ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ( Ivan Petrovich Pavlov )
ชื่อ อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ
เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี) เลนินกราด , สหภาพโซเวียต
สาขาวิชา สรีวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม Transmarginal.inhibition การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
พาฟลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
จุดเริ่มมาจากนักสรีระวิทยา ชาวรัสเซีย ชื่อ อิวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ทำการทดลองให้สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยอินทรีย์ (สุนัข) เกิดการเชื่อมโยงสิ่งเร้า 2 สิ่ง คือ เสียงกระดิ่งกับผงเนื้อ จนเกิดการตอบสนองโดยน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ดังรูปต่อไปนี้
ก่อนวางเงื่อนไข
ขณะวางเงื่อนไข
หลังจากวางเงื่อนไข
ส่วนประกอบของกระบวนการวางเงื่อนไข
- สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข UCS (Unconditional Stimulus)
- สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข CS (Conditional Stimulus)
- การตอบสนองอย่างไม่มีเงื่อนไข UCR (Unconditional Response)
- การตอบสนองอย่างมีเงื่อนไข CR (Conditional Response)
(Classical Conditioning Thoery )
การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้
1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด
องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง จะต้องประกอบด้วยกระบวนการของส่วนประกอบ 4อย่าง คือ
1. สิ่งเร้า เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา
2. แรงขับ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการ กระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. สิ่งเสริมแรง เป็นสิ่งมาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้มีแรงขับเพิ่มขึ้น
1. กฎการลบพฤติกรรม
2. กฎแห่งการคืนกลับ
3. กฎความคล้ายคลึงกัน
4. การจำแนก
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
2.การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
3.ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
4.รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
5.ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม
6.เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน
วัตสัน (John B.Watson)
วัตสัน (John B.Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยา
พฤติกรรมนิยม นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว(neutral-passive) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้หรือวัดได้
แนวคิด
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
การทดลอง
เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็กให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
แผนผังการทดลอง
เสียงดัง (UCS) -------------- กลัว (UCR)
หนูขาว (neutral) -------------- ไม่กลัว
หนู + เสียงดัง -------------- กลัว (CR)
หนูขาว (CS) -------------- กลัว (CR)
จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วาง
เงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2) เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
2.1.3 การนำไปประยุกต์ใช้ สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของ
เด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาส สิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
การเสริมแรง(Reinforcement )
หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมาSkinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง
|
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์
หลักการวางเงื่อนไขผลกรรม (Operant Conditioning) มีแนวคิดว่า การกระทำใด ๆ (Operant) ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequenceหรือ Effect)
การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม
การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม ผลกรรมที่เกิดขึ้น
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงบวก เรียก การเสริมแรง
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ไม่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงลบ เรียกว่า การลงโทษ
การเสริมแรง หมายถึง การทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากผลกรรม ได้แก่
- เสริมแรงทางบวก เช่น ทำงานเสร็จแล้วแม่ให้ถูโทรทัศน์
- เสริมแรงทางเชิงลบ เช่น การขึ้นสะพานลอยเพื่อพ้นจากการถูกจับ
การลงโทษ หมายถึง การให้ผลกรรมที่ไม่ต้องการ หรือ ถอดถอนสิ่งที่ต้องการแล้วทำให้พฤติกรรมลดลง ได้แก่
- การลงโทษทางบวก เช่น เด็กส่งเสียงดัง แล้วถูกดุ
- การลงโทษทางลบ เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จแล้วแม่ไม่ให้ไปเล่นเกมส์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
ประวัติของธอร์นไดค์
เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thomdike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เกิด วันที่ 31สิงหาคม ค.ศ.1814ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี ่ รัฐแมซซาชูเสท และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค
หลักการเรียนรู้
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับ การตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที ่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะส มที่สุด
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
ธอร์นไดค์ เขาได้เริ่มการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล( Puzzie-box) เขาทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสี ยง การทดลองใช้หีบกล
การทดลอง
ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรง ที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่ างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเข ี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูก คานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได ้เร็วขึ้น
จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่ อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วข ึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื ่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคา นไม้
กฏแห่งการเรียนรู้
1.กฎแห่งความพร้อม(law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร ่างกายและจิตใจ
2.กฎแห่งการฝึกห ัด (low of exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนร ู้นั้นคงถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืมได้
กฎการเรียนรู้
3.กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่ อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู ้
การประยุกต์ทฤษฎีของธอร์นไดค์
1.ธอร์นไดค์ในฐานะนักจิตวิทยากา รศึกษา เข้าได้ให้ความสนใจในปัญหาการปร ับปรุงการเรียนการสอนของนักเรีย นในโรงเรียน เขาเน้นว่า นักเรียนต้องให้ความสนใจในสิ่งท ี่เรียน ความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคร ูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมองเห็นว ่ามีความสำคัญต่อตัวเขา
2. ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความ พร้อมที่เรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอท ี่จะเรียนและไม่ตกอยู่ในสภาวะบา งอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอน เป็นต้น
3. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ฝึกฝนและทดทวนในสิ่งที่เรียนไปแ ล้วในเวลาอันเหมาะสม
4. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความ พึ่งพอใจและประสบผลสำเร็จในการท ำกิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจต่อตั วเองในการทำกิจกรรมต่อไป
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบันดูรา
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
- - เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
- - ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา
- - เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
- - รับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
แนวคิดและทฤษฎี
บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ
ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมี 2 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance) ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้
การเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquision)
ขั้นที่ 2 ขั้นการกระทำ (Performance)
ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention)
กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะใม่เกิดขึ้น
2. กระบวนการจดจำ (Retention)
กระบวนการจดจำ (Retention) ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
3. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction)
กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4. กระบวนการการจูงใจ (Motivation)
กระบวนการการจูงใจ (Motivation)แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้
การทดลอง
- บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
- - กลุ่มหนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- - เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- - เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
- ผลการทดลองพบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว จะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบ
คุณสมบัติของผู้เรียน
- ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า
- สามารถสร้างรหัสหรือกำหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำระยะยาว
- สามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
การนำทฤษฎีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน
1.บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2. แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆอย่าง
3. ให้คำอธิบายควบคู่กันไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
4. ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน
5. จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
6.ให้เสริมแรงแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง
สรุป
เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญญลักษณ์
ทฤษฎีการเรียนกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)
ทฤษฎีการเรียนกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นำกลุ่มคือ เวอร์ไธเมอร์ (Wertheimer) โคห์เลอร์ (Kohler) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lewin)
ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
กฎการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ
หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้นกลุ่ม
ของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ 4 ข้อ เรียกว่า กฎแห่งการจัดระเบียบ คือ
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพ
สมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการ
มองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่า
ได้ยินได้ค้นพบแล้ว ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด
การทดลองกลุ่มเกสตัลท์ เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วย
- การทดลองที่แสดงการหยั่งเห็นในการเรียนรู้ในขั้นแรก ลิงซิมแพนซีพยายามใช้มือเอื้อมหยิบกล้วย แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าจะได้ลองทำหลายครั้งเป็นเวลานาน มันก็หันไปมองรอบๆกรง เขย่ากรง ส่งเสียงร้อง และปีนป่าย แต่เมื่อไม่ได้ผล มันจึงหันมาลองจับไม้เล่น ใช้ไม้นั้นสอย กล้วยแต่ก็ไม่ได้ผล มันจึงหันมาลองจับไม้อันอื่นเล่นและใช้ไม้นั้นสอยกล้วย การกระทำเกิดขึ้นเร็วและสมบูรณ์ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในที่สุดมันก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้
- วิธีการที่ลิงใช้แก้ปัญหานี้ โคล์เลอร์เรียกพฤติกรรมนี้ว่าเป็น การหยั่งเห็น เป็นการมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาโดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความสัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรงและสามารถใช้ไม้นั้นสอยกล้วยได้เป็นการนำไปสู่เป้าหมาย
- กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซี1. วิธีการแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นทันทีทันใด เหมือนความกระจ่างแจ้งในใจ2. การเรียนรู้การหยั่งเห็นเป็นการที่ผู้เรียนมองเห็นรับรู้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นการตอบสนองของ สิ่งเร้าเพียงอย่างเดียว
- กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซี3. ความรู้เดิมของผู้เรียน ประสบการณ์ของผู้เรียนมีส่วน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการหยั่งเห็นในเหตุการณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นปัญหาและช่วยให้ การหยั่งเห็นเกิดขึ้นเร็ว
การนำทฤษฎีนี้มาใช้ในการเรียนการสอน
- ในการสอนครูควรจะให้ผู้เรียนมองเห็นโครงสร้าง ทั้งหมดของเรื่องที่จะสอนก่อน เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้ เป็นส่วนรวม แล้วจึงแยกส่วนออกมาสอนเป็นตอนๆ
- เน้นให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าเน้นการเรียน แบบท่องจำ การเรียนด้วยความเข้าใจต้องอาศัยสื่อที่ชัดเจนประกอบการเรียนและต้องเรียนด้วยการปฏิบัติจริง หรือผู้เรียนลงมือกระทำเอง ( Learning by Doing )
- ฝึกให้ผู้เรียนสามารถโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ที่เรียนไปแล้วกับความรู้ใหม่ว่ามีความแตกต่าง และคล้ายคลึงกันอย่างไรเพื่อช่วยให้จำได้นาน
- นำแนวคิดของทฤษฏีนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ว่าควรทำความเข้าใจโดยมองปัญหาทุกแง่ทุกมุม ไม่ควรมองปัญหาโดยมีอคติ และใช้ความคิดอย่างมีเหตุมีผลในการแก้ปัญหา
- นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม
- ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น
- นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น