วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561
ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
คำชี้แจง
1.ให้ท่านประเมินแผนการเรียนรู้ที่เขียนขึ้นมาโดยตัวท่านเองว่าในรายการประเมินอยู่ในระดับใด โดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่กำหนดให้ และการให้นำหนักของคะแนนตาม
ความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง ดีมาก
4 หมายถึง ดี
3 หมายถึง พอใช้
2 หมายถึง ปรับปรุง
1 หมายถึง ใช้ไม่ได้
การแปลผลของการประเมินผล แผนการเรียนรู้
80 – 100 อยู่ในระดับดีมาก
60 – 79 อยู่ในระดับดี
40 - 59 อยู่ในระดับพอใช้
20 - 39 อยู่ในระดับปรับปรุง
ต่ำกว่า 20 อยู่ในระดับใช้ไม่ได้
ตารางที่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
แนวทางการรวบรวมและสรุปรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้การรวบรวมแผน
การเรียนรู้เป็นรูปเล่ม
แผนการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการสอนตลอดปีการศึกษานั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษาแล้วควร
จัดเก็บรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นรูปเล่มเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแผนการที่มีที่มี
ประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งการรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรูปเล่มนั้น ควรประกอบด้วยดังนี้
ส่วนที่ 1 คำอธิบายรายวิชา และผลการวิเคราะห์หลักสูตร โดยจำแนกให้เห็นได้ว่า
แยกแยะจุดประสงค์ เนื้อหา และเวลาที่ใช้สอนแต่ละเนื้อหาอย่างไร
ส่วนที่ 2 ตารางสอนของครูผู้ทำการสอน
ส่วนที่ 3 แผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนทั้งหมด
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก ประกอบด้วยเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการสอน
แต่ละครั้ง
การจัดทำรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อสิ้นปีการศึกษา ครูผู้สอนควรมีการสรุปผลการสอนของตนเอง โดยสรุปผลการสอน
ในรูปของเอกสาน “รายงานผลการใช้แผนการเรียนรู้” เพื่อที่จะเป็นแนวทางการปรับปรุงและ
พัฒนาการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ในเอกสารการรายงานผลการเรียนรู้ควร
ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เกริ่นนำ จะประกอบด้วย หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา จุดหมาย
หลักการสอน แนวการนำหลักสูตรไปใช้กับผู้เรียน
ตอนที่ 2 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)
โครงสร้าง เนื้อหา จุดหมาย คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาที่ใช้ประกอบ
การสอนกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือวัดผลอื่นๆ
ตอนที่ 3 ผลการสอน เป็นสิ่งที่ได้จากการใช้แผนการเรียนรู้ที่ผลการสอนอาจจะ
เป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งภาคความรู้ ภาคปฏิบัติ ความสามารถทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในสมรรถภาพอื่น ๆ ระหว่างเรียน ปลายภาค หรือปลายปี เป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รายห้องเรียน หรือรายชั้นเรียน เป็นต้น
ตอนที่ 4 สรุปผลการเรียน อภิปรายผล และข้อเสนอแนะการจัดทำแผนการเรียนรู้
การใช้แผนการเรียนรู้
แผนการสอนที่ดีควรยึดหลักการเขียน ดังนี้ ภาษาเข้าใจง่าย และสามารถสื่อได้ตรงกัน
ไม่ว่าใครใช้สอนก็เข้าใจตรงกัน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2537 : 201 – 208) ได้ให้ทัศนะว่า การเขียนแผนที่ดีนั้น ควรเขียน
ครอบคลุมเนื้อหา และต้องไม่เขียนพฤติกรรมของครูลงในแผนการสอน พึงระลึกเสมอว่านักเรียนเป็น
ผู้แสดง ครูเป็นเพียงผู้แนะนำ แบบเรียนหรือแผนใดๆ มิใช่คัมภีร์หรือกฎหมายที่ครูต้องปฏิบัติตามไป
เสียหมด จะต้องนำไปพิจารณาถึงความเหมาะสม ปรับใช้ให้เหมาะสมแก่บุคคล โอกาสและสถานที่
จึงนับว่าเป็นครูที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
การทำแผนการสอน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะและรูปแบบใด จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เป็น
สำคัญ
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ต้องชัดเจน
