วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ    (Discovery Method)

 ความหมาย 
           การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ         เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผู้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
  
                การ จัดการเรียนรู้แบบค้นพบอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1  การค้นพบที่มีแนวทาง  (Guide  Discovery Method) เป็นวิธีการที่ผู้สอนนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาโดยการใช้คำถามที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสมและอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความคิดรวบยอดหรือหลักการ
2  การค้นพบด้วยตนเอง  (Pure Discovery Method)เป็นวิธีการที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะไปสู่ความิดรวบยอดและหลักการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับคำแนะนำจากผู้สอน
            กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองจะมีลักษณะให้ผู้เรียนลงมือคิดลงมือกระทำด้วยตนเองหลายเรื่องหลายด้านสรุปความคิดรวบยอดที่หลากหลายมาผูกโยงเป็นหลักการที่ผู้เรียนสร้างขึ้นได้เองและนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ
วัตถุประสงค์
1 พื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การคิดวิเคราะห์  ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถสรุปหรือค้นพบหลักการ กฎเกณฑ์ประเด็นสำคัญหรือความจริงได้ด้วยตนเอง
2 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆและสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้
                การ จัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย  เช่น  การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย  การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ  มีการกำหนดปัญหา  ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล  ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ   ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วย  การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ  ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง  ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา  แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสม
                จากเหตุผลดังกล่าว  ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่างๆที่ใช้  แต่ในที่นี้จะเสนอผลการพบความรู้  ข้อสรุปใหม่  ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัยไปสู่การเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย  การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย และการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ  มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย เป็นการเรียนรู้จากส่วนย่อยไปหาส่วนรวมซึ่งผู้เรียนใช้เหตุผลจากตัวอย่างต่างๆไปสนับสนุนให้พบข้อสรุปโดยใช้ความรู้สึกนึกคิดของตนเองและเหตุผลทางตรรกวิทยาบางอย่างเพื่อนำมากำหนดเป็นข้อสรุปกฎเกณฑ์
การจัดการเรียนรู้นิรนัย เป็นการเรียนรู้จากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย ซึ่งผู้เรียนจะนำหลักการทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือนิยามไปทดลองพิสูจน์เพื่อให้ได้ความคิดข้อสรุปหรือค้นพบข้อสรุปอื่นๆ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ  เป็นการเรียนรู้โดยการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ทั้งสองวิธีมาใช้รวมกันเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบค้นพบโดยใช้วิธีคิดแบบอุปนัยและนิรนัยที่ค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
2.ขั้นเรียนรู้  ประกอบด้วย
 2.1  ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้  แบบอุปนัยในตอนแรก  เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
 2.2 ผู้สอนใช้วิธีตัดการเรียนรู้  แบบนิรนัย  เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ  2  ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง  โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม  โต้ตอบ  หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
 2.3ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
 3.  ขั้นนำไปใช้
ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา  อาจใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน  เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ มีดังนี้
ข้อดี
         ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล
         ช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
         ผู้เรียนมีความมั่นใจเพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
         ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
         ปลูกฝังนิสัยรักการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
          ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตนเองต่อการเรียนสูง
         ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเองเช่นการหาข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
          ทักษะที่เรียนจากการค้นพบจะถ่ายทอดไปยังการเรียนเรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น
        เหมาะกันผู้เรียนที่ฉลาดมีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง

ข้อจำกัด
ต้องใช้เวลาในการสอนมากพอสมควร
- ไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมากเพราะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าจะเกิดความท้อแท้ใจเมื่อเห็นเพื่อนในห้องทำได้
 - วิธีการสอนแบบค้นพบเหมาะสำหรับเนื้อหาบางตอนและเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเท่านั้น
 - วิธีการสอนแบบค้นพบที่ต้องคิดเหตุผลและตั้งสมมุติฐานเหมาะกับผู้เรียนในวัยที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้
 - ผู้เรียนที่มีความสามารถไม่มากนักจะมีความยุ่งยากใจมากในการเรียนโยวิธีนี้โดยเฉพาะที่ต้องสรุปบทเรียนด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...