วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การสอนแบบตั่งคำถาม

การสอนแบบตั่งคำถาม

                                                                                                  โดย ผศ.วันดี โตสุขศรี
ผู้ลิขิต อ.ธนิษฐา  สมัย 

          การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด  การตีความ  การไตร่ตรอง  การถ่ายทอดความคิด  สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้  ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยกระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด  ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย โดยบทบาทผู้เรียน จะเรียนรู้จากคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
แนวคิดของการใช้คำถามในการสอน
การถามคือ การบูรณาการเพื่อพัฒนาไปสู่การคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) และโครงสร้างกระบวนการคิด ช่วยให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองความเข้าใจของตน และสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเรียนรู้ การคิด และการสอน
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
ขั้นตอนสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีดังนี้
  1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
  2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
  3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
  4. ขั้นสรุปและประเมินผล
    4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
    4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผล การเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
แนวคิดการตั้งคำถามจากนพ.สุพจน์
  • นักศึกษาชอบการสอนแบบใช้การถามกลุ่ม ให้ช่วยกันคิดหาคำตอบ  ฝึกการคิดประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อให้ได้คำตอบ เมื่อนักศึกษาตอบถูก ขอให้ชม    เมื่อนักศึกษาตอบไม่ได้  ไม่ควรให้การบ้าน เพราะนักศึกษาไม่ชอบการบ้าน นักศึกษารู้สึกเหมือนถูกทำโทษ
                                     ตัวอย่าง  ทำไมคนนี้เป็น pneumonia……..
  • คำถามในชั้นปีสูงๆ ไม่เหมือนคำถามชั้นปีต้นๆ เพราะเป็นคำถามที่ต้องคิดประยุกต์ความรู้มาสร้างคำตอบ  จึงควรใช้คำถามเรื่องที่สำคัญๆ ชวนให้คิด    เรื่องความจำเล็กๆ น้อยๆ ไม่สำคัญมาก อาจารย์บอกได้ ก็ควรบอก
                                    ตัวอย่าง เชื้อโรคอะไร ทำให้เป็น pneumonia
  • คำถามไม่เคลียร์ --- case นี้ ยังไงดี  ยังไงต่อ
                                    แก้ไข......นักศึกษาเข้าใจคำถามหรือไม่
  • คำถามเป็นชุด  ---- คนนี้ตกลงว่าเป็นอะไร การรักษาเป็นอย่างไร   การพยาบาลอย่างไร
                                    แก้ไข......ขอให้ตั้งที่ละคำถาม
  • จะตอบอย่างไรดี(ที่จะไม่บาดเจ็บ) ---- ชม เมื่อตอบถูก
                                    ถ้าตอบไม่ถูก.....ทำไมคิดอย่างนั้น  และอาจเฉลยคำตอบหรือถามต่อ                                        โดยใช้คำถามเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่เรียนมาที่เชื่อมโยงกับคำถามแรก
***  ให้เวลานักศึกษาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที  ***เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาส
  • ทำความเข้าใจว่าอาจารย์ถามอะไร
  • คาดหวังว่าอาจารย์ต้องการคำตอบอะไร
  • คิดจริงจังว่าคำตอบคืออะไร  (คำถามทางคลินิกไม่ได้มีคำตอบเดียว)
  • จะตอบอย่างไรดี (ที่ตอบแล้วจะไม่บาดเจ็บ)
                     นักศึกษาไม่ตอบคำถาม ----- คำถามไม่เคลียร์  กลัว (จากบรรยากาศที่น่ากลัว
                                                            ประสบการณ์เดิมที่ไม่ดี ความเจ็บปวดในอดีต)
                     นักศึกษาตอบคำถาม ---- ชม เมื่อตอบถูก
เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม
1.  ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย
  • ระวังบรรยากาศคุกคาม ----- ถูกอัด ถูกซอย กินตับ กินหัว ไม่ควรใช้ เป็น Painful learning, ควรใช้ meaningful learning
  • เริ่มต้นการสอน บอกวิธีการสอน อาจารย์จะใช้การสอนแบบใช้คำถามเพื่อให้ตอบ  ให้เกียรติผู้เรียน เรียกชื่อนักศึกษา
  • ใช้  ASA (attentive, smile, acknowledge) = มองหน้าตั้งใจฟัง ยิ้มน้อยๆ ชมเมื่อตอบถูก (เก่งมากค่ะ  ดีมากค่ะ เห็นด้วยค่ะ)
  • เมื่อตอบผิด  -- ทำไมคิดอย่างนั้น  แก้ concept ที่ถูกต้อง
                     -- ให้ความเข้าใจว่า คำตอบทางคลินิก ไม่เคยมีคำตอบเดียว อาจมีมากกว่า 1
                     -- ให้คิดว่า ตอบผิด ดีกว่า ไม่ตอบ
2. เลือกคำถามที่ดี    ---- ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
  • เลือกคำถามปลายเปิด –  ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง
  • แนะแนวการคิด guide โดยใช้คำถามที่นักศึกษาจะต้องนำความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) มาประยุกต์
3. ใช้เทคนิคให้ดี
  • ถามชัดเจน ไม่กำกวม
  • เลือกคำถามกว้างๆ ปลายเปิด ---ทำอย่างไร
  • ถามทีละ 1 คำถาม อย่าถามเป็นชุด
  • ให้เวลาคิด 10 วินาที
  • เทคนิค Pose – Pause – Pounce ตั้งคำถาม---- รอคำตอบ ---- ถ้าไม่ตอบ ถามระบุคน
คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง
  • คำถาม ใช่ ไม่ใช่
  • คำถามกำกวม
  • คำถามชักกะเย่อ
  • คำถามให้เดา
  • คำถามชี้นำ
วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครดิต(Socratic Method) 
  • เป็นวิธีสอนของนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อโซเครติส วิธีสอนแบบนี้ใช้การตั้งคำถามให้นักเรียนคิดหาคำตอบหรือตอบปัญหาด้วยตนเอง โดยครูจะกระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่เคยเรียนแล้ว
  • คำถามของครูจะเป็นแนวทางให้นักเรียนคิดค้นหาความรู้ นักเรียนจะเรียนด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้ทุกคนรู้จักแสดงความคิดเห็น อภิปรายแล้วสรุปความคิดเห็นลงในแนวเดียวกัน วิธีสอนแบบนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่ชอบใช้ความคิดค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งต่างๆ
Socratic questioning มี 6 แบบ
  1. Tell me more: ขอความกระจ่าง
  2. Probe assumption: ขอข้อสรุป
  3. Reason ขอเหตุผล
  4. View point & Perspectives  ถามมุมมองแง่อื่นและแนวคิด 
  5. Implication & Consequence การนำไปใช้และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น
  6. คำถามเกี่ยวกับคำถาม  เป็นคำถามขั้นสูง  ---  รู้มั้ยทำไมถามแบบนี้
ข้อคิด
  1.  คำถาม  สำหรับนักศึกษาเก่ง  ไม่เก่ง
  2.  การตั้งคำถาม  เมื่อมีนักศึกษาอยู่ด้วยกันหลายชั้นปี
  3.  การตั้งคำถาม เมื่อสอนที่ข้างเตียงผู้ป่วย
สรุป 
** เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม 3 อย่าง
  1. ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย
             ASA (attentive, smile, acknowledge)
  2. เลือกคำถามที่ดี
             WHY,  HOW ใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง guide ให้ใช้ Basic Knowledge
  3. ใช้เทคนิคดี
             Pose – Pause – Pounce
** วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครติค
            การตั้งคำถามระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง  และเป็นคนมีเหตุผล  ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำความรู้  ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา  วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่ถามได้  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง
            การตอบคำถามระดับสูง  ผู้สอนต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน  เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม  ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคำถามคือ  การถามแล้วต้องการคำตอบในทันทีโดยไม่ให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบ
สรุป
1). “การตั้งคำถามในการสอน (Questioning in Teaching) ควรจะใช้เมื่อไหร่”
            -   ใช้เฉพาะเวลา discussion ปัญหาที่เตียงผู้ป่วย, bedside teaching, มีการนำผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการถามคำถามและตอบคำถามด้วยระหว่างจัดการเรียนการสอน
2.)  “ มีอาจารย์ท่านใดใช้คำถามในการสอน (Questioning in Teaching) แบบนี้ในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติบ้างหรือไม่ ”
            - 
มีอาจารย์ 3 ท่าน ที่ใช้คำถามในการสอน (Questioning in Teaching) แบบนี้ในการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ  คือ  รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ, อ.ดร.ศรินรัตน์  ศรีประสงค์ และผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล
                      - ได้มีการนำไปใช้ในการเรียนการสอนจริง  แต่ใช้ไม่เต็มรูปแบบ
                      - มีการตั้งคำถามในการเรียนการสอน  