2. กิจกรรมควรนำไปสู่ผลการเรียนตามจุดประสงค์ได้จริง
3. ระบุพฤติกรรมนักเรียนและพฤติกรรมครูผู้สอนอย่างชัดเจน ในการอำนวย
ความสะดวกแก่นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอนจะต้องมีคุณค่า มีความหลากหลาย ทั้งของจริง ภาพ
แผนภูมิ เอกสาร ใบความรู้
5. วิธีการวัดผลควรชัดเจนตามจุดประสงค์การเรียนรู้
แผนการสอนที่มีคุณภาพ จะแสดงถึงการเตรียมความพร้อมของครูในการพัฒนาอาชีพอีก
ด้วย สิ่งสำคัญควรเริ่มลงมือศึกษาและทำแผนการสอนตลอดทั้งนำไปใช้แล้วบันทึกผลลงด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อตัวนักเรียนอย่างสูงสุด
แผนการเรียนรู้เชิงระบบ ดังนี้ (รุจิร์ ภู่สาระ. 2545 : 147)
การเขียนแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ได้เสนอแนะไว้ว่า ควรให้เป็นระบบ ซึ่งเริ่มจากศึกษาหลักสูตร เอกสารที่เกี่ยวข้องสภาพแวดล้อม และตัวผู้เรียนจึงดำเนินการเขียนแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอน เมื่อเสร็จจากการนำแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอนแล้ว ควรสรุปผลการใช้และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาแผนการเรียนรู้ต่อไป ตามแผนการเรียนรู้เชิงระบบ ดังนี้ (รุจิร์ ภู่สาระ. 2545 : 147)
ได้เสนอแนะไว้ว่า ควรให้เป็นระบบ ซึ่งเริ่มจากศึกษาหลักสูตร เอกสารที่เกี่ยวข้องสภาพแวดล้อม และตัวผู้เรียนจึงดำเนินการเขียนแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอน เมื่อเสร็จจากการนำแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอนแล้ว ควรสรุปผลการใช้และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาแผนการเรียนรู้ต่อไป ตามแผนการเรียนรู้เชิงระบบ ดังนี้ (รุจิร์ ภู่สาระ. 2545 : 147)
ภาพที่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ
แนวทางการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ที่เขียนเสร็จแล้ว ผู้เขียนควรตรวจสอบย้อนกลับไปดูอีกครั้งว่าแผนที่เขียนขึ้นนั้นยังมีข้อใดที่ยังบกพร่อง ควรปรับปรุง โดยมีหลักการ ดังนี้ (สุวิทย์ มูลคำ และอรทัยมูลคำ. 2545 : 108-116)
1. จุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์ที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ
ความครอบคลุม หมายถึง ความครอบคลุมมวลพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ด้านความรู้
ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ เพราะทั้ง 3 ด้านเป็นองค์ประกอบเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษา อย่างไรก็ตามในแผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนหนึ่งๆ อาจไม่จำเป็นครบองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลา เนื้อหา และวัยของผู้เรียน
ความชัดเจน หมายถึง จุดประสงค์นั้นมีความเป็นพฤติกรรมมากพอที่จะตรวจ
สอบว่ามีการบรรลุแล้วหรือไม่ เช่น ถ้าเขียนเพื่อให้ “รู้” กับเพื่อให้ “ตอบได้” คำว่า “รู้”เป็น
ความคิดรวบยอดมากกว่าพฤติกรรม ถือว่าไม่ชัดเจน แต่คำว่า “ตอบ” มีลักษณะเป็นพฤติกรรมมากขึ้น
โดยผู้เรียนอาจจะพูดตอบ หรือ เขียนตอบก็ได้
ความเหมาะสม หมายถึง จุดประสงค์นั้นไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึง
เวลา เนื้อหา และวัยของผู้เรียน
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาในแผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนที่ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ ความถูกต้อง ความครอบคลุม และความชัดเจน ดังนี้
2.1 ความถูกต้อง หมายถึง เนื้อหาสาระตรงกับหลักวิชา โดยทั้งนี้อาจยึด
ตามคู่มือวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3
2.2 ความครอบคลุม หมายถึง ปริมาณเนื้อหาตามหัวข้อนั้นมีมากพอที่จะ
ก่อให้เกิดความคิดรวบยอดได้หรือไม่
2.3 ความชัดเจน หมายถึง การที่เนื้อหามีแบบแผนของการนำเสนอสาระที่ไม่
สับสนเข้าใจง่าย
3. กิจกรรมการเรียนการสอน (เน้นผู้เรียน)
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติน่าสนใจความเหมาะสมและความริเริ่ม ดังนี้
3.1 ความน่าสนใจ หมายถึง กิจกรรมที่นำมาใช้ชวนให้น่าติดตามไม่เบื่อหน่าย
3.2 ความเหมาะสม หมายถึง กิจกรรมที่นำมาใช้จะต้องทำให้เกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์ได้จริง
