บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
ในศตวรรษที่ 21 ต่างจากเด็กยุคเก่าอย่างมาก คือ ความรู้เยอะและความรู้ที่วิ่งเข้ามาหาตัวเด็กมีเยอะมาก เพราะฉะนั้นการเรียนในห้องเรียนเป็นเรื่องยากมากที่เด็กจะสนใจเพราะมีเรื่องอื่นที่น่าสนใจมากกว่า
ในศตวรรษนี้เป็นยุคของ IT จำนวนมวลความรู้มันเพิ่มขึ้นมหาศาลอย่างรวดเร็วทุกวันเราไล่ตามไม่ทัน ฉะนั้นเราก็ไม่ได้ต้องการนัดเรียนที่เรียนเก่ง ท่องเก่งเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังอยากได้เด็ก อยากได้นักเรียน อยากได้บัณฑิตที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่ๆอยู่เรื่อยๆและต้องรู้วิธีที่จะเรียนรู้ด้วย คือมีทักษะในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Learning skill และต้องมีทักษะการใช้ชีวิตที่ดีด้วย เรียกว่า Life skill ควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
สำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 นั้นนอกจากความรู้ในสาระวิชาหลักที่เด็กควรจะได้รับการสอน เด็กควรจะได้รู้แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้เด็กควรได้รับการปลูกฝังทักษะสำคัญ 3 เรื่องอีกด้วย คือ
- ทักษะชีวิตและการทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
- การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
- การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบ เชื่อถือได้
- ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
- ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
- ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
- การสื่อสารและความร่วมมือ
- ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
- ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่ากัน
- วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม
- ทักษะด้านภาษา
และเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆประสบความสำเร็จ ต้องจำเป็นที่มีโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้าน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานในการเรียนรู้ หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
การเรียนการสอนแบบเก่าคุณครูก็สอนและมุ่งที่จะให้ความรู้แก่เด็กเยอะและเด็กก็มีหน้าที่รับความรู้เยอะๆและก็ท่อง ในการเรียนการสอนแบบนี้อาจจะเหมาะใน 100 หรือ 200 ปีที่ผ่านมา จุดสำคัญ คือ ต้องเปลี่ยนวิธีการของการศึกษา เปลี่ยนเป้าหมายจากความรู้ไปสู่ทักษะ เปลี่ยนจากเอาครูเป็นหลักในการสอน เป็นนักเรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า Project Based Learning คือนักเรียนต้องเรียนโดยการทำ Project
การเรียนแบบ Project Based Learning หรือ PBL เป็นการเรียนที่ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการทำงานจริงหรือ Project ต่างๆ โดยที่ครูเป็นเพียงผู้ที่คอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ การเรียนแบบนี้จะช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะต่างๆ ตั้งแต่การตั้งคำถาม การค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง การตรวจสอบและประเมินข้อมูลเพื่อนำสิ่งที่เหมาะสม ถูกต้องมาใช้กับ Project ได้ฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มทักษะในการศึกษา การนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์ และที่สำคัญที่สุดยังได้ฝึกการทำงานเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันเพื่อต่อยอด ไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตัวเองต่อไป
Project หนึ่งเราสามารถออกแบบและใส่เงื่อนไขให้นักเรียนได้รู้ทักษะสารภัตด้าน และครูต้องฝึกการเป็นครูฝึก (Coach) ให้นักเรียนได้ฝึกทำงานเพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ การศึกษาจะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เราคุ้นเคย จากหน้ามือเป็นหลังมือเยอะมาก ถ้าเรียนแบบปัจจุบันจะส่งผลต่อเราคือ เด็กจะเสียคน ในสัดส่วนที่มีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่มีความสนุก น่าเบื่อ และที่สำคัญคือทั้งชาติโง่ เพราะเรียนแค่ได้ความรู้ ไม่ได้ทักษะ รวมถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Commumication Technology – ICT) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การศึกษาในอุดมคติเป็นจริงได้ เพราะสามารถแสดงอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างสถานการณ์เสมือนจริง (Virtual Situation) ได้เหมือนๆกับที่หนังสือ หนังสื่อภาพ เทปเสียง วีดีทัศน์หรือสื่ออื่นๆ ที่มีทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้ใช้ได้และสร้างเครือข่ายให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างไร้ขอบเขต ในแง่ของสถานที่ที่แตกต่างคนละ แห่งกัน ทำให้ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก
บทบาทครูในศตวรรษที่ 21
ครูในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องมีลักษณะที่เรียกว่า E-Teacher
- Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ เช่น เรียนผ่านสื่อเทคโนโลยี Internet, E-mail เป็นต้น
- Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองตลอดเวลา ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
- Expanded มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนเองสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
- Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม และสามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล
- End-User เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยี (user) อย่างคุ้มค่า และใช้ได้อย่างหลากหลาย
- Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยี จนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ เช่น เกิดชุมชนครูบน web
- Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้
ห้องเรียนสำหรับการศึกษาศตวรรษที่ 21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น