วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

แบบทดสอบที่ 1


1.การออกแบบการเรียนการสอน เพิ่งจะนำมาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ ใด
ก. 1981
ข. 1982
ค. 1980
ง. 1983
2. การปฏิบัตการศึกษาในศตวรรษแรกในปี พ.ศ ใด
ก. พ.ศ 2535-2540
ข. พ.ศ 2540-2550
ค. พ.ศ 2530-2540
ง. พ.ศ 2540-2550 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
3.การออกแบบ หมายถึง
ก. การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
ข. การแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายเจาะจงไม่ใช่การแก้ปัญหาทั่วไป
ค. เป็นกระบวนการที่ดำเนินการพัฒนา หรือจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ง. ถูกทุกข้อ
4. การปฏิบัติในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน มีกี่ขั้น
ก. 2 ขั้น
ข. 3 ขั้น
ค. 4 ขั้น
ง. 5 ขั้น
5. การออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบแอดดี ด้วยกิจกรรมในการดำเนินงาน 5 กิจกรรมได้แก่
ก. การวิเคราะห์,การออกแบบ,การพัฒนา,การนำไปใช้,และการประเมินผล
ข. การพัฒนา,การพิจารณา,การปฏิบัติ,การกระทำ,การฝึก
ค. การออกแบบ,การคิด,การนำไปใช้,การค้นหา,การกระทำ
ง. การนำไปใช้,การพิจารณา,การออกแบบ,การวิเคราะห์,การพัฒนา

บทสรุป


 การออกแบบโดยทั่วไป หมายถึงการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เฉพาะเจาะจง เป็นกระบวนการที่ด าเนินการก่อนการพัฒนาหรือการสร้างบางสิ่งบางอย่าง การออกแบบการเรียนการสอนแตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนโดยทั่วไปตรงที่การออกแบบการเรียนการสอน มุ่งแก้ปัญหาที่ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
 การออกแบบการเรียนการสอนคือ การวางแผนในการจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอน ให้มีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบโดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ที่ยึดถือเพื่อใช้เป็น แนวทางในการจัดเนื้อหา สื่อวัสดุ กิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่ต้องการอย่าง มีประสิทธิผล กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเป็นการดำเนินการที่น าวิธีเชิงระบบ (system approach) มาใช้ในการวางแผน  หลักการของการออกแบบการเรียนการสอน คือ
1) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยเหลือกระบวนการเรียนรู้มากกว่ากระบวนการสอน
2) ค านึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้         
3) ประยุกต์หลักการเรียนการสอนมาใช้ในการออกแบบ
4) ใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย
5) มีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
 6) มีการประเมินทั้งกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผล ผู้เรียน
 7) องค์ประกอบการเรียนการสอนทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 
การออกแบบการเรียนการสอนอาศัยรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งกำหนดขั้นตอน และกระบวนการท างานอย่างเป็นระบบมาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน รูปแบบการออกแบบการเรียน การสอนที่นิยม ได้แก่ รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบสามัญ รูปแบบแอดดี (ADDIE) และ รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนของดิคและแครี ในต าราฉบับนี้ได้น ารูปแบบการออกแบบการเรียน การสอนแบบสามัญและรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนของดิคและแครีมาผสมผสานกัน      เป็นกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์การเรียนการสอน   
ขั้นที่ 2 การออกแบบการเรียนการสอน 
 ขั้นที่ 3 การประเมินการเรียนการสอน  