3.3 ความคิดริเริ่ม หมายถึง การที่นำเอากิจกรรมใหม่ๆ ที่ท้าทายมาสอดแทรก
ช่วยให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติของความน่าสนใจ ความประหยัดและ
การช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว ดังนี้
4.1 ความน่าสนใจ หมายถึง สื่อนั้นช่วยให้น่าติดตาม ไม่น่าเบื่อ ช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้ได้เร็ว หมายถึง สื่อนั้นจะต้องใช้ได้ผลในการทำให้ผู้เรียนรู้ได้จริง และตรงกับเนื้อหาที่ใช้เรียน
4.2 ความประหยัด หมายถึง สื่อที่ใช้นั้นราคาแพง อยู่ในระดับสถานศึกษา
รับผิดชอบได้
5. การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้ที่ดีควรมีคุณสมบัติของความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้ และความสามารถประยุกต์ได้ ดังนี้
5.1 ความเที่ยงตรงหมายถึง เครื่องมือ วิธีการที่ใช้ในการวัดผลของแต่ละแผนนั้นๆ
ต้องสอดคล้องและตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้นั้นๆ และรวมทั้งตรง
ตามเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน
5.2 ความเชื่อถือได้ หมายถึง เครื่องมือ วิธีการที่ใช้ในการวัดผลของแต่ละแผน
นั้นๆ ต้องสอดคล้อง และตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้นั้นๆ และรวมทั้งตรง
ตามเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน
5.3 ความสามารถประยุกต์ได้ หมายถึง การที่ประเมินที่ระบุไว้สามารถประเมิน
ได้จริงมิใช่แต่ระบุไว้เฉย ๆ
6. ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ของแผนการเรียนรู้ความสอดคล้องของแผนการเรียนรู้ ให้พิจารณาความสอดคล้องของเรื่องจุดประสงค์การเรียนการสอน เนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน ประเมินผลตลอดทั้งแผนนั้นๆ
เศวต ไชยโสภาพ ตัวอย่าง แผนการเรียนรู้ที่ 3
3. แผนการเรียนรู้แบบกึ่งตาราง ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่…..
เรื่อง……………………………………………...............…………………เวลา……………….คาบ
วิชา……………………………………...………..ชั้น…………..........………..ภาคเรียนที่…………
สอนวันที่……..เดือน………......……..พ.ศ………..ชื่อผู้สอน………………........………………….
สาระสำคัญ………………………............……………………………………………………………
เนื้อหา………………………………............…………………………………………………………
จุดประสงค์ปลายทาง…………………………………………………………………………............
กิจกรรมเสนอแนะ………………………………………………………………………………….......
………………………………………………………………………………….......………………….……………………………………………………………….......…………………………………….…………………………………………….......……………………………………………………….
รูปแบบของแผนการสอนทั้ง 3 แบบ ได้แก่ แบบไม่ใช้ตาราง แบบตาราง และแบบกึ่งตาราง สามารถยึดหยุ่นเรื่อง การแบ่งช่องและเรียกชื่อ ดังนี้
1. หัวเรื่อง
2. จำนวนคาบ / ชั่วโมงของแต่ละหัวข้อ
3. สาระสำคัญโดยสรุป
4. จุดประสงค์การเรียนรู้ (กระบวนการที่ใช้)
5. กิจกรรมการเรียนการสอน
6. การใช้สื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน
7. การวัดผลประเมินผล
- ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้คือ การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้าคล้ายกับบันทึกการสอนที่ฝึกทำในวิชาครู โดยมีวัตถุประสงค์ให้ครูผู้สอนได้ออกแบบและเตรียมการสอนล่วงหน้าให้เห็นรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละหัวข้อย่อยของเนื้อหาวิชาหรือสำหรับการสอนแต่ละครั้ง ซึ่งจะต่างจากเอกสารแนวการสอนตรงที่แผนการเรียนรู้มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเฉพาะเจาะจงว่า แบ่งย่อยตามเนื้อหาย่อยๆ หรือจุดประสงค์ย่อยๆ ได้มากกว่าลักษณะแสดงลักษณะการสอนที่จัดสรรแล้วให้ตรงกับสภาพแวดล้อม ปัญหาความต้องการและปัจจัยอำนวยความสะดวกของโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดเตรียมการสอน โครงการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามโครงสร้างของรูปแบบแผนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
เศวต ไชยโสภาพ ตัวอย่าง แผนการเรียนรู้ที่ 2
2. แผนการเรียนรู้แบบตาราง ตัวอย่าง เช่น
แผนการเรียนรู้ที่……
เรื่อง………………………………………………………….....…..……………..เวลา…………..คาบ
วิชา……………………………..........………..ชั้น………….......…………….ภาคเรียนที่…………..
