วิธีสอนแบบอภิปราย
เป็นการสอน โดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไข ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง การอภิปรายกระทำระหว่างครูกับนักเรียนหรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน วิธีการสอนแบบอภิปรายจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น พูดเป็น และสร้างความเป็นประชาธิปไตย (ทิศนา เขมณี.2551.หน้า47)
ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบอภิปราย
1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย
2. เพื่อฝึกทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
3. เพื่อฝึกทักษะในการพูด และการแสดงความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนการสอน
ขั้นตอนการอภิปรายมี3ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการอภิปราย ผู้สอนต้องเตรียมในสิ่งต่อไปนี้
1.1 หัวข้อและรูปแบบการอภิปราย เตรียมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน เวลาเรียน จำนวนผู้เรียน สถานที่ เช่น ถ้าเวลาจำกัด ควรใช้แบบซุบซิบปรึกษาถ้าต้องการรวบรวมความคิดอาจใช้แบบระดมสมอง ถ้ามีเวลาให้ผู้เรียนได้เตรียมเนื้อหาสาระความรู้มาล่วงหน้า ควรใช้แบบซิมโพเซียม
1.2 ผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนเตรียมตัวการอภิปรายมาล่วงหน้าจะทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากการเรียนแบบอภิปรายอย่างแท้จริง
1.3 ห้องเรียน ผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย เช่น จัดแบบวงกลมเหมาะสำหรับการอภิปรายแบบระดมสมองจัดแบบตัวยูหรือสี่เหลี่ยมผืน ผ้าเหมาะสำหรับกลุ่มใหญ่จัดแบบตัวทีหรือแบบเรียงแถวหน้ากระดานเหมาะสำหรับ แบบหมู่พาแนล
1.4 สื่อการเรียน อาจต้องใช้เอกสารประกอบการอภิปรายของแต่ละกลุ่มผู้สอนควรเตรียมไว้ให้พร้อม
2. ขั้นดำเนินการอภิปราย ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและอภิปรายให้ดำเนินไปได้ด้วยดีต้องดำเนินการต่อไปนี้
2.1 บอกหัวข้อหรือปัญหาที่จะอภิปรายให้ชัดเจน
2.2 ระบุจุดประสงค์การอภิปรายให้ชัดเจน
2.3 บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปรายเช่นระยะเวลาที่ใช้ รูปแบบวิธีการ
2.4 ให้ดำเนินการอภิปรายโดยผู้สอนควรช่วยเหลือให้การอภิปรายดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้สอนไม่ควรเข้าไปกำกับหรือเข้าไปแทรกแซงผู้เรียนตลอดควรคอยดูอยู่ห่างๆ
3.ขั้นสรุป ประกอบด้วย
3.1 สรุปผลการอภิปรายเป็น ช่วงที่ผู้แทนกลุ่มสรุปอภิปราย นำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม ผู้สอนอาจถามคำถามผู้อภิปรายได้ในสาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับขณะ เดียวกันช่วยกลุ่มอภิปรายให้เกิดความกระจ่างในเนื้อหาบางตอนได้
3.2 สรุปเรียน ผู้สอนเป็นผู้สรุปเนื้อหาสาระสำคัญที่ได้จากการอภิปรายควรได้เสริมข้อคิด แทรกความรู้ ตลอดจนนำแนวทางความรู้ไปใช้เกิดประโยชน์การสรุปนั้นควรสรุปเป็นหัวข้อกระดาน ดำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจและบันทึกได้ง่าย
3.3 ประเมินผลการเรียน ผู้สอนควรมีการประเมินผลการเรียนการอภิปรายภายหลังที่สิ้นสุดบทเรียนเพื่อดู ว่าการอภิปรายในคาบนั้นมีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไรโดยประเมินให้ครอบ คลุมถึงเนื้อหาหัวข้อการอภิปราย จุดประสงค์
ข้อดี
1) เป็นการสอนแบบประชาธิปไตย ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและทั่วถึงกัน
2) เป็นการพัฒนาผู้เรียนในด้านการฝึกให้คิด ให้แสดงความคิดเห็น
3) เป็นการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอันเป็นการช่วยในการตัดสินใจ
4) ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และยอมรับความเห็นซึ่งกันและกัน
5) ผู้เรียนมีปัญหาประสบการณ์และความสนใจในเรื่องเดียวกัน
6) ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้จริง
7) การอภิปรายมีวัตถุประสงค์ชัดเจนและสะดวกต่อการประเมินผล
ข้อจำกัด
1) ถ้าผู้นำการอภิปรายขาดความสามารถในการนำ จะทำให้ผลการอภิปรายไม่ดีเท่าที่ควร
2) ถ้าผู้เรียนแตกต่างกันมากในด้านความคิด หรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอาจทำให้การอภิปรายไม่ได้ผลเท่าที่ควร
3) วิธีการมอบเรื่องให้ใครคนใดคนหนึ่งนำไปพิจารณา ซึ่งมักจะมีเสนอในการประชุม ซึ่งผิดหลักการระดมความคิดจากทุกๆ คน
4) บางครั้งประธานในอภิปรายการอาจกล่าวนำหรือแนะนำจนสมาชิกไม่ได้ใช้ความคิด
วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
โมเดลการทำความเข้าใจ
สรุป จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...
-
การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 5E และ 7 E 1. การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 5 E 1.1 ความหมาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศา...
-
การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค KWLH การอ่านเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้มีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอ...
-
ผังก้างปลา ( A fish borne Map ) เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทําให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุ ย่อยที่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น