การออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบด าเนินการโดยผู้มีความรู้ ความช านาญใน การออกแบบและได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะเช่นเดียวกับนักออกแบบในอาชีพอื่น ๆ หน่วยงานที่มัก ใช้นักออกแบบการเรียนการสอนมืออาชีพมักจะเป็นหน่วยงานที่หวังผลการปฏิบัติที่แน่นอน และผล การด าเนินงานมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง เช่น ในองค์กรธุรกิจที่ต้องการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อ การค้า บริษัทที่มีฝ่ายฝึกอบรมบุคลากรหรือบริษัทที่ท าหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล หน่วยทหารที่ต้องการฝึกทหารเข้าประจ าการรบ การใช้อาวุธและอุปกรณ์การรบเฉพาะอย่าง เป็นต้น การน าแนวคิดเชิงระบบมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนนั้น จุดประสงค์หลักก็คือการน าสิ่งที่ ออกแบบไว้ไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์ต่อคนจ านวนมาก ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและ ทรัพยากร อีกทั้งหวังผลการปฏิบัติที่ดีเลิศซึ่งสามารถตรวจสอบผลได้ (Dick, Carey, & Carey, 2001, p. 11) แต่ส าหรับการน าแนวคิดเรื่องการออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบมาใช้ในการจัดการเรียน
การสอน และให้ครูเป็นผู้ใช้นั้น ครูอาจน าแนวคิดนี้ไปใช้เพียงบางส่วน แต่อย่างน้อยเมื่อครูได้ทราบและ น าไปใช้ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพไม่มากก็น้อย ความคาดหวังให้ ครูใช้การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบอย่างเข้มข้นเหมือนนักวิจัยที่ท างานด้านการออกแบบ การเรียนการสอนโดยเฉพาะนั้นคงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่ควรให้ครูเป็นนักออกแบบที่พร้อมจะ ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดการประกอบวิชาชีพของครู ดังนั้นในเอกสารฉบับนี้จึงให้ความรู้และ แนวคิดในด้านการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างกว้างขวางเพื่อเปิดมุมมองในด้านการออกแบบ และพัฒนาการเรียนการสอนส าหรับผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนน าไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ให้มีคุณภาพ
การออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นลักษณะที่ครูท ากับเด็กของตนในห้องเรียน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนก็คือครูที่ต้องมีความรู้ในด้านศาสตร์การสอน เนื้อหาสาระที่สอนและการประเมินผล และน าความรู้เหล่านี้มาใช้อย่างบูรณาการ โดยอาศัยเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ หรืออาจารย์ในสถาบันฝึกหัดครูเป็นผู้ให้ค าแนะน าและเป็นที่ปรึกษาในการด าเนินงาน ตลอดจนอาศัยความคิดเห็นจากผู้เรียนและผู้ปกครองเป็นข้อมูลส าหรับการพัฒนาปรับปรุงการออกแบบ การเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น ส าหรับการออกแบบการเรียนการสอนในองค์กรธุรกิจและการทหารนั้น จะมีผู้มีความรู้ฝ่ายต่าง ๆ ในการท างานร่วมกันเป็นทีม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมิน และผู้จัดการทีม เป็นต้น ในการที่จะพิจารณาว่าใครควรเป็นผู้มี ส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอนจึงขึ้นอยู่กับว่าเป็นการออกแบบในด้านใด มีจุดประสงค์อะไร และมีขอบเขตในการด าเนินการอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น