สอนวันที่…………..เดือน………………………….พ.ศ…………ชื่อผู้สอน……….......…………….
กิจกรรมเสนอแนะ…………………………………………………………………………………..…
………………………………………………………………………………………………...…….…
………………………………………………………………………………………………...……….
………………………………………………………………………………………………...…….…
………………………………………………………………………………………………...……….
………………………………………………………………………………………………...…….…
ตัวอย่างบันทึกผลการสอน
บันทึกผลการสอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ............................1) นักเรียนได้อะไรจากการเรียนรู้ เรื่อง ..............
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
2) นักเรียนรู้สึกอย่างไร
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
3) ปัญหา / การแก้ปัญหา
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
4) ผลที่ได้รับจากการเรียนรู้
1) ผลการจัดการเรียนรู้ (ก่อนเรียน)
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
2) ผลการจัดการเรียนรู้ (หลังเรียน)
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
3) ผลงานนักเรียน
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................
4) ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ............................................................................................................................................
2. ............................................................................................................................................
3. ............................................................................................................................................
5) ผลที่เกิดกับครู
การจัดการเรียนการสอน
1. ............................................................................................................................................
2. ............................................................................................................................................
การนำไปประยุกต์ใช้
1. ............................................................................................................................................
2. ............................................................................................................................................
ลงชื่อ ครูผู้สอน
(................................................)
วันที่..........เดือน ................... พ.ศ. .............
ความคิดเห็นของผู้บริหาร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ………………………….…………………..
(………………………………………………..)
ตำแหน่ง………………………………………..
วันที่……..เดือน……………….พ.ศ…………
ความคิดเห็นของผู้หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาอังกฤษ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ………………………….…………………..
(………………………………………………..)
ตำแหน่ง………………………………………..
วันที่……..เดือน……………….พ.ศ…………
ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ………………………….…………………..
(………………………………………………..)
ตำแหน่ง………………………………………..
วันที่……..เดือน……………….พ.ศ…………
เศวต ไชยโสภาพ ตัวอย่าง แผนการเรียนรู้ที่ 1
เศวต ไชยโสภาพ (2545 : 42) ได้ศึกษาค้นคว้าการแบ่งรูปแบบของแผนการเรียนรู้ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. แบบบรรยาย เป็นแบบฟอร์มที่คณะกรรมการข้าราชการครู เสนอแนะไว้ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่ 1
1. สาระสำคัญ
…………………………………………………………………………………………………………
2. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 จุดประสงค์ปลายทาง
................………………………………………………………………………………………………
3.2 จุดประสงค์นำทาง (กระบวนการ
……………………………………………………………………….................………......................
………………………………………………………………………………………………………….
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วิธีการวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
6.2 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
6.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
7. กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)
…………………………………………………………………………………………………………
8. ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(ตรวจสอบ / นิเทศ / เสนอแนะ / รับรอง)
…………………………………………………………………………………….……………………
1. แบบบรรยาย เป็นแบบฟอร์มที่คณะกรรมการข้าราชการครู เสนอแนะไว้ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง………………………………………………………………….………………เวลา……….คาบ
วิชา………………………………………………..ชั้น……………...............ภาคเรียนที่…………….
สอนวันที่………….เดือน…………………พ.ศ………….ชื่อผู้สอน…………………………………
1. สาระสำคัญ…………………………………………………………………………………………………………
2. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 จุดประสงค์ปลายทาง
................………………………………………………………………………………………………
3.2 จุดประสงค์นำทาง (กระบวนการ
……………………………………………………………………….................………......................
………………………………………………………………………………………………………….
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วิธีการวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
6.2 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
6.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
7. กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)
…………………………………………………………………………………………………………
8. ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(ตรวจสอบ / นิเทศ / เสนอแนะ / รับรอง)
…………………………………………………………………………………….……………………
ลงชื่อ……………………………………………….
(…………………………...……………….)
ตำแหน่ง…………………………………………...
วันที่………เดือน…………..พ.ศ…….
