วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

ไฟล์ชุดที่ 1- 7

ชุดที่ 1
https://drive.google.com/file/d/15g1snMBZ0JHhpFjl-alJ5xlmZkUJoJ_D/view

ชุดที่2
https://drive.google.com/open?id=1H5tQFfu7UfCJUHgbq4KSqPgDVNU1ysBW

ชุดที่ 3
https://drive.google.com/open?id=1ab6jfajmJ1Pgd6Zr7JVXUC8w7M9nPQ85

ชุดที่ 4
https://drive.google.com/open?id=1FviwCNaoyYP8Q7YKejelxjR-5y5IvjKT

ชุดที่ 5
https://drive.google.com/open?id=1Y7kYL84UAcDD8UCp3eLXuuL179ONl6l3

ชุดที่ 6
https://drive.google.com/open?id=10F-kZcDNG4CRl0ko0i1GerHv8uY8IkHU

ชุดที่ 7
https://drive.google.com/open?id=1_SVgFS7dF47NqcXi1NoNy582vknCclQB

ชุดที่ 7



วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้   ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
      โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช                                      
           คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น

คำชี้แจง : ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
   ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการพัฒนาโดยทิศนา แขมมณี ในปี 2526 โดยมีวัตถุประสงค์ของรูปแบบคือมุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
……χ……… 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการพัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความผิดหวังและความสมหวัง ซึ่งการศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
 ………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) พัฒนาจากหลักการเรียนรู้ 5 ประการ คือ
1. การสร้างความรู้
2. กระบวนการกลุ่มและความร่วมมือ
3. ความพร้อมในการเรียนรู้
4. การเรียนรู้และกระบวนการ
5. การถ่ายโอนการเรียนรู้
คำชี้แจง : ข้อ 4-5 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ 
4. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ 
๑.   ขั้นนำ     (  เสริมสร้างปัญญา  )  
 ๒.     ขั้นสอน
 ๓.   ขั้นสรุป

วัตถุประสงค์ของรูปปแบบ
๑.   เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี  คิดเป็น   คิดอย่างมีระเบียบ   รู้วิธีหาเหตุผล  ตลอดจนสามารถแยกแยะปัญหาได้ด้วยตนเอง               

๒.   เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทักษะมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้            
๑.   ขั้นนำ     (  เสริมสร้างปัญญา  )                               
๑.๑   จัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้    ซึ่งต้องมีลักษณะ                                --   มีความสงบใกล้ชิดธรรมชาติ  ให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ   ใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน   ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง                                --   สภาพชั้นเรียน  แปลกใหม่ไม่จำเจ   บริเวณห้องเรียน  โรงเรียนสะอาดมีระเบียบเรียนร้อย                                -- สร้างบรรยากาศ  ที่ชวนให้สบายใจ  ไม่มีการข่มขู่บังคับ
๑.๒  สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน--   ผู้สอนต้องปฏิบัติตัวเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน    คือต้องมีสำรวมกาย   น่าเชื่อถือศรัทธา    สง่า  สะอาด  แจ่มใส  มีความรู้มีคุณธรรม --  สั่งสอนผู้เรียนด้วยความรักและเป็นที่พึ่งของผู้เรียน อย่างแท้จริง                               
๑.๓  ผู้สอนนำเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ   เช่นใช้วิธีตรวจสอบความคิด  และความสามารถของผู้เรียน ก่อนสอน  เป็นการเสริมแรงเร้าให้เกิดความมานะ  พากเพียร  ใส่สื่อกิจกรรมที่น่าสนใจ               
 ๒.     ขั้นสอน
๑.      ผู้สอนเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน  โดยใช้วิธีนำเสนอที่หลากหลาย   และท้าทายความคิด
๒.    ผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
๓.    ให้ผู้เรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล   โดยการ ทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ
๔.    ผู้สอนจัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิธีต่าง ๆ  เช่นใช้คำถามอย่างเหมาะสมเพื่อเร้าให้เกิดความคิด
๕.    ให้ผู้เรียนฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล     เพื่อหาทางเลือกวิธีแก้ปัญหาโดยการฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
๖.     ให้ผู้เรียนเลือกและตัดสินใจ   การลงมติร่วมกันภายในกลุ่ม
๗.    ให้ผู้เรียนฝึก ปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์การเลือก  ให้ตรงกับแผนและบันทึกข้อมูลให้เป็นระเบียบ
 ๓.   ขั้นสรุป
๑.      ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตวิธี ปฏิบัติ  ตรวจสอบปรับปรุงแก้ไข
๒.    ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย และสอบถามข้อสงสัย
๓.    ครูละนักเรียนร่วมกันสรุปการเรียนรู้   เช่นใช้การอภิปรายกลุ่ม และสรุปสาระสำคัญ

