วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

2.ประเภทของสื่อ

2.ประเภทของสื่อ 

ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจำแนกสื่อได้ 4 ประเภท คือ สื่อทางหู(audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกัน(audio – visual) และสัมผัส(tactile)
ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภท และตัวอย่างที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้

1. สื่อทางหู

ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง

2. สื่อทางตา 

ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอ งสิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่

3. สื่อทางหูและทางตา

 ได้แก่ เทปวิดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆเช่น ดิจิตอล วิดีโออินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)

4.สื่อทางสัมผัส 

ได้แก่วั ตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง

สื่อการสอนมีหลายประเภท  และมีการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน  สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์  (2550: 71-72)  จำแนกประเภทของสื่อได้เป็น  6  ประเภทใหญ่ๆ  ดังนี้


1.  สื่อสิ่งพิมพ์

 มีทั้งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง  เช่น  หนังสือเรียน  คู่มือครู  แผนการเรียนรู้  หนังสืออ้างอิง  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  แบบฝึกกิจกรรม  ใบงาน  ใบความรู้  ฯลฯ  และสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้  เช่น  วารสาร  นิตยสาร  จุลสาร  หนังสือพิมพ์  จดหมายข่าว  โปสเตอร์   แผ่นพับ  แผ่นภาพ  เป็นต้น


2.  สื่อบุคคล 

หมายถึง  ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้  แนวคิด  และวิธีปฏิบัติตนไปสู่บุคคลอื่น  นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ  โดยเฉพาะในด้านการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน  สื่อบุคคลอาจเป็นบุคลากรที่อยู่ในสถานศึกษา  เช่น  ผู้บริหาร  ครู  บุคลากรทางการศึกษา  คนทำอาหาร  หรือตัวนักเรียนเอง  หรืออาจเป็นบุคลากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ 


3.  สื่อวัสดุ 

เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง  จำแนกออกเป็น 2  ลักษณะ  คือ

3.1  วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้อยู่ได้ด้วยตัวเอง  โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น  รูปภาพ  หุ่นจำลอง  เป็นต้น

3.2  วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  ฟิล์มภาพยนตร์  เทปบันทึกเสียง  ซีดีรอม  แผ่นดิสก์  เป็นต้น


4. สื่ออุปกรณ์

หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดอกมาให้เห็นหรือได้ยิน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น


5.  สื่อบริบท

เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน  ได้แก่  สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการ  แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น  ห้องสมุด  หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรูปของสิ่งมีชีวิต  เช่น  พืชผัก  ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ หรืออยู่ในรูปของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นรอบตัว  ตลอดจนข่าวสารด้านต่างๆ เป็นต้น


6.  สื่อกิจกรรม

เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน ได้แก่ การแสดงละคร  บทบาทสมมติ  การสาธิต  สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ  การไปทัศนศึกษานอกสถานที่  การทำโครงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลการทำความเข้าใจ

สรุป          จากภาพแสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนในทางที่ดีคือการเ...