ตัวอย่างรูปแบบแผนการเรียนรู้ สำลี รักสุทธี และคณะ
สำลี รักสุทธี และคณะ (2541 : 136 – 137) ได้เสนอรูปแบบแผนการเรียนรู้ดังตัวอย่าง
หน่วยการสอนที่……………………………………………………………………………….........
1. สาระสำคัญ
……………………………………………………………………………………………………...
2. จุดประสงค์
2.1 จุดประสงค์ปลายทาง
…………………………………………………………………………………………………….....
2.2 จุดประสงค์นำทาง
……………………………………………………………………………………………………......
3. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
4. กิจกรรม
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………...............
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………...............
6. การวัดผลและประเมินผล
……………………………………………………………………………………………………........
…………………………………………………………………………………………………………
7. กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม หรือภาคผนวก
……………………………………………………………………………………………………........
ตัวอย่างรูปแบบแผนการเรียนรู้
หน่วยการสอนที่……………………………………………………………………………….........
หน่วยย่อยที่……………………………………………………………………………………........
เรื่อง………………………………………………….....………เวลา…………………….คาบ
……………………………………………………………………………………………………...
2. จุดประสงค์
2.1 จุดประสงค์ปลายทาง
…………………………………………………………………………………………………….....
2.2 จุดประสงค์นำทาง
……………………………………………………………………………………………………......
3. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
4. กิจกรรม
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………...............
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………...............
6. การวัดผลและประเมินผล
……………………………………………………………………………………………………........
…………………………………………………………………………………………………………
7. กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม หรือภาคผนวก
……………………………………………………………………………………………………........
ลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้
ลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้
สมนึก ภัททิยธนี (2546 : 5) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน ดังนี้1. เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดยเขียนให้
สอดคล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)
2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่
จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบ
ยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะ
พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
4. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียน
เกิดการเรียนรู้
5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิด
ความเข้าใจในหลักการได้ง่าย
6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วง
ที่ทำการวัด (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้
ถ้าครูได้ทำแผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้น เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 134)1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตาม
จุดประสงค์ที่กำหนด
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การตีความหมายของหลักสูตร และการกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรที่จะต้องนำมาจัดการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียน ผลจากการวางแผนจะได้คู่มือที่ใช้เป็นแนวทาง เรียกว่ากำหนดการสอน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 2 – 7)
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว
ดำเนินการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
2. ศึกษาความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของหลักสูตร
3. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง โดย
พิจารณาขอบข่ายเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา
4. กำหนดผลที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดแต่ละ
เรื่องแล้ว
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคำอธิบาย
รายวิชา หรืออาจพิจารณาจากกิจกรรมที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ
6. กำหนดเวลาเรียนให้เหมาะสมกับขอบข่ายเนื้อหาสาระหรือความคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมที่กำหนดไว้
7. รวบรวมรายละเอียดตามกิจกรรมข้อ 1 – 6 จัดทำเป็นเอกสารที่เรียกว่ากำหนด
การสอนหรือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมแผนการสอนต่อไป
การเตรียมการสอนและการปฏิบัติการสอน
การเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้าง
เป็นแผนการสอนย่อยๆ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้
(สำลี รักสุทธี และคณะ.2541 : 7)
1. สาระสำคัญ2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. เนื้อหา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
5. สื่อการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียน
รายละเอียดแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ. 2541 : 136 – 137)1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่
ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่
ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
3. เนื้อหา (Content) เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม
การเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนด
ขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียน
การสอน แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
7. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอ
แนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
9. บันทึกการสอน เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้ว
เพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป มี 3 หัวข้อ คือ
9.1 ผลการเรียน เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง
3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน9.2 ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ในขณะสอน ก่อนสอน และหลังทำการสอน
9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อ
แก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด
รูปแบบของแผนการเรียนรู้
ความหมายของแผนการสอน
ความหมายของแผนการสอน
การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ต้องทำการสอน ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า หรือ คือการบันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง (กรมวิชาการ. 2545 : 3)
นิคม ชมภูหลง (2545 : 180) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภพ เลาหไพฑูรย์ (2540 : 357) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึงลำดับขั้นตอนและกิจกรรมทั้งหมดของผู้สอนและผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้เป็นแนวทางในการจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 1) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 133) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า หมายถึง การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งโดยกำหนดสาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อ ตลอดจนการวัดผลและการประเมินผล
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า (2545 : 69) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ว่าเป็นแผนงานหรือโครงการที่ครูผู้สอนได้เตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ปฏิบัติการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
กรมวิชาการ (2545 : 73) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ คือผลของการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยนำสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