๔.    ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้

ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
๑.      เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะด้านการคิดหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ๒.    ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดปัญญาด้วยตนเอง
๓.    เสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

๔.    ฝึกความเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของความเป็นเหตุผล  และเสริมสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน  โดยการจัดลำดับการฝึกคิด  โดยใช้หลักการชั้นสูง
5. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa  Model) หรือรูปแบบการประสานห้าแนวคิด  ได้พัฒนาขึ้นโดย ทิศนา  แขมมณี   รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งได้พัฒนารูปแบบจากประสบการณ์ในการสอนมากว่า  30  ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา  จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกันเกิดเป็นแบบแผนขึ้น แนวคิดดังกล่าวได้แก่ 
1. แนวคิดการสร้างความรู้
2. แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญาและสังคม  โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด  มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้  ความคิดเห็นและประสบการณ์  ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ   ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด  Constructivism  (ทิศนา  แขมมณี, 2542 )
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม การปฏิสัมพันธ์สังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
                   ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
          ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
                   ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
          ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม
                   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
          ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
                   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน
          ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
                   ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
          ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
                    หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนั้นจะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
          ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
                   ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
         หลังจากการประยุกต์ใช้ในความรู้ อาจจะมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในขั้นตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
          ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construc-tion of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม 6 ทีคุณสมบัติตามหลักการ CIPPส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้เป็นรูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลักCIPPA

ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสาร รวมทั้งเกิดความใฝ่รู้ด้วย
CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่า กิจกรรมนั้นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ โดยนำเอากิจกรรมในแผนการสอนมาตรวจสอบตามหลัก CIPPAการจัดการเรียนการสอนแบบCIPPA
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น มิใช่หมายความแต่เพียงว่าให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ได้ที่ผู้เรียนชอบ กิจกรรมที่ครูจัดให้ผู้เรียนจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ จึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นครูที่จะสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัวพร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พบได้เสมอๆ คือ หากผู้เรียนต้องนั่งนานๆ ไม่ช้า ผู้เรียนอาจหลับไป หรือคิดไปเรื่องอื่นๆ ได้ การเคลื่อนไหวทางกาย มีส่วนช่วยให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคลื่อนไหวทางสติปัญญาหรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด โดยเรื่องนั้นจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ มนุษย์โดยทั่วไปจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จึงควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย
4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน จะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรงหรือใกล้ตัวผู้เรียน

 คำชี้แจง : ข้อ 6-7 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

6. รูปแบบการเรียนการสอนใด ใช้แนวคิดของ “Anchored Instruction” มาใช้เป็นชื่อการจัดการเรียนการสอนและนำมาใช้เป็นหลักการและแนวคิดของรูปแบบ
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมทางกาย
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
ค. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
ง. รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
จ. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ

7. รูปแบบการเรียนการสอนใด มีวัตถุประสงค์ของรูปแบบโดยมุ่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ทำ และเกิดทักษะความสามารถที่จะทำงานนั้นได้อย่างชำนาญตามเกณฑ์ รวมถึงมีเจตคติที่ดีและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมทางกาย
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
ค. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
ง. รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
จ. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ

คำชี้แจง : ข้อ 8-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ  
8. จงอธิบายความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปาให้ถูกต้องและชัดเจน
C – Construction of Knowledge คือ
หลักการสร้างความรู้ หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นประสบการณ์เฉพาะตนในการสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I – Interaction คือ
หลักการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งตามทฤษฎี Constructivismและ Cooperative Learning เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
P – Process Skills คือ
หลักการเรียนรู้กระบวนการ หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพราะทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสาระ (Content) ของการเรียนรู้ กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง
P – Physical Participation คือ
หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย กล่าวคือ การเรียนรู้ต้องอาศัยการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทางกายจะช่วยให้ประสาทการรับรู้ "active" และรับรู้ได้ดีดังนั้นในการสอนจึงจาเป็นต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้
A – Application คือ
หลักการประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ กล่าวคือ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงหรือการปฏิบัติจริง จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีแต่เพียงการสอนเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเข้าใจ โดยขาดกิจกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การจัด กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ เท่ากับเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านแล้วแต่ลักษณะของสาระและกิจกรรมที่จัดนอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน

9. จากการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยแล้ว ปรากฏว่า รูปแบบการสอนทุกรูปแบบนั้นได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพ ท่านมีความคิดเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรกับข้อความนี้ เพราะอะไร จงอธิบาย
การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก
         