นักทฤษฎีพัฒนาการ





ทฤษฎีพัฒนาการของซิกมันด์ ฟรอยด์

ซิกมันด์ ฟรอยด์



แนวคิดที่สำคัญของทฤษฎี
แนวคิดที่สำคัญคือ ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับ แรงขับทางสัญชาตญาณ(Instinctual drive) และแรงขับดังกล่าวเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลง และเคลื่อนที่ได้ จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลง และไม่หยุดนิ่ง (Psycho-Dynamic) สัญชาตญาณดังกล่าว ได้แก่ สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (Eros or Life) เป็นสัญชาตญาณที่แสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึง ความต้องการทางเพศ ตามความเรียกร้องทางด้านสรีระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัญชาตญาณ ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และเป็นสัญชาตญาณ ที่แสดงให้เห็นถึงความปรารถนา และความต้องการ ที่จะได้รับความพึงพอใจ ในรูปแบบต่างๆ และสัญชาตญาณในการป้องกันตนเอง อันเป็นสัญชาตญาณที่ทำให้มนุษย์แสวงหาความพึงพอใจให้แก่ตนเอง และสัญชาตญาณแห่งความตาย (Thanatos or Death instinct) ที่แสดงออกมาในรูปของสัญชาตญาณในการทำลายหรือความก้าวร้าว ( Destructive instinct or aggressive instinct ) ฟรอยด์มองธรรมชาติในแง่ลบ (Pessimism) กล่าวคือ มนุษย์ไม่มีเหตุผล (Irrational) ไม่มีการขัดเกลา (Unsocialized) โดยมุ่งที่จะตอบสนอง และแสวงหาความพึงพอใจให้กับตนเองเป็นสำคัญ (Self-gratification) นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายว่าสัญชาตญาณจะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลังลิบิโด (Libido)เป็นพลังที่ทำให้มนุษย์ มีความปรารถนา และความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ เปลี่ยนรูป และสามารถจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามระยะเวลาของพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง และยังสามารถเคลื่อนที่ไปยังวัตถุ หรือบุคคลนอกตัวเราได้ เช่น หากพลังลิบิโด เคลื่อนไปอยู่ที่แม่ ก็จะทำให้เด็กเกิดความรัก และความหวงแหนแม่ เป็นต้น
การทำงานของจิตแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 

1. จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind ) เป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะพฤติกรรมบางอย่างที่บุคคลแสดงออกไปโดยไม่รู้ตัว ที่เกิดมาจากพลังของจิตไร้สำนึกซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตามหลักแห่งความพึงพอใจของตน และการทำงานของจิตไร้สำนึก เกิดจากความปรารถนา หรือความต้องการของบุคคลที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น การถูกห้าม หรือถูกลงโทษ จะถูกเก็บกดไว้ในจิตส่วนนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการปรับตัว เมื่อเกิดความขัดแย้งทางจิตที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การพูดพลั้งปาก ความฝัน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่เก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกอาจมีอิทธิพลต่อการทำงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ปฏิบัติหน้าที่ไปตามแรงกระตุ้น เช่น เด็กที่เก็บกดความรู้สึกมุ่งร้ายในเรื่องเพศในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นก็อาจหมดความรู้สึกทางเพศได้ ส่วนจิตไร้สำนึก อาจเปรียบเสมือนก้อนน้ำแข็ง ส่วนใหญ่ที่อยู่ใต้ผิวน้ำ โดยมีจิตสำนึก (Conscious Mind) เป็นส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ ที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย

2. จิตสำนึก ( Conscious Mind ) ซึ่งเป็นสภาวะที่บุคคลรับรู้ตามประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่บุคคลจะมีการรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ คิดอย่างไรเป็น การรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์ ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว (Awareness) และเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยมีเจตนา และมีจุดมุ่งหมายจิตสำนึกเป็นส่วนที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมสอดคล้องกับหลักความเป็นจริงในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยหลักแห่งเหตุผล และศีลธรรมที่ตนเองเชื่อถือเพื่อเป็นแนวทางในการแสดงพฤติกรรม

3. จิตก่อนสำนึก ( Preconscious Mind) เป็นส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้แต่มีลักษณะเลือนๆ เมื่อถูกสภาวะ หรือสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม หรือเมื่อบุคคลต้องการ นำกลับมาใช้ใหม่ ก็สามารถระลึกได้ และสามารถนำกลับมาใช้ในระดับจิตสำนึกได้ และเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิตรู้สำนึกมากกว่าจิตไร้สำนึก
จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง 3 ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ (Primary Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ ( Instinctual Drives ) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเอง ไปยังบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อม พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึก และจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็น กระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process)

โครงสร้างของบุคลิกภาพ 

(Structure of Personality)

ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1. อิด ( Id ) 
จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ ( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) ที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมตามความเป็นจริง จะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นปฐมภูมิ (Primary Process of Thinking) เช่น เด็กหิวก็จะร้องไห้ทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของเขา และส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก

2. อีโก้ ( Ego ) 
จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่

3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)
 นั้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา และอุดมคติที่พ่อแม่สอนเข้ามาไว้ในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เด็กมีอายุประมาณ 3 – 5 ขวบ (ระยะ Oedipus Complex) และเด็กจะพัฒนาความรู้สึกเหล่านี้ไปตามวัย โดยมีสภาพแวดล้อมทางบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญการทำงานของ Superego จะขึ้นอยู่กับหลักแห่งจริยธรรม (Moral Principle) ที่ห้ามควบคุม และจัดการไม่ให้ Id ได้รับการตอบสนองโดยไม่คำนึงถึง ความผิดชอบชั่วดี โดยมี Ego เป็นตัวกลางที่ประสานการทำงานของแรงผลักดันจาก Id และ Superego
โดยทั่วไปแล้ว Superego จะเป็นเรื่องของการมีมโนธรรม (Conscience) ที่พัฒนามาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ หรือผู้อบรมเลี้ยงดู ซึ่งเป็นค่านิยมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ส่วนนี้จะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกผิด (Guilt Feeling) ที่จะติดตามรบกวนจิตใจของบุคคลเมื่อกระทำสิ่งใดที่ขัดต่อมโนธรรมของตนเอง และส่วนที่ เรียกว่าอุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) ที่พัฒนามาจากการเอาแบบอย่าง (Identification) จากบุคคลที่เคารพรักเช่น พ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยงดู และคนใกล้ชิด ทำให้เด็กรับรู้ว่าทำสิ่งใด ควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้รับการยอมรับ และความชื่นชมยกย่องซึ่งทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เมื่อได้ทำตามอุดมคติของตนบางส่วนของ Superego จะอยู่ในระดับจิตสำนึก และบางส่วนจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก

พัฒนาการทางบุคลิกภาพ

ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยัง ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ขึ้นที่ส่วนนั้น วิธีการที่จะขจัดความตึงเครียด ได้ก็โดยการเร้าหรือกระตุ้นส่วนนั้นอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจ (Gratification) บริเวณที่พลัง Libido เคลื่อนไปอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือวัยต่างๆ ของบุคคล จะทำให้เกิดการพัฒนาการไปตาม ขั้นตอนของวัยนั้นๆ

ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพ

ออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่

1. ขั้นปาก (Oral Stage) 
เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุข และความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้ ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่จะทำให้เด็ก เกิดความไว้วางใจ และความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง และสภาพแวดล้อม เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มพัฒนาความรักตัวเอง (Narcissism) แต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้ เพราะหิวเป็นเวลานานๆ ไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา และไม่ได้รับการสัมผัสที่อบอุ่นหรือการแสดงความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ และผู้ใกล้ชิด จะทำให้เด็กพัฒนาความไม่ไว้วางใจ (Distrust) มีความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง และเกลียดชังสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดการยึดติด (Fixatio) ของพัฒนาการในขั้นปาก พลัง Libido บางส่วนไม่ได้รับการเร้าอย่างเหมาะสม จะทำให้การยึดติดอยู่บริเวณปาก และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ตามความเหมาะสมของการพัฒนาการในขั้นต่อไป ก่อให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในขั้นปาก และเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยรุ่นบุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพที่ยึดติดในขั้นปากออกมาในรูปของพฤติกรรมต่างๆ เช่น การติดสุรา ติดบุหรี่ ยาเสพติด ชอบขบเคี้ยวไม่หยุดปาก ชอบกินของคบเคี้ยวกรอบๆ กินอาหารแปลกๆ เช่น กินกุ้งเต้น หรือ ชอบพูดจาเยาะเย้ยถากถาง ก้าวร้าว บ้าอำนาจ พูดจาใส่ร้ายป้ายสีได้โดยขาดความละอาย และชอบทำตัวให้เป็นจุดเด่นในสังคมโดย วิธีการใช้ปากหรือเสียงดังๆ เป็นต้น

