วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การออกแบบการเรียนการสอน

การออกแบบการเรียนการสอน 

 เมื่อน าค าทั้งสองคือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน” มารวมกันเป็น “การออกแบบ การเรียนการสอน” (instructional design) นักการศึกษาด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้ 
  ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5)
ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ ต้องการ โดยตอบค าถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว 
  ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4)
ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่น าเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาท าให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ  
แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24)
ให้ความหมายของ   
การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน 
 สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2)
ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการน าหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์  การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1)
ให้ความหมาย
ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก าหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง

  จากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่
ส าคัญ คือ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่น ามาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียน การสอนเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่หรือ สร้างสิ่งใหม่โดยน าหลักการเรียนรู้และหลักการสอนมาใช้ในการด าเนินการ เป้าหมายของการออกแบบ การเรียนการสอนคือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน  จากความหมายข้างต้นอาจมีผู้สงสัยว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมือนหรือ
แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนอย่างไร หากย้อนไปดูที่ลักษณะส าคัญของการออกแบบตาม ที่โรว์แลนด์ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นในเรื่องลักษณะส าคัญของการออกแบบก็จะพบค าตอบว่า การวางแผน การเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีการออกแบบการเรียนการสอน แต่การออกแบบการเรียน     การสอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสมอ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ 
หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน 
    ในการออกแบบการเรียนการสอนมีหลักการพื้นฐานที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควร
ค านึงถึงเพื่อช่วยให้การออกแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพ ดังนี้
 (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 
2005, pp. 2-3; Smith & Ragan, 1999, p.18)  
1. ค านึงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายส าคัญ
การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการสอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาผลการเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อน าไปใช้เป็นแนวทางส าหรับการเลือกกระบวนการเรียน การสอน กิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่ก าหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ  
2. ค านึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
ได้แก่ การอ านวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับ ผู้เรียน เวลาที่ใช้ คุณภาพการสอน เจตคติและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจัยเหล่านี้ควร น ามาพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน 
3. รู้จักประยุกต์ใช้หลักการเรียนการสอน
วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับ ระดับวัยของผู้เรียนและเนื้อหาสาระ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมทั้ง ทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจในกิจกรรมการเรียนการสอน 
4. ใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้การ เรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น 
5. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การเรียนการสอนที่มีคุณภาพควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการวางแผน การน าไปทดลองใช้จริง  และน าผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากผู้เรียนมา ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้จะท าให้การเรียนการสอน มีคุณภาพ 
6. มีการประเมินผลครอบคลุมทั้งกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียน
ทั้งนี้ เพื่อน าผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และน่าสนใจ มากขึ้น  การประเมินผลผู้เรียน ไม่ควรมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ ควรให้ได้ข้อมูลที่น าไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ 
7. องค์ประกอบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กัน องค์ประกอบการเรียนการสอน
เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ควรมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กัน และเหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทการเรียนรู้ ท าให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการ   หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่น ามากล่าวข้างต้นนี้เป็นแนวทางทั่วไป ส าหรับนักออกแบบการเรียนการสอนที่เริ่มต้นการท างานในด้านนี้ได้น าไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ สภาพและบริบทการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...