10. ท่านคิดว่า การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยคนไทยรูปแบบใด มีประโยชน์ต่อนักเรียนมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบาย

การเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

เพราะ
    1. มุ่งเน้นไปที่ให้มีการเรียนรู้อย่างมีการโต้ตอบ ใช้แนวคิดต่างๆ ร่วมกันเพื่อเชื่องต่อการเรียนรู้ใหม่กับการเรียนรู้เดิม กระตุ้นความสนใจและสิ่งที่เชื่องโยงกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือนักเรียนมีทางเลือกและควบคุม ปรับเปลี่ยน เพื่อความต้องการในการพัฒนาที่แตกต่างกันของแต่ละคน พร้อมกันนั้นยังให้การดูแลและสร้างบรรยากาศการที่ส่งเสริมการเรียนรู้

    2.จัดโครงสร้างความรู้โดยผ่านการเรียนรู้ที่แท้จริง คือการเรียนในบรรยากาศจริงหรือในบริบทที่ความรู้เกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้น หรือจะกล่าวได้อีกอย่างว่า เชื่อมต่อประสบการณ์การเรียนรู้ในโรงเรียนกับสถานการณ์ของโรลกความจริงนั้น เอง

   3.นักเรียนมีส่วนร่วมในขั้นตอนการเรียนรู้ มากกว่าการเป็นผู้รับความรู้ นักเรียนจะได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมและเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบเพื่อให้ ทราบถึงทิศทางการเรียนรู้ของตัวเองและความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง รู้แหล่งของการเรียนรู้ และจัดโครงสร้างความรู้ตามความต้องการของตัวเอง

   4.จัดกิจกรรมในชั้นเรียนและโครงงานที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้เรียนหรือนักเรียนได้มีทางเลือกหลากหลายในการคัดสรรตามความต้อง การของนักเรียนแต่ละคน เป็นผลมาจากการตระหนักว่านักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพต่างกัน มีความชื่นชอบในรูปแบบการเรียนรู้และมียุทธวิธีในการเรียนรู้ที่ต่างกัน

   5.บรรยากาศในการเรียนรู้ กล่าวคือการเรียนรู้ควรเกิดขึ้นได้ทุกที่ และทุกเวลา ทั้งในรูปแบบต่างและในความหมายต่างๆ ที่สามารถสร้างสรรค์ได้ บรรยากาศการเรียนรู้เช่นนี้จะช่งยสร้างเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีความ รับผิดชอบในการศึกษาของตน ดังนั้นนักเรียนได้ถูกเตรียมตัวในบรรยากาศที่แท้จริงด้วยกิจกรรมนอกห้อง เรียนที่จะเพิ่มการเรียนรู้ของนักเรียนในมิติต่างๆ

   6.นักเรียนถูกกระตุ้นจากภายใน (มีแรงจูงใจของตัวเอง) มากกว่าถูกกระตุ้นจากภายนอก (แรงจูงใจจากภายนอก) หรือกล่าวง่ายๆ ว่านักเรียนมีแรงจูงใจจากภายในไม่ใช่จากภายนอก ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนพิมพ์รายงานส่งเพราะนักเรียนต้องการสร้างความภูมิใจให้งานของตัวเอง ไม่ใช่ต้องการให้คนอื่นชื่นชมวิธีการนำเสนอนี้





ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุกัญญา  แสนสุโพธิ์ 

รหัสนักศึกษา 593150310856 


 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 3


*คำคมฝากคิด

You can be the one in a million. Don’t be discouraged by the odds to succeed.”

คุณสามารถ เป็นหนึ่งในล้านได้ อย่าให้ความท้อถอย มาทำลายความสำเร็จ
#เดวิด เบคแฮม

ชุดที่ 6



วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้   ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
      โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช                                                
           คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
 คำชี้แจง : ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ

   ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบ (Model) หมายถึง รูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น
     แผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
………P…… 2. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) เป็นรูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ โดยเป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร
     คณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
 ………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลัก
     ปรัชญา ทฤษฏี หลักแนวคิดและความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิค
     การสอนต่างๆ เข้าไปและได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ

คำชี้แจง : ข้อ 4 จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์กับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิด  ผังกราฟิก) โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้ 
รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก

เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์และตัวอย่างที่หลากหลาย

ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะการสร้างมโนทัศน์

ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจมโนทัศน์อื่น ๆต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะการใช้เหตุผล

โดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย







เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและความ
เข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้ และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การ
จดจำ


คำชี้แจง : ข้อ 5 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 

5. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Playing Model)