2. ขั้นทวาร (Anal Stage) 
เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจ เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวาร ในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับ ความสามารถใน การควบคุมอวัยวะ ของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย (Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับเวลา และสถานที่โดยไม่บังคับ หรือเข้มงวด และวางระเบียบมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้น เด็กจะเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจในความมีอิสระ และความสามารถในการบังคับอวัยวะของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่จะปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามความพึงพอใจของเด็กโดยไม่สนใจให้การดูแล และฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้การขับถ่ายที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กติดตรึงอยู่กับความต้องการของตนเอง ไม่พัฒนาการยอมรับจากผู้อื่น จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยา กฎเกณฑ์ และเจตคติของพ่อแม่ในการฝึกหัดการขับถ่ายของเด็ก จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสม ในขั้นทวารเพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดีโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่ายของเด็กจึงมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวาร เพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับ การฝึกการขับถ่าย จะทำให้เด็กพัฒนาอารมณ์ที่มั่นคง เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยนแต่ถ้าเด็กเกิด การติดตรึงในขั้นตอนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการถ่ายอุจจาระมากเกินไป เมื่อโตขึ้นก็จะเป็นคนสุรุ่นสุร่าย แต่ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมขับถ่าย ก็จะเป็นคนขี้เหนียว ตระหนี่ หรือถ้าเด็กรู้สึกโกรธหรือเกลียด พ่อแม่ที่เข้มงวดในเรื่องขับถ่ายก็จะทำให้เด็กมีนิสัยดื้อรั้น ก็จะกลายเป็นเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก หรือถ้าพ่อแม่ที่เน้นการขับถ่ายตรงเวลา ไม่รู้จักยืดหยุ่นก็จะกลายเป็นคนเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น แต่ถ้ายึดติดในขั้นนี้เป็นไปอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดเด็กมีบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น ชอบทำร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด (Sadism) หรือการร่วมเพศด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น

3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) 
เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิด ความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บางส่วนจะเคลื่อนที่ออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อแม่ ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับเด็ก ทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็นปรปักษ์กับพ่อในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่ และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉา และเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิปุส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็กหญิง
ในขั้นนี้ นอกจากจะเกิด Oedipus Complex แล้วเด็กชายจะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าจะถูกตัดอวัยวะเพศ (Castration Anxiety) เพราะเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างทางร่างกายของเพศชาย และเพศหญิง ทำให้เด็กชายเกิด จินตนการว่าเด็กหญิงก็มีองคชาต (Penis) แต่ถูกตัดไป จึงเกิดความกังวลไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตนเอง ทำให้เริ่มเรียนรู้อำนาจของพ่อที่มีเหนือเขา ความรู้สึกเกลียดชัง และเป็น ปรปักษ์กับพ่อ เพราะต้องการแย่งชิงความรักจากแม่ค่อยๆ หมดไป หันมาเป็นมิตร และเลียนแบบ (Identification) พ่อจึงเอา (Introject) บทบาททางเพศชายของพ่อมาไว้ในตนเอง ทำให้ปรากฏการณ์ของ Oedipus Complex หายไป และเด็กจะเลียนแบบบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง
ในระยะนี้ Superego ของเด็กจะเริ่มพัฒนาจากการรับเอาค่านิยม คุณธรรม และบรรทัดฐานทางสังคมของพ่อแม่มาไว้ในตัว ในขณะที่เด็กหญิง นอกจากจะเกิด Electra Complex แล้ว เด็กหญิงจะเกิดความอิจฉาของ องคชาต (Penis Envy) ในเด็กชาย และรู้สึกต่ำต้อยที่ตนเองไม่มีองคชาตเหมือนเด็กชาย เมื่อเกิดปรากฏการณ์ Electra Complex แล้วเด็กหญิงจะรักใคร่ และหวงแหนพ่อในที่เกลียดชัง และรู้สึกว่าเป็นคู่แข่งกับแม่ และเห็นว่าพ่อไม่สามารถให้องคชาตแก่ตนได้ จึงเกิดความรู้สึกว่าแม่เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตนเอง และแม่ไม่มีองคชาตเช่นกัน ทำให้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกับแม่หันมาเลียนแบบแม่ ทำให้ปมอีเลคตร้าหมดไป ในขณะที่ส่วนของ Superego เริ่มพัฒนาขึ้น
ในขั้นนี้ ถ้าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดี จะทำให้เด็กแสดงบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเองเมื่อโตขึ้น และมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ แต่ถ้าพัฒนาการเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมแล้วจะเกิดการติดตรึงทำให้บุคลิกภาพผิดปกติไป เช่น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว(Impotence)ในเพศชาย และมีความรู้สึกเย็นชาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Frigidity) ในเพศหญิง การรักร่วมเพศ (Homosexuality) หรือชอบอวดอวัยวะเพศ (Exhibitionism) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการพัฒนาบุคลิกภาพ พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูจะมีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยให้บทบาททางเพศของเด็กเป็นไปด้วยดี พ่อแม่จึงไม่ควรตำหนิหรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เมื่อเด็กจับต้องอวัยวะเพศของตน ในขณะเดียวกันเด็กควรได้รับชี้แจง และการสั่งสอนเรื่องเพศ ตามความเหมาะสมกับการอยากรู้อยากเห็นของเขา และพ่อแม่ควรทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงบทบาททางเพศ ให้ความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่แก่เด็ก มีเวลาใกล้ชิดกับเด็ก ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ถึงสัมพันธภาพที่ดีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพศเดียวกัน และต่างเพศ การให้ข้อมูลทางเพศควรใช้เหตุผล และค่านิยมของสังคมที่เหมาะสมในการอธิบายเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีในเรื่องเพศแก่เด็ก ทำให้เด็กยอมรับความรู้สึกของตนเอง และสามารถแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมาได้เหมาะสม กับบทบาททางเพศ ตามบรรทัดฐานของสังคมต่อไป