คำอธิบายรายวิชา และกระบวนการเรียนรู้ โดยเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพ
ของผู้เรียน
สรุปว่า
แผนการสอนคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจนความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
สุพล วังสินธ์ (2536 : 5–6) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและ
ประเมินผล
4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน
5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำ
3.การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
3.การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสาระสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน(mode of delivery)จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้นในทางตัดตัดแล้วเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์(hardware)และส่วนที่เป็นวัสดุ(software)สำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมพื้นฐานการตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำได้ก่อน ทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมๆกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆไปแล้ว จะทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกันการบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของสื่อหรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีใหม่ประกอบด้วยการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน(computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน(telecommunication-based learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่งเทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน คือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
กฎที่1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง(two way medium)นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่2 สื่อทางเดียว(one-way medium) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดีทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่าเมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกประติบัตรควบคู่ไปด้วย หรือมีครูซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
กฎที่3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือผู้เรียนที่เช้า อาจจะต้องการสือเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม(remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎที่5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยินหรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่างผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องการทำการตัดไหมตามที่เห็นในวิดิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้เทียมเทียมหรือตัดใหม่จริงๆ
กฎที่6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทำหมันอาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ในขณะที่มีวิธีการตัดไหมอาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า(วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ )
ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจำเป็นในการพิจารณาเมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ
กฎที่4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหมจำเป็นต้องการเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนคืออะไร
สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาทั้งยังมีเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
คุณสมบัติของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรมของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้
3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
คุณค่าของสื่อการสอน
คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ
1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช้สื่อการสอน
1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงของผู้ออกแบบ จำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภทการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมพร้อมกันในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกที่สือที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird : 180 ) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง(highway) ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง(จุดประสงค์) และสื่อ(วัสดุฝึก) เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม(accessories) บนทางหลวงเช่น สัญญาณแผนที่ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
วิธีการเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมากเป็น วิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยและวิล (Joyce and Weil,1980) เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นแบบจำลองการสอน(model of teaching) แบบจำลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
2.ประเภทของสื่อ
2.ประเภทของสื่อ
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจำแนกสื่อได้ 4 ประเภท คือ สื่อทางหู(audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกัน(audio – visual) และสัมผัส(tactile)ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภท และตัวอย่างที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
1. สื่อทางหู
ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา
ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอ งสิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่
3. สื่อทางหูและทางตา
ได้แก่ เทปวิดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆเช่น ดิจิตอล วิดีโออินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
4.สื่อทางสัมผัส
ได้แก่วั ตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
สื่อการสอนมีหลายประเภท และมีการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2550: 71-72) จำแนกประเภทของสื่อได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. สื่อสิ่งพิมพ์
มีทั้งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง เช่น หนังสือเรียน คู่มือครู แผนการเรียนรู้ หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านเพิ่มเติม แบบฝึกกิจกรรม ใบงาน ใบความรู้ ฯลฯ และสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น วารสาร นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว โปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นภาพ เป็นต้น
2. สื่อบุคคล
หมายถึง ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้ แนวคิด และวิธีปฏิบัติตนไปสู่บุคคลอื่น นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในด้านการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน สื่อบุคคลอาจเป็นบุคลากรที่อยู่ในสถานศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คนทำอาหาร หรือตัวนักเรียนเอง หรืออาจเป็นบุคลากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
3. สื่อวัสดุ
เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1 วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้อยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง เป็นต้น
3.2 วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง ซีดีรอม แผ่นดิสก์ เป็นต้น
4. สื่ออุปกรณ์
หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดอกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
5. สื่อบริบท
เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ห้องสมุด หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรูปของสิ่งมีชีวิต เช่น พืชผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ หรืออยู่ในรูปของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นรอบตัว ตลอดจนข่าวสารด้านต่างๆ เป็นต้น