                      - ถ้าพบว่าถามคำถามแล้วนักศึกษากลุ่มใหญ่ไม่ตอบคำถาม  อาจารย์จะถามเป็นรายบุคคลแทน  หรือให้พี่ปี 4 เป็นผู้ตอบคำถามแทนน้องปี 3
                      - แต่ถ้าอาจารย์ถามคำถามแล้วนักศึกษาตอบไม่ได้ทั้งนักศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 3  อาจารย์จะเป็นผู้ตอบและเฉลยให้กับนักศึกษา
3.) “ ระยะเวลาที่ใช้ในการให้เวลานักศึกษาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที หรือไม่ ”
            - 
อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน คือ รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ, อ.ดร.ศรินรัตน์  ศรีประสงค์ และผศ.ดร.ศรัณยา       โฆสิตะมงคล แจ้งว่า ไม่ได้ใช้ เนื่องจากถ้านักศึกษาตอบคำถามไม่ได้ ก็จะให้เพื่อนคนอื่นตอบแทนไปเรื่อยๆ อาจารย์ไม่ได้รอให้นักศึกษาใช้เวลาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที
4.)“ถ้านักศึกษาตอบคำถามในการเรียนการสอน (Questioning in Teaching) ไม่ได้  อาจารย์ทำอย่างไรบ้าง”
            - เรียกให้นักศึกษาคนอื่นตอบแทน หรือให้นักศึกษาคนอื่นช่วยกันตอบ  ถ้าทั้งกลุ่มตอบไม่ได้จริงๆ  อาจารย์จะเป็นผู้ตอบและเฉลยให้กับนักศึกษา
5.)“ ถ้านักศึกษาที่เก่งแย่งตอบคำถามหมด  และนักศึกษาที่อ่อนไม่ตอบคำถามเลย  อาจารย์จะทำอย่างไร ”            - จะถามนักศึกษาที่อ่อนก่อน โดยใช้คำถามง่ายๆ และถ้านักศึกษาตอบผิดหรือตอบไม่ได้  จะไม่มีการดุหรือตำหนินักศึกษา  และอาจารย์จะใช้คำถามที่ยากขึ้นในนักศึกษาที่มีความรู้ระดับกลางๆ และนักศึกษาที่มีความรู้ระดับสูงหรือเก่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...