4. ขั้นแฝง (Latency Stage) 
เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสมในขั้นนี้เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน

5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage)
 เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายทั้งหญิง และชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายตน มีความสามารถในการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตาม สัญชาตญาณทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้รับความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่ทางจิตใจจากพ่อแม่ เมื่อบุคคลมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์แล้ว จะเกิดความพึงพอใจทางด้านเพศ มีการแสวงความสุขทางเพศระหว่างชายหญิง บุคคลที่มีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างปกติ ไม่มีการติดตรึง ก็จะสามารถมีชีวิตทางสังคม ที่ถูกต้องเหมาะสมคือมีครอบครัว และสามารถแสดงบทบาททางเพศ และบทบาทของพ่อแม่ได้อย่างเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพตามความเชื่อของ ฟรอยด์ จะมีความสัมพันธ์กับพลังลิบิโด (Libido) กับลักษณะทางชีวภาพของบุคคล ที่จะนำไปสู่สภาวะทางสุขภาพจิต หากการพัฒนาการแต่ละขั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม ก็จะทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นเกิดการติดตรึง จะมีผลทำให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในรูปแบบต่าง เช่น โรคจิตหรือโรคประสาทที่ถือว่า มีความแปรปรวนในทางบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงห้าปีแรกของชีวิตจะเป็นช่วงการสร้างพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคล ประสบการณ์ที่รุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็กไปตลอดชีวิต ซึ่งพ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในการจัดบรรยากาศของการเลี้ยงดูลูกๆ ให้เหมาะสมที่จะสร้างพื้นฐาน ทางบุคลิกภาพที่มั่นคง และเหมาะสมเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์อย่างเต็มที่

ทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสัน


ทฤษฎีพัฒนาการของ อิริคสัน (ERIKSON)



อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่

เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุยวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์ มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน


พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน



1. ความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ (Trust VS. Mistrust) 

(ในช่วง0 -1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย น่าอยู่และไว้วางใจได้ แต่ถ้าตรงกับข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยอันตรายไม่มีความปลอดภัย มีแต่ความหวาดระแวง