6. สื่อกิจกรรม
เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน ได้แก่ การแสดงละคร บทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน
1. สื่อสิ่งพิมพ์
มีทั้งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง เช่น หนังสือเรียน คู่มือครู แผนการเรียนรู้ หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านเพิ่มเติม แบบฝึกกิจกรรม ใบงาน ใบความรู้ ฯลฯ และสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น วารสาร นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว โปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นภาพ เป็นต้น
2. สื่อบุคคล
หมายถึง ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้ แนวคิด และวิธีปฏิบัติตนไปสู่บุคคลอื่น นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในด้านการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน สื่อบุคคลอาจเป็นบุคลากรที่อยู่ในสถานศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คนทำอาหาร หรือตัวนักเรียนเอง หรืออาจเป็นบุคลากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
3. สื่อวัสดุ
เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1 วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้อยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง เป็นต้น
3.2 วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง ซีดีรอม แผ่นดิสก์ เป็นต้น
4. สื่ออุปกรณ์
หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดอกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
5. สื่อบริบท
เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ห้องสมุด หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรูปของสิ่งมีชีวิต เช่น พืชผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ หรืออยู่ในรูปของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นรอบตัว ตลอดจนข่าวสารด้านต่างๆ เป็นต้น
6. สื่อกิจกรรม
เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน ได้แก่ การแสดงละคร บทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน
1.บทบาทของผู้ออกแบบ
1.บทบาทของผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจในระยะนี้ผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการ/สื่อเช่นเดียวกับตำรวจ ที่มองเห็นว่าคำแนะนำในการออกแบบการเรียนการสอนนำไปใช้ได้หรือเป็นเหมือนผู้จัดการผู้ซึ่งริเริ่ม และประเมินผลผลิตในบทนี้จะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็น การเลือกวิธีการ/สื่อที่มีประโยชน์ เราจะเลือกสืออย่างไรจะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไรและจะริเริ่มและเฝ้าระวังกระบวนการผลิตอย่างไรผู้ออกแบบต้องจำกัดบทบาทในการทำหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพ ต้องรับรู้การกระทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วยเป็นการท้าทายในการที่จะพยายามทำให้เข้าใจได้ โดยลำพังตนเองแล้วไม่สามารถที่จะได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทำคนเดียวความรับผิดชอบที่จำเป็น คือการตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อหรือในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นำทีมริเริ่มหรือแนะนำกระบวนการผลิตผู้ออกแบบจะทำสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทำหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัยผู้เขียนสคริปผู้ถ่ายภาพและผู้เรียบเรียงสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยผลิตหรือไม่เคยช่วยเรียบเรียงแต่หมายความว่ารับรู้หน้าที่ในการให้คำแนะนำและจำกัดทักษะตัวอย่างเช่นมีการพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมากขึ้นและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าทักษะด้านการถ่ายภาพ
5.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการจัดการในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ได้แก่Dewey,Piaget,Vigosky,และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งเน้นความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคนซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนสรุปความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านหรือการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ใหม่สร้างบนพื้นฐานของการที่เรียนรู้ที่ผ่านมา(Prior Under-Standing)ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม(social Interaction)ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ประเมินความเข้าใจของตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงสร้างเสริมให้การเรียนรู้ที่มีความหมาย(Meaningful Learning )การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้นยอมรับข้อมูลที่มีอยู่เดิมและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น
2 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษผู้เรียนมีบทบาทคอยรับ(Passive)สิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมายด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ
3. ทฤษฎี พุทธินิยม(Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาช้ายพูดเย็นต้องตื่นตัว(Active)ในการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมายส่วนผู้สอนถือเป็นกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย
4 ทฤษฎีมนุษยนิยม(Humanism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคมมีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อนในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้อารมณ์ความรู้สึกและทักษะไปพร้อมพร้อมกันซึ่งหมายความว่าครูควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ได้แก่Dewey,Piaget,Vigosky,และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งเน้นความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคนซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนสรุปความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านหรือการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ใหม่สร้างบนพื้นฐานของการที่เรียนรู้ที่ผ่านมา(Prior Under-Standing)ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม(social Interaction)ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ประเมินความเข้าใจของตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงสร้างเสริมให้การเรียนรู้ที่มีความหมาย(Meaningful Learning )การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้นยอมรับข้อมูลที่มีอยู่เดิมและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น
2 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษผู้เรียนมีบทบาทคอยรับ(Passive)สิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมายด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ
3. ทฤษฎี พุทธินิยม(Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาช้ายพูดเย็นต้องตื่นตัว(Active)ในการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมายส่วนผู้สอนถือเป็นกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย
4 ทฤษฎีมนุษยนิยม(Humanism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคมมีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อนในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้อารมณ์ความรู้สึกและทักษะไปพร้อมพร้อมกันซึ่งหมายความว่าครูควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ. 2545 มาตรา 24 กำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจนโดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญโรงเรียน
มีแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.
