วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design model)

 
 นักออกแบบการเรียนการสอนจะใช้รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design model) เป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่ออธิบายองค์ประกอบของการท างาน หรือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือทีมงานมีความเข้าใจขั้นตอนกระบวนการท างาน 
และใช้ตรวจสอบการด าเนินงาน  รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นพื้นฐานของการออกแบบ การเรียนการสอนเชิงระบบที่มีผู้นิยมใช้มากที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ 

รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบสามัญ (a common model of instructional  
design)  
รูปแบบนี้พัฒนาจากแนวคิดของเมเกอร์ (Mager, 1975, p.2)

ที่ได้ตั้งค าถามพื้นฐานส าหรับ นักออกแบบการเรียนการสอนที่จะต้องหาค าตอบ ดังนี้ 
1) เราก าลังจะไปไหน (อะไรคือเป้าหมายของการเรียนการสอน) 
2) เราจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (อะไรคือกลยุทธ์และสื่อกลาง) 
3) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว (เครื่องมือการประเมินเป็นอย่างไร เราจะ

ประเมินและปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์การสอนอย่างไร) จากค าถามข้างต้นน ามาก าหนดเป็นกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติในกระบวนการออกแบบการเรียน การสอน เป็น 3 ขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์การเรียนการสอน เพื่อก าหนดเป้าหมายที่จะไป สิ่งที่ผู้ประเมินควร วิเคราะห์ ได้แก่ สภาพแวดล้อมหรือบริบทในการเรียนรู้ (learning contexts) ตัวผู้เรียน (learner) และ ภาระงาน (learning task) หรือสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้และควรท าได้ 

ขั้นที่ 2 การออกแบบการเรียนการสอน เพื่อตอบค าถามว่าเราจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องพิจารณาถึงสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ใช้สร้าง ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน นอกจากนั้นยังต้องค านึงถึงการจัดล าดับก่อนหลังของการน าเสนอกิจกรรม และการบริหารชั้นเรียน เช่น จะจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างไร เช่น การเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือ การเรียนเป็นรายบุคคล เป็นต้น ขั้นนี้จึงเป็นขั้นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาว่าจะด าเนินการเรียนการสอน อย่างไร

 ขั้นที่ 3 การประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อตอบค าถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าไปถึงเป้าหมายแล้ว ขั้นนี้เป็นการประเมินทั้งการเรียนการสอนและผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การประเมินผลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือการประเมินระหว่างด าเนินการหรือการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) และ การประเมินผลสรุป (summative evaluation) คือ การประเมินหลังเสร็จสิ้นการด าเนินการ การประเมิน ความก้าวหน้ามีจุดมุ่งหมายเพื่อน าข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน ส่วนการประเมินผล สรุปมีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินผลการด าเนินการและตัดสินผลการเรียนรู้ว่าได้บรรลุเป้าหมายอย่างไร  ขั้นตอนการด าเนินการทั้งสามมีความสัมพันธ์ดังแสดงในภาพที่ 1.2 ดังนี้


ภาพที่ 1.2  รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบสามัญ 
ที่มา:  Smith & Ragan, 1999, p. 11  รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบสามัญนี้ สามารถน าไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ในระดับการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในระดับโรงเรียน และระดับท้องถิ่น และการออกแบบการฝึกอบรมในภาคธุรกิจ จึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...