การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
การสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
เป็ นการฝึ กให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้ จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน
การฟังคําบรรยาย แล้วนําข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็ นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้าง ความคิด
กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด โดยใช้รูปภาพ หรือแผนภาพ
1. แผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็นการแสดงโครงสร้างของความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด
ตั้งแต่ต้นจนจบ ช่วยให้มองเห็น ภาพรวมของความคิดและเค้าโครงของความคิดในเรื่องที่กาลังคิด
ทําให้มองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดทําได้โดยเขียนความคิดหลักไว้ตรงกลางและโยงเส้นให้สัมพันธ์กับความคิดรองความคิดย้อย
และความคิดที่แยกย่อยที่มี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันก็ขยายได้ต่อไปอีก
ไม่มีทิศทางที่กำหนดแน่นอนตายตัว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้(Tree Structure)
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่งกันเป็นลำดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ
รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้านหรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้นหัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดอื่นๆที่มีความสำคัญรองรองลงไปตามลำดับ
แผนผังรูปแบบเวนน์ ( Venn Diagram)
เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งของหรือแนวคิดตั้
งแต่2 สิ่งขึ้นไปว่าส่วนใดลักษณะใดที่ มีความเหมือนหรือความต่างกัน
เป็นการคิดแบบหาตัวร่วมในสิ่งที่เหมือนกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักจําแนกความ เหมือนและความต่างของสิ่งของ
สถานที่ และบุคคล หรืออื่นๆได้ดี โดยการเขียนเป็นแผนภาพแสดง ความสัมพันธ์
ดังตัวอย่างนี้
แผนผังความคิดแบบวงจร (The Circle)
เป็นการคิดแบบเป็นวงจรหรือวงกลม
โดยในวงกลมจะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบเพื่อเสนอขั้นตอนต่างๆที่สัมพันธ์เรียงลําดับเป็นวงกลม
ตัวอยางเช่น
แผนผังก้างปลา (The Fish Bone)
เป็นการคิดหาสาเหตุของปัญหา
เช่น แดงหนีเรียน เพราะสาเหตุใด เป็นต้นการเขียนแผนผังทําได้ โดยกำหนดเรื่องแล้ว
หาสาเหตุและผลต่างๆในแต่ละด้าน
ตัวอย่างเช่น
แผนผังแบบลำดับขั้นตอน(sequence chart)
แผนผังบบลำดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับขั้นตอน
เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น