว่าต้องการจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมอีกได้อย่างไร
ขั้น "H" (How You Can Learn More)เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหรือค้นหาว่านักเรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้อย่างไรเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่อ่าน เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการขยายความรู้ความคิดให้กว้างและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
1.2 การเรียนแบบคู่คิด หมายถึง นักเรียนจับคู่กัน ร่วมกันอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในสิ่งที่ได้ศึกษาจนได้ข้อสรุปแล้วร่วมกันทำแบบฝึกหัด
1.3 กิจกรรมการเรียนแบบปกติหมายถึง นักเรียนในชั้นเรียนทบทวนเนื้อหาสรุปคำตอบ และทำแบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล
1.4 ความคงทนในการเรียนรู้ หมายถึงความสามารถของนักเรียนในการจำสิ่งที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว
2. ข้อดี ข้อด้อย
2.1 ข้อดี
2.1.1 การทำกิจกรรมตามกระบวนการ KWLH ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถควบคุมการอ่านของตนเองได้ เพราะนักเรียนสามารถใช้ทักษะการตั้งคำถาม การคาดคะเน และการใช้ความรู้เดิมเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนให้ดีขึ้น การนำความรู้ใหม่มาผสมผสานเข้ากับความรู้เดิม ซึ่งสอดคล้องกับการฝึกทักษะการคิดอย่างรู้ตัวอย่างที่รู้จักกันในชื่ออภิปัญญา (Metacognition) ซึ่งนักเรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการทำความเข้าใจตนเอง มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมายตรวจสอบความเข้าใจของตน มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.2 นักเรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด ซึ่งเป็นกลวิธีการเรียนในลักษณะการอภิปราย 2 กลุ่มย่อย (2 คน )
2.2 ข้อด้อย
2.2.1 ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการจัดการศึกษาไม่สนับสนุนการฝึกกลวิธีการ
เรียนเทคนิค K-W-L-Hเท่าที่ควร
2.2.2ครูหรือนักจัดการศึกษาไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องการเน้นการจำเนื้อหาโดยใช้เทคนิค K-W-L-H ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด ที่จะช่วยให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...