2.ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ(AutonomyVS. Doubt)(ในช่วง2 – 3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดู ควรให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจ รู้จักอิสระที่จะควบคุมตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่ไม่ให้โอกาสหรือทำแทนเด็กทุกอย่าง เด็กจะเกิดความคลางแคลงใจในความสามารถของตนเอง

3. ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) 
(ในช่วง4 – 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแง่คิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะเป็นการส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปเด็กก็จะมีความคิดริเริ่ม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใหญ่คอยเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้เด็ก ตำหนิอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะรู้สึกผิดเมื่อคิดจะทำสิ่งใดๆ นอกจากนี้เขาก็จะเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศมาตรฐานทางศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์

4. ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย (Industry VS. Inferiority)(ในช่วง6 – 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น มีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็ง โดยพยายามคิดทำ คิดผลิตสิ่งต่างๆ ให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ ถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ มีความมานะพยายามมากขึ้น แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กไม่ได้รับความสนใจหรือผู้ใหญ่แสดงออกมาให้เขาเห็นว่าเป็นการกระทำที่น่ารำคาญเขาก็จะรู้สึกต่ำต้อย

5. ความเป็นเอกลักลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity VS. Role Confusion) 
(ในช่วง12 – 17 ปี) เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใคร ถ้าเขาค้นหาตนเองได้ เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าตรงกันข้ามเขาค้นหาเอกลักษณ์ของตนไม่พบเขาจะเกิดความสับสนและแสดงบทบาทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับตนเอง

6. ความผูกพันกับการแยกตัว(Intimacy VS. Isolation) 
(ในช่วง18- 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรัก ความผูกพัน เมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจ สามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ ตลอดถึงแสดงความยินดี และเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้าพัฒนาการในช่วงนี้ล้มเหลวไม่สามารถสร้างความรู้สึกเช่นนี้ได้ เขาก็จะขาดเพื่อนสนิท หรือเกิดความรู้สึกต้องการจะชิงดีชิงเด่น ชอบทะเลาะกับผู้อื่น รู้สึกว้าเหว่เหมือนถูกทอดทิ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การแยกตัวเอง และดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยว

7. การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity VS. Self Absorption) 
(ในช่วง35 – 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคน ซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้สังคมได้เต็มที่ ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดี มีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุข มีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าตรงกันข้ามก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอย เบื่อหน่ายชีวิต คิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม

8. บูรณาการกับความสิ้นหวัง (Integrity VS. Despair)
 (ในช่วง60 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวัยสุดท้าย ถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาด้วยดี ก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จ มีปรัชญาชีวิตตนเอง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างให้แก่ลูกหลาน แต่ถ้าตรงกันข้ามกันชีวิตมีแต่ความล้มเหลว ก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต เสียดายเวลาที่ผ่านมาไม่พอกับชีวิตในอดีตไม่ยอมรับสภาพตนเอง เกิดความคับข้องใจต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขาดความสงบสุขในชีวิต
สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไรได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้และผู้อื่นสามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามโดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่าเพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัวดูแลผู้ที่อ่อนเยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือคนรุ่นหลังต่อไป และเมื่ออยู่ในวัยชราก็จะมีความสุข เพราะว่าได้ทำประโยชน์และหน้าที่มาอย่างเต็มที่แล้ว อีริคสสันถือว่าชีวิตของคนเรา แต่ละวัยจะมีปัญหา บางคนก็สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และดำเนินชีวิตไปตามขั้น แต่บางคนก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ อาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาช่วยเพื่อแก้ปัญหา แต่บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข

ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส ( Havighurst’s Theory of Development task )
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส  (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่างานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า   งานพัฒนาการ ” หมายถึง  งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต  สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย  มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการ  ฮาวิกเฮิร์ส  ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว  สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย  
ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี  3  อย่าง  
1.  วุฒิภาวะทางร่างกาย
  2.  ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  3.  ค่านิยม  แรงจูงใจ  ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
        3.1  ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  (Natural  Readiness  Approach                               
กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า  ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น การเร่ง เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
                    3.2  ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น  (Guided  Experience  Approach)
              กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ  (Critical  Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก
4.  สิ่งแวดล้อม  ได้แก่  สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น
การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ
1.  พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนใน     แต่ละวัน
2.  พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3.  พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ  (Psychosexual  Development)  ของฟรอยด์ (Freud)
3.2  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial  Development)  ของอีริคสัน (Erikson)
4.  พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral  Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)
 พัฒนาการตามวัยตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) 
ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.  วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ  ดังนี้              
  - การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
               - การเรียนรู้ทางด้านการรับประทานอาหาร
               - การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด
                - การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
                - เริ่มมีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคม และทางกายภาพ
                - เริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิด-ถูก และเริ่มพัฒนาทางจริยธรรม
2.  วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้              
  - พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
                - เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
                  - พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
                - พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ค่านิยม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. วัยรุ่น (12-18 ปี) พัฒนาการที่สำคัญของบุคคลในวัยนี้ คือ               
 - พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
                - สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
                - พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์
  4.  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น  (18-35 ปี)  ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้              
- เริ่มต้นประกอบอาชีพ- เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง                
- เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน
5. วัยกลางคน (35-60 ปี) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ             
  - มีความรับผิดชอบต่อสังคม
               - มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
               - รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
               - สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้
6. วัยชรา  (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)  งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ               
 - สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
               - สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน
               - สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง

พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg)

พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (KOHLBERG)


โคลเบิร์ก (Lawrence  Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป วิธีการวิจัย จะสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรมที่ผู้ตอบยากที่จะตัดสินใจได้ว่า “ถูก” “ผิด” “ควรทำ” “ไม่ควรทำ” อย่างเด็ดขาด  เพราะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง  การตอบจะขึ้นกับวัยของผู้ตอบเกี่ยวกับความเห็นใจในบทบาทของผู้แสดงพฤติกรรมในเรื่องค่านิยม  ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึดถือ 
            โคลเบิร์ก  ให้คำจำกัดความของจริยธรรมว่า จริยธรรมเป็นความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความถูกผิด และเกิดขึ้นจากขบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา  
           โคลเบิร์ก เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลจากการพัฒนาการของโครงสร้างทางความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม  นอกจากนั้น โคลเบิร์ก  ยังพบว่า  ส่วนมากการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กจะไม่ถึงขั้นสูงสุดในอายุ 10 ปี แต่จะมีการพัฒนาขึ้นอีกหลายขั้นจากอายุ 11-25 ปี  การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล  การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ  แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา 
            โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่างๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้

            ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม 
(Pre - Conventional Level) ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ “ดี  “ไม่ดี” จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดามารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลตามที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษ
            พฤติกรรม ดี”  คือ  พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
            พฤติกรรม ไม่ดี”  คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
โดยบุคคลจะตอบสนองต่อกฎเกณฑ์ซึ่งผู้มีอำนาจทางกายเหนือตนเองกำหนดขึ้น  จะตัดสินใจเลือกแสดงพฤติกรรมที่เป็นหลักต่อตนเอง  โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น  จะพบในเด็ก 2-10 ปี  โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
 (Punishment and Obedience Orientation)  เด็กจะยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูกลงโทษ เพราะกลัวความเจ็บปวด  ยอมทำตามผู้ใหญ่เพราะมีอำนาจทางกายเหนือตน
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า  พฤติกรรมของตน ถูก” หรือ “ผิด” เป็นต้นว่า  ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ  “ผิด  และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก  พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก”  และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล

            ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน 
 (Instrumental Relativist Orientation) ใช้หลักการแสวงหารางวัลและการแลกเปลี่ยน  บุคคลจะเลือกทำตามความพอใจตนของตนเอง  โดยให้ความสำคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน  ทั้งรางวัลที่เป็นวัตถุหรือการตอบแทนทางกาย วาจา และใจ  โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องของสังคม ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการผลประโยชน์สิ่งตอบแทน  รางวัล และสิ่งแลกเปลี่ยน  เป็นสิ่งตอบแทน
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ  เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น  พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง  แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน  ฉันจะให้.......

            ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม 
(Conventional Level)  พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้  ผู้ทำถือว่าการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น  ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง  ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีเป็นสิ่งสำคัญ  ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรม
           โดยบุคคลจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่ตนเองอยู่  ตามความคาดหวังของครอบครัวและสังคม  โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นหรือภายหลังก็ตาม  จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น  จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
  ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ เด็กดี 
(Interpersonal  Concordance of “Good boy , nice girl” Orientation) บุคคลจะใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ  ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ  และยกย่องชมเชย ทำให้บุคคลไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง  ชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ คนดี” ตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดา มารดาหรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม “ดี” หมายถึง  พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ  หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ

            ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ 
(“Law-and-order” Orientation) จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด  เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13 -16 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม  โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น  จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า  เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบเรียบร้อยต้องมีกฎหมายและข้อบังคับ  คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้องคือ  คนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย  ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม

            ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม  (Post - Conventional Level)  พัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้  เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ  ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม  การตัดสินใจ   “ถูก  “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง  ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย  ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม  และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก  ทำให้บุคคลตัดสินข้อขัดแย้งของตนเองโดยใช้ความคิดไตร่ตรองอาศัยค่านิยมที่ตนเชื่อและยึดถือเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ  จะปฏิบัติตามสิ่งที่สำคัญมากกว่าโดยมีกฎเกณฑ์ของตนเอง  ซึ่งพัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของสังคม  เป็นจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป  โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา (Social Contract Orientation)  บุคคลจะมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก  ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  สามารถควบคุมตนเองได้  เคารพการตัดสินใจที่จะกระทำด้วยตนเอง  ไม่ถูกควบคุมจากบุคคลอื่น  มีพฤติกรรมที่ถูกต้องตามค่านิยมของตนและมาตรฐานของสังคม  ถือว่ากฎเกณฑ์ต่างๆเปลี่ยนแปลงได้  โดยพิจารณาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก  พบได้ในวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่  ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามมาตรฐานของสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยบุคคลเห็นความสำคัญของคนหมู่มากจึงไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีได้ของผู้อื่น  สามารถควบคุมบังคับใจตนเองได้  พฤติกรรมที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัว  ผสมผสานกับมาตรฐานซึ่งได้รับการตรวจสอบและยอมรับจากสังคม  
             โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม  โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม  ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูก” และ  “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล  แม้ว่าจะเห็นความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล  แต่เปิดให้มีการแก้ไข  โดยคำนึงถึงประโยชน์และสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น

            ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล  (Universal Ethical Principle Orientation) เป็นขั้นที่เลือกตัดสินใจที่จะกระทำโดยยอมรับความคิดที่เป็นสากลของผู้เจริญแล้ว  ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหลักการคุณธรรมสากล โดยคำนึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์  มีอุดมคติและคุณธรรมประจำใจ  มีความยืดหยุ่นและยึดหลักจริยธรรมของตนอย่างมีสติ  ด้วยความยุติธรรม และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน  เคารพในความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคล  ละอายและเกรงกลัวต่อบาป  พบในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา
           โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล  เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม  เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน  ในขั้นนี้สิ่งที่ ถูก” และ  “ผิด  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ

ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54) 


พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น

  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 
    -- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 

    -- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 

    1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น 
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่ 
    3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย 
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง 
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ 


กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

  1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
  3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน

เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
  • นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
  • ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง 
    ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม 
  • หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ 
    --เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด 
    --เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
    --เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ 
    --เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
    --ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง 
  • การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 
    --ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ 
    --ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น 
    --ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ 
    --เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง 
    --ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร 
    --ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน 
    --ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
    --ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) 
  • ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
    --มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน 
    --พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ 
    --ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น

ทฤษฎีพัฒนาการของบรูเนอร์


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ 
บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ 

บรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54) 


ทฤษฎีการเรียนรู้ 


1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning) 


การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน

  • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
  • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
  • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
  • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี












โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...