ก. ผู้พัฒนารูปแบบนี้คือแซฟเทลและแซฟเทล (Shaftel and Shaftel, 1967)
ข. การสอนในรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยความเคลื่อนไหวหรือ
   ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชำนาญ 
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 9 ขั้น ได้แก่ การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ การ
   เลือกผู้แสดง การจัดฉาก การเตรียมผู้สังเกตการณ์ และการแสดง เป็นต้น
ง. การเรียนในรูปแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้อื่นได้

จ. ผู้แสดงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว/เหตุการณ์ ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงตามบทบาทให้ดีที่สุด


คำชี้แจง : ข้อ 6-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ 

6. จงพิจารณาตัวเลือก A-C ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
               A. รูปแบบการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
               B. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์
               C. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
ทางกายของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการท างานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการ
ท างานที่มีความซับซ้อน และต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน การท างาน
ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมอง ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัติ
นี้สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน ซึ่งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง ความ
คล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญและความคงทน ผลของพฤติกรรมหรือการกระทำสามารถ
สังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยำ ความเร็วหรือความราบรื่นในการ  จัดการ

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือการ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้องและมีความชำนาญ
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้ในสิ่งที่จะทำโดยการให้ผู้เรียนสังเกตการทำงานนั้นอย่างตั้งใจ
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถกระทำหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ ในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย

7. จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม กับ รูปแบบการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้ โดยจะนำเสนอประเด็นอะไรก็ได้ไม่จำกัด (สามารถดูประเด็นตัวอย่างในการเขียนในข้อ 6)
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
รูปแบบการสอน
กระบวนการคิดสร้างสรรค์


รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ

โดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้และช่วยดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ








ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ ๆ และสามารถนำความคิดใหม่ ๆ นั้นไปใช้ในงานของตน ทา ให้งานของตนมีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้เรียนอาจเกิดความ ตระหนักในคุณค่าของการคิด และความคิดของผู้อื่นอีกด้วย

8. จงพิจารณาตัวเลือก A-D ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
     A. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
     B. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง
     C. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
     D. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
แม็ค คาร์ธี (Mc Carthy, อ้างถึงใน ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542: 7-11) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นจากแนวคิดของโคล์ป (Kolb) ซึ่งอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ของ 2 มิติ คือการรับรู้ และกระบวนการจัดกระท าข้อมูล การรับรู้ของบุคคลมี 2 ช่องทาง คือผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม ส่วน การจัดกระท ากับข้อมูลที่รับรู้นั้น มี 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือการลงมือทดลองปฏิบัติ และการ สังเกตโดยใช้ความคิดอย่างไตร่ตรอง
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์ ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนตอบได้ว่า ทำไม ตนจึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ความเข้าใจและ น าความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้ง ได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจ านวนมาก

9. เราต่างทราบกันดีว่า รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) นั้นมีกระบวนการสอนหลายรูปแบบที่มีวิธีการสอนและมีกระบวนการที่มีความแตกต่างกันไป คือ
JGSAW                STAD             TAI                TGT               LT                 GI                    CIRC
Complex Instruction

ท่านคิดว่า กระบวนการต่างๆ ในรูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้จากการลงมือทำทั้งเเบบเดี่ยวเเละเเบบเป็นกลุ่มทำให้ได้ความรู้เเละเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และมีประโยชน์ต่อผู้สอนอย่างไร
ทำให้ผู้สอนมีการเรียนการสอนที่ได้ประสิทธิภาพเเละทำให้ผู้สอนมีพัฒนาการในการสอน
 10. ท่านคิดว่า การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบสากล มีประโยชน์ต่อบุคคลใดมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ผู้เรียน เพราะการเรียนเเบบสากลรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
        รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้
        จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain) 
        รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด 

2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
        รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนาหรือปลูกฝัง การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม 
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
        รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทำ หรือการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย 
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
        ทักษะกระบวนการ เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น
กระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์ การอุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น หรืออาจเป็นกระบวนการทางสังคม เช่น กระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ปัจจุบันการศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิต 

5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการ รูปแบบในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาเป็นองค์รวม

เพราะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุกัญญา  แสนสุโพธิ์ 

รหัสนักศึกษา 593150310856 

 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 3

*คำคมฝากคิด

"If you focus on results, you
will never change. If you
focus on change, you will get results."

ถ้ามัวแต่รอให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างก็จะไม่มีวันเปลี่ยนไป
แต่ถ้าคุณเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง สิ่งที่คุณคาดหวังก็จะมาถึงเอง

#JACK DIXON

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...