5.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการจัดการในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ได้แก่Dewey,Piaget,Vigosky,และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งเน้นความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคนซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนสรุปความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านหรือการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ใหม่สร้างบนพื้นฐานของการที่เรียนรู้ที่ผ่านมา(Prior Under-Standing)ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม(social Interaction)ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ประเมินความเข้าใจของตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงสร้างเสริมให้การเรียนรู้ที่มีความหมาย(Meaningful Learning )การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้นยอมรับข้อมูลที่มีอยู่เดิมและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น
2 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษผู้เรียนมีบทบาทคอยรับ(Passive)สิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมายด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ
3. ทฤษฎี พุทธินิยม(Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาช้ายพูดเย็นต้องตื่นตัว(Active)ในการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมายส่วนผู้สอนถือเป็นกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย
4 ทฤษฎีมนุษยนิยม(Humanism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคมมีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อนในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้อารมณ์ความรู้สึกและทักษะไปพร้อมพร้อมกันซึ่งหมายความว่าครูควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ได้แก่Dewey,Piaget,Vigosky,และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งเน้นความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคนซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนสรุปความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านหรือการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ใหม่สร้างบนพื้นฐานของการที่เรียนรู้ที่ผ่านมา(Prior Under-Standing)ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม(social Interaction)ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ประเมินความเข้าใจของตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงสร้างเสริมให้การเรียนรู้ที่มีความหมาย(Meaningful Learning )การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้นยอมรับข้อมูลที่มีอยู่เดิมและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น
2 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษผู้เรียนมีบทบาทคอยรับ(Passive)สิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมายด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ
3. ทฤษฎี พุทธินิยม(Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาช้ายพูดเย็นต้องตื่นตัว(Active)ในการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมายส่วนผู้สอนถือเป็นกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย
4 ทฤษฎีมนุษยนิยม(Humanism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคมมีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อนในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้อารมณ์ความรู้สึกและทักษะไปพร้อมพร้อมกันซึ่งหมายความว่าครูควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ. 2545 มาตรา 24 กำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจนโดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญโรงเรียน
มีแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.
2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิดพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทำการวิจัยในชั้นเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างเพื่อนครูการทำงานโดยการผนึกกำลังของกลุ่มวิชาต่างๆเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศอู้ต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด
5. จัดให้มีระบบนิเวศภายในช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
บทบาทของครูผู้สอน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้อู้ต่อการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีและจริยธรรมให้ผู้เรียนมีความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของผู้เรียน
6. ช่วยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเองมีความเข้าใจตนเองยอมรับความรู้สึกของตนเองมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
7. ให้คำปรึกษาในด้านการเรียนการวางแผนชีวิตและแนะแนวทางการพัฒนาตนเองสู่อาชีพช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะรู้จักข้อดีข้อเสียของตนเอง
9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ
10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเองเข้าใจกระบวนการเรียนรู้และรู้จักวิธีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองประเมินตนเองและทบทวนการปฎิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนเพื่อนครูและบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ
2. ให้ความรักความอบอุ่น
3. ให้การอบรมเลี้ยงดูเอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดีพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันปัญหาต่างๆ
4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดาและปลุกจิตสำนึกในเรื่องวินัยในตนเองความรับผิดชอบความปลอดภัย
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน
6. ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและการเสริมแรง
7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน
8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุกๆด้าน
4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
บทบาทของผู้เรียน
1. กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเอง
2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้การวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้ปกครองและครู
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการเรียนรู้ของตนเอง
4. ถ้าหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ปฎิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้มั้ยทีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7.ศรัทธาต่อผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น