วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา ( Problem Soluing Method )
จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดวิธีสอนแก้ปัญหานี้ขึ้น โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝีกฝนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในชีวิตประจำ วันได้อย่างเป็นกระบวนการ สมเหตุสมผลและมีหลักเกณฑ์ อันเป็นการเตรียมเด็กหนุ่มสาวให้สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากหลายๆสาขาวิชามาประกอบกันในการแก้ปัญหานั้นๆ
ความมุ่งหมาย
ฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ตีความและสรุปและทักษะในการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิธีที่มีเหตุผลซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียน
ขั้นตอนการสอน
ขั้นที่1
กำหนดปัญหา
เป็นขั้นที่ครู นักเรียน หรือครูกับนักเรียนกำหนดปัญหา ขันโดยวิธีการต่างๆ เช่น ถามนำเข้สู่บทเรียน เล่าเรื่องหรือประสบการณ์ แล้ตั้งปัญหา ใช้สถานการณ์ในชุมชนมาตั้งปัญหา จัดสถานการณในห้องเรียนกระตุ้นให้เกิดปัญหาเป็นต้น
ขั้นที่ 2
ขั้นวิเคราะห์ปัญหา
เมื่อ ได้ปัญหาจากขั้นที่ 1 มาแล้ว ครูจะนำนักเรียนให้คิดพิจารณาปัญหา จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบในการแก้ปัญหาแต่ละข้อ การสอนขั้นนี้จะจบลงด้วยการเสนอแนะแหล่งความรู้ที่แต่ละกลุ่มควรไปค้นคว้าหา คำตอบเพื่อแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3
ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นที่นักเรียนคาด เดาว่าปัญหานั้นๆมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขโดยวิธีใด หรือปัญหานั้นควรมีคำตอบว่าอย่างไร เป็นต้น
ขั้นที่ 4
เก็บรวบรวมข้อมูล
นัก เรียนแต่ละกลุ่มจะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาด้วยการทำกิจกรรม ต่างตามที่ว่างแผนไว้ในขั้นที่ 2 เช่น อ่านหนังสือ สัมภาษณ์ผู้รู้ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ทำแผนภูมิ ทำแผนผัง ทำสมุดภาพ ชมภาพยนต์หรือวิดีทัศน์ ทดลองปฏิบัติ เป็นต้น ขณะทำกิจกรรมครูจะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่ 5
วิเคราะห์ข้อมูล
เป็น ขั้นตอนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำข้อมูลที่ไปค้นคว้าหรือทดลองมาวิเคราะห์และส้ง เคราห์ หาคำตอบที่ต้องการ หรือพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น ถูกต้องหรือไม่ คำตอบที่ถูกคืออะไร
ขั้นที่ 6
สรุปผล
เป็นขั้นที่นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาหาปัญหานี้
วิธี สอนแบบแก้ปัญหา นอกจากจะช่วยฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์และรู้จักคิด อย่างมีเหตุผลแล้ว ยังช่วยปลูกฝังนักเรียนมีนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตน และมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตยอีกด้วย
ขั้นประเมินผล
ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วจึงให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
ข้อดี
1.ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
2.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
3.เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกการรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
ข้อจำกัด
1.ผู้เรียนต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดจริงไป
2.ผู้เรียนต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจึงจะสรุปได้ดี
3.ถ้าผู้สอนไม่มคุ้นเคยกับวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์อาจนำไปผิดทางได้
4.การกำหนดปัญหาถ้าเลือกปัญหาไม่ไดีจะทำให้การเรียนการสอนไม่ดีเท่าที่ควร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
โมเดลการทำความเข้าใจ
สรุป จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...
-
การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 5E และ 7 E 1. การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 5 E 1.1 ความหมาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศา...
-
อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อม...
-
ผังก้างปลา ( A fish borne Map ) เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทําให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุ ย่อยที่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น