2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิดพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทำการวิจัยในชั้นเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างเพื่อนครูการทำงานโดยการผนึกกำลังของกลุ่มวิชาต่างๆเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศอู้ต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด
5. จัดให้มีระบบนิเวศภายในช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
บทบาทของครูผู้สอน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้อู้ต่อการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีและจริยธรรมให้ผู้เรียนมีความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของผู้เรียน
6. ช่วยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเองมีความเข้าใจตนเองยอมรับความรู้สึกของตนเองมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
7. ให้คำปรึกษาในด้านการเรียนการวางแผนชีวิตและแนะแนวทางการพัฒนาตนเองสู่อาชีพช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะรู้จักข้อดีข้อเสียของตนเอง
9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ
10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเองเข้าใจกระบวนการเรียนรู้และรู้จักวิธีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองประเมินตนเองและทบทวนการปฎิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนเพื่อนครูและบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ
2. ให้ความรักความอบอุ่น
3. ให้การอบรมเลี้ยงดูเอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดีพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันปัญหาต่างๆ
4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดาและปลุกจิตสำนึกในเรื่องวินัยในตนเองความรับผิดชอบความปลอดภัย
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน
6. ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและการเสริมแรง
7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน
8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุกๆด้าน
4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
บทบาทของผู้เรียน
1. กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเอง
2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้การวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้ปกครองและครู
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการเรียนรู้ของตนเอง
4. ถ้าหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ปฎิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้มั้ยทีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7.ศรัทธาต่อผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
การสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
เป็ นการฝึ กให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้ จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน
การฟังคําบรรยาย แล้วนําข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็ นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้าง ความคิด
กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด โดยใช้รูปภาพ หรือแผนภาพ
1. แผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็นการแสดงโครงสร้างของความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด
ตั้งแต่ต้นจนจบ ช่วยให้มองเห็น ภาพรวมของความคิดและเค้าโครงของความคิดในเรื่องที่กาลังคิด
ทําให้มองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดทําได้โดยเขียนความคิดหลักไว้ตรงกลางและโยงเส้นให้สัมพันธ์กับความคิดรองความคิดย้อย
และความคิดที่แยกย่อยที่มี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันก็ขยายได้ต่อไปอีก
ไม่มีทิศทางที่กำหนดแน่นอนตายตัว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้(Tree Structure)
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่งกันเป็นลำดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ
รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้านหรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้นหัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดอื่นๆที่มีความสำคัญรองรองลงไปตามลำดับ
แผนผังรูปแบบเวนน์ ( Venn Diagram)
เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งของหรือแนวคิดตั้
งแต่2 สิ่งขึ้นไปว่าส่วนใดลักษณะใดที่ มีความเหมือนหรือความต่างกัน
เป็นการคิดแบบหาตัวร่วมในสิ่งที่เหมือนกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักจําแนกความ เหมือนและความต่างของสิ่งของ
สถานที่ และบุคคล หรืออื่นๆได้ดี โดยการเขียนเป็นแผนภาพแสดง ความสัมพันธ์
ดังตัวอย่างนี้
แผนผังความคิดแบบวงจร (The Circle)
เป็นการคิดแบบเป็นวงจรหรือวงกลม
โดยในวงกลมจะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบเพื่อเสนอขั้นตอนต่างๆที่สัมพันธ์เรียงลําดับเป็นวงกลม
ตัวอยางเช่น
แผนผังก้างปลา (The Fish Bone)
เป็นการคิดหาสาเหตุของปัญหา
เช่น แดงหนีเรียน เพราะสาเหตุใด เป็นต้นการเขียนแผนผังทําได้ โดยกำหนดเรื่องแล้ว
หาสาเหตุและผลต่างๆในแต่ละด้าน
ตัวอย่างเช่น
แผนผังแบบลำดับขั้นตอน(sequence chart)
แผนผังบบลำดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับขั้นตอน
เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โมเดลการทำความเข้าใจ
สรุป จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...
-
การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 5E และ 7 E 1. การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 5 E 1.1 ความหมาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศา...
-
อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อม...
-
ผังก้างปลา ( A fish borne Map ) เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทําให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุ ย่อยที่ชัดเจน